สระบุรี – TCMAนำผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ร่วมจังหวัดสระบุรีโชว์ความก้าวหน้า 1 ปี”สระบุรีแชนด์บ็อกซ์ รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนตำแห่งแรกของประเทศไทย” ก้าวไปข้างหน้า
วันที่ 22 มกราคม 2568 ที่อาคารรณนภากาศโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการังหวัดสระบุรี ได้กล่าวเปิดงาน”สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนด์ต่ำแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การร่วมกันถอดบทเรียน 1 ปีที่ผ่านมา และการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำมาวางแผนเดินหน้าระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมาย
สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ มีผู้เข้าร่วมงานจากภาคส่วนต่างๆ กว่า 700 คนTCMA นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ร่วมจังหวัดสระบุรี โชว์ความก้าวหน้า 1 ปี
“สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทยTCMA นำผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ผนึกกำลังจังจังหวัดสระบุรี หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมโชว์ความก้าวหน้า 1 ปี “สระบุรีแชนด์บ็อกซ์”รวมพลังสร้างเมืองคาร์บอนตำแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว การสร้างมูลค่าเพิ่มจากคาร์บอน ด้วยแรงหนุนจากภาคีพันธมิตร
เชื่อมโยงความร่วมมือต่างประเทศด้านเทคโนโลยี และแหล่งทุนสีเขียว สู่เป้าหมายเมืองคาร์บอนต่ำ”สระบุรีแซนด์บ็อกซ์” การทำงานเชิงพื้นที่
โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Public-Private-PeoplePartnership: PPP) นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี มี 3 ภาคีหลัก-จังหวัดสระบุรี สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และสภาอุตสาหกรรมจั้งหวัดสระบุรี ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาจังหวัดสระบุรีสู่เมืองคาร์บอนต่ำ”SARABURI SANDBOX LOW CARBONCITY”” เชื่อมโยงความร่วมมือองค์กรหลายภาคส่วน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านโครงการต้นแบบ
กว่าหนึ่งปีของการขับเคลื่อนนับจากการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเมื่อวันที่ 15สิงหาคม พ.ศ. 2566 นำมาซึ่งความก้าวหน้าตามลำดับ และยังคงมีเป้าหมายที่ต้องเดินหน้ากันต่อใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1. การเปลี่ยนผ่านสูพลังงานสะอาด 2. การผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียว 3. การสร้างมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ 4.
การส่งเสริมด้านเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ และ 5.การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาสังคม และแสวงหาแหล่งทุนสีเขียวเพื่อจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 5ล้านตันคาร์บอน-ไดออกไซต์เทียบเท่าภายในปีพ.ศ. 2570นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัด
สระบุรี เปิดเผยว่า “สระบุรีแชนด์บ็อกซ์” เป็นความร่วมมือขับเคลื่อนการทำงานจากหลายภาคส่วน มีหลักสำคัญในการทำงานร่วมกัน 4ข้อ
ได้แก่ 1. ทำทันที2. ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิด สามารถปรับการทำงานได้ตลอดเวลา 3. เห็นต่างได้ แต่ห้ามขัดแย้ง หาข้อสรุปและแนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน4. ยิ้ม เพื่อเกิดความสนุกในการทำงานร่วมกันโดยจังหวัดสระบุรีพร้อมเป็นจังหวัดนำร่องในการทดลองใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยของหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทุดลองมาปรับใช้ในพื้นที่ และขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ เพื่อให้สามารถลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในอูนาคตอันใกล้ รวมถึงประชาชนและชุมชนในพื้นที่จังหวัดสระบุรี จะต้องได้รับประโยชน์ มีกิน มีใช้ มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การดำเนินงานในระยะต่อไปจะสำเร็จลุล่วงได้ ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากได้รับการส์นับสนุนด้านนโยบายจากภาครัฐ ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากทุกภาคส่วนมีเป้าหมาย และหลักในการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้สระบุรีแซนด์บล็อกซ์ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน และสามารถเป็นตว้นแบบให้จังหวัดและหน่วยงานอื่นๆ นำไปเป็นแนวทางในการทำงานในพื้นที่ได้ในอนาคต รวมทั้งสามารถตอบสนองแผนงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้ตามเป้าหมาย
ด้าน ดร.ชนะ ภูมิ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า TCMAเป็นความร่วมมือของผู้ผลิตปูนชีเมนต์ชั้นนำของประเทศไทย และเป็นอตสาหกรรมภาคการผลิตหลักของจังหวัดสระบุรี จึงสามารถมีส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการดำเนินงานสระบุรีแซนต์บ็อกซ์ นอกจากนี้ TCMA อยู่ระหว่างการ
เดินหน้านำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์สู่การปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ในปี พ.ศ. 2593ตามแผนที่นำทาง Thailand 2050 Net ZeroCement and Concrete Roadmap 2050 จึงมีความตั้งใจ และมีความพร้อมในการร่วมลงมือทำให้สระบุรีแชนด์บ็อกซ์ เมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทยนี้ให้เกิดขึ้น
โดยทำงานขับเคลื่อนในหลายด้าน ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ การสนับสนุนความร่วมมือภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อแสวงหาแหล่งทุนสีเขียว (Green Fund) เข้ามาสนับสนุนดำเนินงานระยะ 1 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมปูนชีเมนต์มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บล็อกซ์อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุม 1
) ด้านกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์(Industrial Process and Product Use: IPPU)การวิจัยพัฒนาใช้วัสดทดแทนปูนเม็ดเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต และการใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อให้ปูนซีเมนต์มีคุณสมบัติดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งการพัฒนาความรู้ การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรุ การส่งเสริมการลงทุน
รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนข้อกำหนด มาตรฐานการใช้งานของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการส่งเสริมใช้งานปูนชีเมนต์ไฮดรอลิกแทนปูนชีเมนต์ชนิดเดิม ทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2566-2567 สามารถช่วยลดคาร์บอนได้กว่า 1 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ 2) การยกระดับพัฒนา
เหมืองแร่สีเขียว โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย(Green and Smart Mining) เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควบคู่กับการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชนใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (LandRehabilitation Featured in Sustainability)
3)การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ด้วยการนำ
ความร้อนเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่เพื่อผลิตไฟฟ้า (Waste Heat Recovery: WHR)การเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ การใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass)และเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF)ทดแทนถ่านหิน ด้วยกระบวนการเผาร่วมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Co-Processing in Cement Kiln)สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ9 – 12 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และลดการเกิดฝุ่น PM 2.5 จากการเผาของภาคเกษตรและช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร รวมทั้งทำให้การจัดการขยะของจังหวัดสระบุรีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การฝังกลบเป็นศูนย์ (ZeroLandfill) 4) การสร้างมูลค่าเพิ่มจากค้าร์บอนด้วยการวิจัยใช้ประโยชน์จากคาร์บอน (CarbonUtilization) เช่น เมทานอล นอกจากนี้ สระบุรี
แซนด์บ็อกซ์ยังเป็นคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมแรกของไทย ที่ได้รับตอบรับเข้าร่วมโครงการTransitioning Industrial Clusters ขององค์กรระดับโลก World Economic Forum ด้วย
“แม้ปัจจุบันการร่วมกันขับเคลื่อนโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ มีความคืบหน้าไปมากจากจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ให้ไปสู่เป้าหมายการเป็นเมืองคาร์บอนต่ำได้สำเร็จนั้น ต้องใช้นวัตกรรมและรูปแบบการทำงานข้ามภาคส่วน ความเข้มแข็ง
ของเจ้าของพื้นที่ และผู้นำของแต่ละภาคส่วนที่มีบทบาทแตกต่างกัน รวมทั้งการขอรับการสนับสนุนจากระดับนานาชาติที่มากพอให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลง และเพิ่มโอกาสของการได้รับการสนับสนุน การเดินหน้าต่อจากนี้ ยังคงต้องการแรงสนับสนุนอีกมาก ทั้งความร่วมมือจากหลายส่วนงานในประเทศ และเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศอาทิ Global Cement and Concrete Association(GCCA), United Nations Industrial
Development Organization (UNIDO), GIZองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือหน่วยงานระหว่างประเทศอื่นๆ ที่พร้อมเข้ามาร่วมสนับสนุนดำเนินงาน ทั้งด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition)และ Carbon Capture, Utilization and Storage(CCUS) ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิงนโยบายของภาครัฐ รวมถึงการสนับสนุนข้อมูล เทคโนโลยี
และแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถเกิดขึ้นได้” ดร. ชนะ กล่าว
>>>>>>>>>
#TCMA
#สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย
#CementActionToNetZero
#hydrauliccement
#ไฮดรอลิกซีเมนต์
#lowcarboncement
#ปูนลดโลกร้อน
#TCMAenergytransition
#TCMAเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
#TCMAgreenindustry
#TCMAอุตสาหกรรมสีเขียว
#SARABURISANDBOX
#สระบุรีแซนด์บ๊อกซ์
#สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ
#ทีมสระบุรีแซนด์บ็อกซ์
#TeamSaraburiSandbox
**********
กฤษฎา สมมาตร
รายงาน