สระบุรี/ บพท. ผนึกกำลัง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนด้านพืชพลังงาน สู่ BCG Model

สระบุรี/ บพท. ผนึกกำลัง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนด้านพืชพลังงาน สู่ BCG Model

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว (Kick off) และ พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง กรอบการวิจัย “การพัฒนาเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City)” ที่อาคารพัฒนาและฝึกอบรม บริษัท ปูนชิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ต.บ้านป่า อ.แก่งคอย จ.สระบุรี


ซึ่งเป็น การบูรณาการความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด นำโดยคุณเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพืชพลังงาน ภายใต้โครงการต้นแบบความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานพืชพลังงานสู่ BCG จังหวัดสระบุรี เพื่อเตรียมพร้อมที่ยกระดับเมืองสระบุรีสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City)


โดยดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 7 ตำบล ในอำเภอแก่งคอย ประกอบด้วย ตำบลบ้านป่า ตำบลท่าคล้อ ตำบลทับกวาง ตำบลบ้านธาตุ ตำบลท่าตูม ตำบลมวกเหล็ก และตำบลท่ามะปราง มีเป้าหมายคือการวิจัยส่งเสริมและยกระดับพื้นที่ชุมชนโดยรอบโรงงานเป็นพื้นที่ต้นแบบระบบนิเวศพืชพลังงาน ส่งเสริมและสร้างกลุ่มผู้ผลิตพืชพลังงานในพื้นที่จังหวัดสระบุรีภายใต้ความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพและขยายผลสู่ระบบการผลิต และระบบการแปรรูปพืชพลังงานในพื้นที่ศูนย์กลาง (HUB) โรงงานในเครือปูนซิเมนต์ไทย (SCG) ทั่วประเทศไทย โดยโครงการนี้จะสร้างกลไกความร่วมมือ การสนับสนุน และการกำกับดูแลร่วมกันของเครือข่ายในพื้นที่ในการสร้างกองทุนกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยต้นแบบ (Housing Model) จากวัสดุคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Material)


ทั้งนี้มีการขยายโครงการการลงทุนพืชพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงเศรษฐกิจไปยัง จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน โดยนำร่อง 3 พื้นที่ คือ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สามารถยกระดับและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของพื้นที่ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศได้ผ่านการส่งเสริมองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาขั้นตอนการผลิต/ปลูก ขั้นตอนการแปรรูป ขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าของพืชพลังงาน


การดำเนินการของโครงการดังกล่าวข้างต้นถือได้ว่าเป็นการส่งเสริม สนับสนุน การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) พืชพลังงานในการขับเคลื่อนตัวแบบธุรกิจ (Business Model) ทั่วประเทศไทย เป็นความร่วมมือกันทั้ง ภาคประชาชน ภาคธุรกิจและเอกชน จนเกิดกระบวนการสร้างงานใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อยที่นำไปสู่การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนเป็นผลพวงที่นำไปสู่การขยายผลในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดและประเทศ อีกทั้งจะเป็นกระบวนการสร้างฐานความรู้ผ่านกระบวนการวิจัยและการลงทุนที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยคาดว่าจะเกิดกระบวนการสร้างงานใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อยมากกว่า 350 ราย และนำไปสู่การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีมูลค่าเงินสนับสนุนกองทุนกว่า 500,000 บาท / 100 ไร่ / ปี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงาน

โดยการผนึกกำลังระหว่าง บพท. และ SCG ในครั้งนี้นับเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตามแนวทางการดำเนินงานของ SCG ภายใต้ ESG ซึ่งประกอบไปด้วย Net Zero มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินโครงการตลอดทั้งโครงการได้ถึง 45,000 ตันต่อปี Go Green เพิ่มนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม โดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล จากผลผลิตและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร Lean เหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชน กระจายรายได้ และพัฒนาทักษะอาชีพด้านการเกษตร ย้ำร่วมมือ มุ่งเน้นขับเคลื่อน ESG ร่วมกับหน่วยงานระดับประเทศ อาเซียน และระดับโลก โครงการความร่วมมือดังกล่าวเป็นการขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านความยั่งยืน


โดยเรามีความมุ่งหวังว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการต้นแบบ Low Carbon Economy และ BCG Model (Bio Circular Green Economy Model) ให้กับอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งสามารถช่วยในการขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะถือเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันนโยบาย BCG Model ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี สู่การเป็น “SARABURI Sandbox” ตามแนวทางการพัฒนาของจังหวัดสระบุรีต่อไป

 

/ดำรงค์ ชื่นจินดา รายงาน

Related posts