คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และประกาศผลรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON BIZ#2ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI)
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และประกาศผลรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON BIZ#2 ภายใต้โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI)โดยมีรองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่มหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 กลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ MJU Enhancing SMEs and New Entrepreneurs with Smart and Modern Agricultural Technology Innovation (SMAT) มุ่งหวังให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ซึ่งมีอัตลักษณ์ ความเชี่ยวชาญ องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเกษตร ความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล เครือข่ายความร่วมมือ และปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางและมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรม อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สอดคล้องกับแนวคิดหลักของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ (Entrepreneurial University) ซึ่งกิจกรรมในวันนี้อันประกอบด้วยนิทรรศการจากผู้เข้าร่วมโครงการ หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดประกวดรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน
กิจกรรมการบรรยายพิเศษและการเสวนาในหัวข้อที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนอันจะผลักดันไปสู่การเป็นผู้ประกอบการที่จะเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต จะเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการดำเนินงานโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing University) ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนในการร่วมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม(TechnologyDevelopment and Innovation) และร่วมขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ด้านรองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มีการดำเนินโครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI) ภายใต้โครงการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย (Reinventing University System) โดยคณะเศรษฐศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสร้างผู้ประกอบการใหม่ แนะแนวทางการส่งเสริมการตลาด และขณะนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนผลผลิตการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี อันจะนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สอดคล้องกับแนวคิดหลักและแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ ตามนโยบายการพลิกโฉมระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ทั้งนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้จัดนิทรรศการ การแสดงผลิตภัณฑ์ นำเสนอ Pitching ผลิตภัณฑ์ และการประกาศผลมอบรางวัลประเภทการจัดบูทนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ ภายใต้ โครงการยกระดับวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (SMATI) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขยายเวลาครั้งที่ 3 โดยมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการ จากผู้เข้าร่วมโครงการ และจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย การจัดประกวดรางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน ECON Biz ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการส่งเสริมและผลักดันความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับภาคีเครือข่าย สร้างผู้ประกอบการใหม่ ที่ได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงทักษะการเป็นผู้ประกอบการอย่างครบวงจร เช่นแม่โจ้พัฒนาตราสินค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งแนวการส่งเสริมการตลาด หรือช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการแก่ผู้ประกอบการใหม่ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยได้พัฒนาตลาดหรือช่องทางที่ครอบคลุมเพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางและมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมเกิดผู้ประกอบการใหม่ที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้มีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ผู้ประกอบการยุคใหม่ ต้อง
เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมเติบโตในปี 2023” และกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “สร้างธุรกิจเป็นที่น่าจดจำด้วย Brand Awareness#ECONBIZ #2″มีการชี้แจงแนวทางการขอสนับสนุนเงินทุนจากธนาคารออมสินสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน โดยธนาคารออมสินสาขาแม่โจ้ การ Pitching ผลิตภัณฑ์ น้ำผลไม้เพื่อสุขภาพ จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมแม่ฮ่องสอน และการนำเสนอผลิตภัณฑ์จากกิจกรรม Pitching อีกด้วย
พัฒนชัย/เชียงใหม่