“เฉลิมชัย”มอบฟรุ้ทบอร์ดเร่งเดินหน้า 23 มาตรการเชิงรุกภายใต้แผนบริหารจัดการผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2566

“เฉลิมชัย”มอบฟรุ้ทบอร์ดเร่งเดินหน้า 23 มาตรการเชิงรุกภายใต้แผนบริหารจัดการผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2566
“อลงกรณ์”ย้ำนโยบายรักษาคุณภาพมาตรฐานมุ่งสร้างแบรนด์ยกระดับราคาผลไม้ไทย กำชับใช้มาตรการเด็ดขาดป้องกันปัญหาทุเรียนอ่อนทุเรียนสวมสิทธิ์

 

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)ว่า ได้มอบนโยบายต่อที่ประชุมดังนี้
1.การรักษามาตรฐานคุณภาพการผลิต การแปรรูป การส่งออกผลไม้ ตามมาตรฐาน GAP GMP และCovid Freeรวมทั้งต้องป้องกันและปราบปรามการ
สวมสิทธิทุเรียน และทุเรียนอ่อนอย่างเด็ดขาด(2) สร้างแบรนด์ผลไม้ โดยมอบหมายกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนการสร้างแบรนด์ทั้ง Product Brand และ Farm Brand เพื่อส่งเสริมมูลค่าการค้าและการตลาด (3) สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตผลไม้เศรษฐกิจของไทย มอบหมายผู้แทนกระทรวงอุตสากรรม นำเสนอแผนการแปรรูปผลผลิตทางเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ แก่คณะกรรมการ Fruit Board ในการประชุมคราวหน้า (4) การพัฒนาและการบริหารโลจิสติกส์ เพื่อการส่งออกผลไม้ และ (5) มอบหมายฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ Fruit Board ประสานคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน จัดการประชุมติดตามสถานณ์การผลิตผลไม้ เพื่อรองรับสถานการณ์ผลิตผลไม้ ในฤดูปีผลิต 2566 โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคใต้ ทั้งนี้ ได้มอบหมายคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการ Fruit Board ประชุมร่วมกับคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด และให้คณะอนุกรรมการ ฯ นำเสนอผลงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ต่อคณะกรรมการ Fruit Board ในการประชุมครั้งต่อไป


ในการนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ ใน 4 แผนงานดังนี้ 1) “แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) ปี 2566” ตามแผนการบริหารจัดการผลไม้ แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง ในเชิงคุณภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565 – 2570 และในเชิงปริมาณโดยจัดสมดุลอุปสงค์ อุปทาน สรุปได้ดังนี้ 1.1) การบริหารจัดการเพื่อบริหารจัดการผลผลิต -ทุเรียน 758,438 ตัน -มังคุด 170,046ตัน -เงาะ 194,915ตัน -ลองกอง 16,981ตัน ให้เป็นไปตามกลไกตลาดปกติ รวมทั้งสิ้น 1,140,380 ตัน และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ปรับสัดส่วนข้อมูลแผนบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 อีกครั้ง หลังการจากการประชุมจัดทำข้อมูลเอกภาพ ครั้งที่ 3 ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 และแจ้งเวียนคณะกรรมการทราบอีกครั้ง 1.2) เสนอให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ปี 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 1.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดาเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป


2) “แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2566” ประกอบด้วย 2.1) แผนบริหารจัดการผลไม้ภาคเหนือ (ลิ้นจี่) ปี 2566 จำนวน 34,620 ตัน 2.2) มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) เป็นแกนหลักบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่ ปี 2566 ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และ 2.3) กรณีที่การบริหารจัดการผลไม้ในพื้นที่มีปัญหา มอบหมายให้จังหวัดประสานกับฝ่ายเลขานุการคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
3) คณะกรรมการ ได้มีมติรับทราบ ผลการดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2565 จำนวน 18 มาตรการ ของกระทรวงพาณิชย์ และมีมติเห็นชอบ “โครงการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566”โดย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ใช้งบประมาณจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร วงเงิน 895.56 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก และ 10 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 : เสริมสร้างประสิทธิภาพการรวบรวมรับซื้อผลไม้จากเกษตรกร กิจกรรมที่ 2 : เชื่อมโยงกระจายผลไม้ออกนอกแหล่งผลิตและเพิ่มช่องทางการจาหน่ายผลไม้ กิจกรรมที่ 3 : ส่งเสริมการจาหน่ายผลไม้ กิจกรรมที่ 4 : ส่งเสริมการแปรรูปเพื่อการส่งออก กิจกรรมที่ 5 : ประชาสัมพันธ์และสร้างความเชื่อมั่นผลไม้ไทยปลอดภัยจากโควิด-19


ทั้งนี้ การขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายและมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566 มีเป้าหมาย เป็นสินค้าผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ อาทิ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลาไย ลิ้นจี่ ลองกอง มะม่วง สับปะรด ฯลฯ และผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ เกษตรกร สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการค้าผลไม้ ผู้รวบรวม ผู้แปรรูป และผู้ส่งออก ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้รับมอบหมาย กรมการค้าภายใน ได้จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาคราชการ เอกชน และเกษตรกร เพื่อประเมินแนวโน้มสถานการณ์ด้านการผลิตการตลาดผลไม้ฤดูกาลผลิต ปี 2566 รวมถึงสภาพปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูการผลิตผลไม้ ปี 2566 และได้ร่วมกันกำหนดมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2566
รวม 4 ด้าน 22 มาตรการ ได้แก่ (1) ด้านการผลิต (2) ด้านตลาดในประเทศ (3) ด้านตลาดต่างประเทศ และ (4) ด้านกฎหมาย ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ และปลายน้ำ
4) ฝ่ายเลขานุการ ได้ขอเพิ่มวาระพิจารณา แนวทางการกระจายผลไม้สถาบันเกษตรกร นำเสนอโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะกรรมการได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ “โครงการสนับสนุนการกระจายผลไม้เพื่อยกระดับราคาของสถาบันเกษตรกร” มีสหกรณ์จำนวน 49 แห่ง ประกอบด้วยสหกรณ์ผู้กระจายสินค้าจำนวน 500 แห่ง สหกรณ์ระดับอำเภอ เครือข่ายสหกรณ์นอกภาคการเกษตรคู่ค้าทั่วไปทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สมาชิกสหกรณ์จำนวน 87,536 ราย เป้าหมายกระจายสินค้า 2,100 ตัน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นชอบเป็นมาตรการที่ 23 และมอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์นำเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนบรรจุภัณฑ์ 6.594 ล้าน จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร


ที่ประชุมยังได้รับทราบ 1) สรุปรายงานสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2566 โดยผู้แทนคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ และ 2) สรุปผลการตรวจราชการเพื่อติดตามสถานการณ์ และการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2566 ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ 2.1) สถานการณ์การผลิต พบว่า ผลผลิตไม้ผลทุกชนิดมีปริมาณลดลง ยกเว้นทุเรียนที่มีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นทั้ง 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ จังหวัดจันทบุรี ตราด และจังหวัดระยอง สำหรับ – ทุเรียน คาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตปี 2566 คาดว่าจะมีผลผลิต 758,438 ตัน และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน 2566 – มังคุด คาดการณ์จะมีผลผลิตในปี 2566 จำนวน 170,046 ตัน และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนเมษายน 2566 – เงาะ คาดการณ์จะมีผลผลิตในปี 2566 จำนวน 194,915 ตัน และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนพฤษภาคม 2566 และ – ลองกอง คาดการณ์จะมีผลผลิตในปี 2566 จำนวน 16,981 ตัน และจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากสุดในเดือนกรกฎาคม 2566 และ 2.2) การปฏิบัติงานตรวจก่อนตัด (การป้องปรามทุเรียนด้อยคุณภาพ) เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเก็บเกี่ยวก่อนวันประกาศฯ ต้องนำตัวอย่างผลทุเรียนมาให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร หรือผู้ที่รับมอบหมายในพื้นที่ เช่น กลุ่มแปลงใหญ่ หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นฯ ทำการตรวจวัดเปอร์เซ็นต์เนื้อในน้ำหนักแห้งเพื่อออกใบรับรองความแก่สำหรับแนบไปกับรถขนส่งทุเรียนที่ไปจำหน่าย ณ ที่ล้ง/โรงคัดบรรจุ ซึ่งหากเกษตรกรไม่มีหนังสือรับรองผลการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียนและมีการตรวจพบทุเรียนด้อยคุณภาพ (ทุเรียนอ่อน) ทั้งในรถบรรทุก ในแผงรับซื้อและในล้ง ทางจังหวัดจันทบุรี ตราด และจังหวัดระยอง จะใช้มาตรการทั้งทางการปกครองและทางกฎหมาย เพื่อดำเนินการลงโทษกับผู้กระทำผิดต่อไป

 

สำหรับการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 2/ 2566
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ได้มอบหมาย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 2/ 2566 ผ่านระบบการประชุมทางไกล zoom cloud meeting โดยมี นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายกรนิช โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน นายสุนทร พิพิธแสงจันทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายเรือง ศรีนาราง ผู้แทนเกษตรกรนายไพทูรย์ มานะกิจสมบูรณ์ รองผอ.ฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ ผอ.สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร พร้อมด้วยคณะกรรมการ ฯอื่นๆเข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้แทนองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกร ผู้แทนภาคเอกชนโดยมีนางสาวเพ็ญระพี ทองอินทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมไม้ผล สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุม.

 

Related posts