GC ร่วมกับ มจพ. พัฒนาหุ่นยนต์ตรวจสอบระบบท่อส่งในโรงงานแบบไร้สาย สอดรับแผนงาน “Triple Transformation” ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

GC ร่วมกับ มจพ. พัฒนาหุ่นยนต์ตรวจสอบระบบท่อส่งในโรงงานแบบไร้สาย สอดรับแผนงาน “Triple Transformation” ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

 

จาก GC Shark Tank หนึ่งใน Hackathon Model เวทีประกวดผลงานที่เปิดโอกาสให้พนักงานบริษัทในกลุ่ม GC เสนอความคิด แนวทางแก้ไขปัญหา หรือ พัฒนากระบวนการด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นำมาสู่การสร้างและพัฒนาหุ่นยนต์ตรวจสอบระบบท่อ เพื่อใช้ทำงานแทนพนักงาน สอดรับกลยุทธ์ 3 Steps Plus ของ GC ด้าน Enablers for Transformation โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงานด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล (Triple Transformation) มาใช้ในกระบวนการทำงาน ประกอบด้วย
1. จัดทำโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน Business Transformation
2. ปรับปรุงความพร้อมของระบบสารสนเทศให้สอดรับกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ในอนาคต Technology Transformation
3. เพิ่มหรือปรับทักษะ (Upskill/ Reskill) ของบุคลากร ให้มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี People Transformation

เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2567 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดพิธีส่งมอบหุ่นยนต์ตรวจสอบระบบท่อส่งในโรงงาน แบบไร้สาย Remoted Piping Inspection Robot หรือ RPR ขึ้น ระหว่าง GC โดย คุณฉัตรสุดา กาญจนรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิรูปธุรกิจสู่ความเป็นเลิศ และ คุณสมบัติ ศิลสังวรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานอะโรเมติกส์ ในฐานะผู้รับมอบ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หรือ มจพ. โดย ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะผู้ส่งมอบ ณ GC Chemical Experience Campus จังหวัดระยอง

หุ่นยนต์ RPR เป็นความร่วมมือในการแสวงหาและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการสร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการสำรวจและตรวจสอบท่อส่งวัตถุดิบของโรงงานผลิตปิโตรเคมีและการกลั่น ระหว่างหน่วยงานบำรุงรักษาอะโรเมติกส์ สายงานอะโรเมติกส์ หน่วยงานเทคโนโลยี สายงานเทคนิค วิศวกรรมและบำรุงรักษา ของ GC และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. เป็นเวลามากกว่า 4 ปี ตั้งแต่ปี 2562-2566 โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา GC ได้นำหุ่นยนต์เข้าปฏิบัติงานในการสำรวจท่อส่งวัตถุดิบ ณ โรงอะโรเมติกส์ 1 และโรงอะโรเมติกส์ 2 สุดท้ายคือคลังสำรองอะโรเมติกส์ พบว่าหุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อ ที่มีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี อีกทั้งสามารถตรวจสอบหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของท่อได้อย่างละเอียด แม่นยำ และสามารถประเมินระดับความเสียหาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงานตรวจสอบท่อของโรงงาน และสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ ในการซ่อมบำรุง ในพื้นที่ที่มีข้อจำกัด และเป็นอันตราย นอกจากนี้ยังช่วยลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ และลดค่าใช้จ่ายในการตั้งนั่งร้านในการปฎิบัติงานได้กว่า 20 ล้านบาทต่อปี โดยในปัจจุบัน GC ยังคงพัฒนาหุ่นยนต์ตัวที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน อาทิ เช่น การพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อการปฏิบัติงานได้ยาวนานขึ้น และพัฒนาระบบการขับเคลื่อนและการควบคุมให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น

Related posts