ทสม. สจ. ส.อบต. สื่อซูมระยอง ร่วมศึกษาโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ฯ ของจริง หลังชาวบ้านปลวกแดง กังวลใจ
จากกรณีมีโครงการโรงฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม บริษัท เดอะ พราว พาวเวอร์ จำกัด และ บริษัท มีขวัญ พาวเวอร์ จำกัด จะมาตั้งที่ เขตประกอบการอุตสาหกรรม ในพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง และมี ชาวบ้านบางส่วนยังมีข้อกังวลใจต่อผลกระทบและยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯเท่าที่ควร
วันนี้ วันที่ 28 ก.พ. 2566 ประธานกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ระยอง (ทสม.) องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ระยอง นำโดย นายสุรินทร์ สินรัตน์ ประธาน ทสม. นายจรัญ จันทร์มณี รองประธาน ทสม. นายวิเชียร อาจปักษา ทสม. อ.ปลวกแดง พร้อมด้วย นายสุพล ลี่ไพฑูรย์ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (ปลวกแดง เขต 2 )
และ นายไพฑูรย์ ญาติเจริญ สมาชิก อบต.ปลวกแดง และ สื่อ ZOOM Rayong สื่อมวลชน จ.ระยอง และประชาชนบางส่วนในอำเภอปลวกแดง ได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมลักษณะเดียวกันที่จะมาตั้งในพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ได้ศึกษาการดำเนินงานและกระบวนการผลิตของจริงของโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม ที่บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ดำเนินการผลิตไฟฟ้ามาแล้วกว่า 6 ปี โดยมี นายศุภวัฒน์ คุณวรวินิจ กรรมบริหารฯ เป็นวิทยากร การศึกษาดูงานในครั้งนี้ มีการรับฟังการบรรยายถึงที่มาและกระบวนการผลิตทั้งระบบ ได้เปิดโอกาสให้มีการซักถามประเด็นต่างๆที่เป็นข้อกังวลใจด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมชุมชน และ ลงพื้นที่ปฏิบัติการเข้าไปชมสถานที่จริง ตัวเชื้อเผลิงที่ใช้เผา การจัดเก็บวัตถุดิบที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง กระบวนการผลิต การเผาไหม้ การควบคุมระบบต่างๆ โดยละเอียด และมีการให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะฯ ที่จะมาสร้างในพื้นที่ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ด้วย
เนื้อหาสาระสำคัญที่คณะผู้เข้าชมทราบถึง ที่มานโยบายของรัฐบาลและกระทรวงพลังงาน ที่ต้องการจัดการลดขยะอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีที่สะอาดมาตรฐานแบบสากลประเทศใช้ในปัจจุบัน เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณขยะ และ นำความร้อนมาต้มน้ำปั่นผลิตคือไฟฟ้าเสริมระบบความมั่นคงระบบไฟฟ้าด้วย และสิ่งที่ชุมชนเข้าใจผิดอยู่หลายคน คือ เชื้อเพลิงที่เรียกว่าขยะอุตสาหกรรม นั้น ไม่ใช่ขยะจากครัวเรือน ไม่ใช่เศษอาหาร ไม่ใช่ขยะอิเลคทอนิกส์ หรือ ขยะกากอุตสาหกรรมที่มีพิษ ไม่ใช่เหล็ก โลหะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมประเภทนี้ได้ แต่ใช้เชื้อเพลิงมาจากโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นและเป็นประเภท เศษผ้า เศษกระดาษ เศษยาง เศษหนัง เศษไม้ และ พลาสติก เท่านั้น ส่วนข้อกังวลใจด้านน้ำเสีย โรงไฟฟ้านี้ใช้น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการกรองให้สะอาด (ระบบ RO) และดึงสารเคมีในน้ำออกจนบริสุทธิ์
จึงนำมาใช้ในกระบวนการต้มน้ำปั่นกังหันผลิตไฟฟ้า น้ำในระบบใช้หมุนเวียนไม่มีการปล่อยน้ำเสียออกสู่ภายนอกโรงงาน จึงไม่มีน้ำเสียต่อแหล่งน้ำผืนดินและสิ่งแวดล้อม ด้านอากาศ นั้น มีระบบจัดการโดยกระบวนการเผาไหม้จะใช้ควบคุมอุณหภูมิที่ 850 – 950 องศาเซลเซียส ให้เวลาเผาไหม้มากกว่า 2 วินาที ซึ่งจะทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ จึงไม่มีควันและกลิ่น และ ลดสารก่อมะเร็ง (ไดออกซิน) ได้ กว่า 99 % ด้านฝุ่นละออง มีระบบถุงกรองฝุ่นอุตสาหกรรมกรองได้ถึง PM 2.5 โดยมาตรการทางกฎหมายและหน่วยงานกรมควบคุมมลพิษ มีการติดตามตรวจสอบควบคุมตลอดเวลา “ วัดแบบเรียลไทม์” หรือ ตลอดเวลา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์แสดงผลผ่านจอมอร์นิเตอร์ตลอดเวลา และ มีการบันทึกค่าสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ และ มีจอมอร์นิเตอร์หน้าโรงงานชุมชนตรวจสอบได้ตลอดเวลา ส่วนขี้เถ้าเป็นขี้เถ้าที่ไม่มีสารพิษเจือปน และกฎหมายกำหนดให้นำไปกำจัดโดยฝังกลบในบ่อที่ได้อนุญาตจัดการที่กรมควบคุมมลพิษและทางราชการที่กำหนดไว้เท่านั้น ( ได้แก่ พื้นที่ สระบุรี สมุทรปราการ เป็นต้น) จะไม่มีเศษขยะต่างๆที่จะทิ้งไว้ที่ จ.ระยอง เป็นต้น
คณะผู้เยี่ยมชมได้เดินสำรวจดูในทุกส่วนของโรงงานและซักถามโดยละเอียดทุกขั้นตอนในการะบวนการจัดการและการผลิตไฟฟ้าฯและตามข้อกังวลใจของประชาชนในพื้นที่ปลวกแดงด้วย ประธาน ทสม. รองประธาน และ สจ. พร้อมมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะโดยรวมมีประเด็นสำคัญที่เสนอ คือ ด้านด้านเทคนิคและวิศวกรรมดูของจริงแล้วไม่มีประเด็นข้อกังวลใจมากนัก แต่อยากให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเข้าใจและเชื่อมั่น และกระบวนการมีส่วนร่วมให้ชุมชนเชื่อมั่นเหมือนการได้มาดูของจริงจะเกิดความเข้าใจที่เป็นรูปธรรมได้ และกลไกให้ชุมชนติดตามตรวจสอบโครงการที่จะสร้างความเชื่อมั่นของชาวบ้าน จะสามารถลดความขัดแย้งกับชุมชนลงได้ต่อไป