ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน สื่อมวลชน อ.ปลวกแดง กว่า 200 คน ไปศึกษาโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมของจริง ศึกษาตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะมาตั้งในพื้นที่ฯ

ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน สื่อมวลชน อ.ปลวกแดง กว่า 200 คน ไปศึกษาโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรมของจริง ศึกษาตรวจสอบข้อมูล ก่อนที่จะมาตั้งในพื้นที่ฯ

สืบเนื่องจากการประชุมประจำเดือนของอำเภอปลวกแดง ในเดือนธันวาคม 2566 นายสกนธ์ กรกฎ นายอำเภอปลวกแดง จ.ระยอง ได้เปิดให้ทางบริษัท เดอะพราว พาวเวอร์ จำกัด และ บริษัท มีขวัญ พาวเวอร์ จำกัด เจ้าของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะ อ.ปลวกแดง ที่จะมาตั้งโรงไฟฟ้าขยะเชื้อเพลิงอุตสาหกรรม ในพื้นที่ อ.ปลวกแดง ได้ชี้แจงข้อมูลต่อกำนันผู้ใหญ่บ้านรับทราบ และมีข้อเสนอในที่ประชุม ให้พากำนันผู้ใหญ่และผู้นำชุมชนชาวบ้านที่กังวลใจต่อผลกระทบต่อสังคมสิ่งแวดล้อม โดยไปศึกษาดูงานตรวจสอบข้อมูลข้อกังวลใจต่างๆเพื่อความเข้าใจและ ความเชื่อมั่นต่อโครงการฯ


ในวันที่ 20 ธ.ค. 566 ได้มีการจัดนำคณะผู้นำชุมชนชาวบ้านและสื่อมวลชน กว่า 200 คน ไปศึกษา โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด อ.นครหลวง จ.อยุธยา การศึกษาไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม พบว่า มีการใช้เชื้อเพลิงเป็นเพียงเฉพาะเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ได้แก่ เศษกระดาษ เศษไม้ เศษผ้า เศษยาง เศษหนัง และ พลาสติก ซึ่งไม่ใช่ขยะจากครัวเรือน หรือขยะพิษ หรือขยะอิเลคทรอนิกส์ แต่อย่างได และมีการตรวจสอบแหล่งที่มาและจำนวนควบคุมโดยหน่วยงานราชการ ซึ่งกรรมวิธีมีการคัดแยกเศษวัสดุที่สับหรือตัดให้ละเอียดก่อนอัดก้อนควบคุมความชื้นไม่เกิน 30 % เทคโนโลยีที่มาตรฐานผลิตกระแสไฟฟ้าใช้การเผาไหม้ไปต้มน้ำเป็นไอน้ำปั่นไดนาโมกำเนิดกระแสไฟฟ้า

ข้อสำคัญในการเผาไหม้จะเผาที่ความร้อน 850 -1,100 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ โดยจะไม่เกิดควันหรือคาร์บอนไดออกไซด์ และสามารถควบคุมการเกิดสารไดออกซิน (Dioxin) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ได้ 99.99 เปอร์เซ็น มีระบบกรองฝุ่นละอองที่ละเอียดถึง PM 2.5 ป้องกันฝุ่นละอองที่อาจจะเกิดขึ้น และมีการกำกับตรวจสอบของหน่วยงานกำกับกรมควบคุมมลพิษ โดยมีการติดตั้งระบบ CEMs ในการตรวจวัดสารต่างๆที่ปล่อยออกจากปล่องของโรงไฟฟ้าตลอดเวลา(แบบเรียลไทม์) เพื่อตรวจวัดปริมาณมลสารทางอากาศ 24 ชม. จึงสามารถควบคุมมลสารทางอากาศได้ (เช่น ค่า Nox,SOx,TSP,HCI และสารไดออกซิน ) ไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด

โรงไฟฟ้าฯจะน้ำประปาที่สะอาดจากนิคมอุตสาหกรรมฯ และ ยังนำมากรองผ่านระบบ RO และดึงแร่ธาตุในน้ำออกให้บริสุทธิ์ จึงจะเหมาะสมนำไปต้มในการผลิตไฟฟ้าฯ ส่วนน้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิตจะถูกหมุนเวียนใช้ในระบบต่อไป จะไม่มีการปล่อยน้ำที่ผ่านระบบออกสู่นอกโรงงานไฟฟ้า ส่วนเถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ เป็นขี้เถ้าที่ไม่มีสารพิษเจือปน และกฎหมายกำหนดให้ทางบริษัทฯ นำไปกำจัดยังหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกำหนด ที่จังหวัดสระบุรี จะไม่มีกากขยะขี้เถ้าเหลือในพื้นที่เลย วิศวกรตอบข้อซักถามของผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน และมีการเข้าชมการผลิตทุกพื้นที่ทุกขั้นตอน


ส่วนประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เพิ่มอัตราการจ้างงาน สร้างรายได้ในกับชุมชนและสร้างความเจริญให้กับคนในพื้นที่กว่า 80% และยังเสียภาษีบำรงพื้นที่ โดยเฉพาะภาษีโรงเรือนให้กับท้องถิ่นได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และที่สำคัญยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโดยทางบริษัท จะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนฯเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (อัตราตามกฎหมายกำหนด) ช่วงก่อสร้างเกิดการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น และ และมีโอกาสในการจ้างงานลูกหลานในพื้นที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการลดปริมาณขยะอุตสาหกรรมของประเทศ และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานของจังหวัดและประเทศด้วย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์และนโยบายของประเทศ ต่อไป

Related posts