ก.แรงงาน เยี่ยมสถานประกอบการ จ.บุรีรัมย์ มุ่งคุ้มครองสิทธิ – สวัสดิการแรงงานได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม

ก.แรงงาน เยี่ยมสถานประกอบการ จ.บุรีรัมย์ มุ่งคุ้มครองสิทธิ – สวัสดิการแรงงานได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียม

วันที่ 3 มีนาคม 2566 นางต้องใจ สุทัศน์ ณ อยุธยา ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน พร้อมหัวหน้าส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตรวจเยี่ยมสถานประกอบกิจการที่จ้างคนต่างด้าวทำงาน เพื่อตรวจคุ้มครองดูแลสิทธิแรงงานของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย โดยมี นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ กรรมการ บริษัท ฟาร์มพรประเสริฐ จำกัด และคณะ ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน

พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับ ณ บริษัท ฟาร์มพรประเสริฐ จำกัด ประเภทกิจการเกษตรและปศุสัตว์ ตั้งอยู่เลขที่ 49 หมู่ 14 ตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีลูกจ้างทั้งสิ้น 231 คน เป็นแรงงานไทย 118 คน แรงงานต่างด้าว 113 คน

นางต้องใจ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงาน โดยท่านสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยคำนึงถึงความมั่นคงของประเทศและความปลอดภัยของประชาชนชาวไทย การลงพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ในครั้งนี้เพื่อตรวจติดตามการดำเนินการตรวจคัดกรองเบื้องต้นการบังคับใช้แรงงาน หรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในแรงงานต่างด้าว

ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจคัดกรอง (SOP) รบ.1 ให้เป็นไปตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจติดตามการดำเนินงานการตรวจคุ้มครองแรงงาน และการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเพื่อตรวจติดตามการรายงานผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นจากการใช้มาตรฐานการปฏิบัติงาน และ แบบ รบ.1

เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจะเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตาม NRM ตลอดจนรับทราบปัญหาอุปสรรค กระบวนการ วิธีการตรวจคุ้มครองแรงงาน และการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน

โอกาสเดียวกันนี้ นางต้องใจ ยังได้เป็นประธานการประชุมตรวจติดตามการดำเนินการตรวจคัดกรองเบื้องต้นการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในแรงงานต่างด้าว ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน การตรวจคัดกรอง (SOP) ให้เป็นไปตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ ณ ห้องประชุมฝ้ายคำ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้กำชับให้ส่วนราชการสังกัดกระทรวงแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์


บูรณาการความร่วมมือกับสถานประกอบการในการดูแลคุ้มครองสิทธิแรงงานของลูกจ้างแรงงานต่างด้าวให้ได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับแรงงานไทย เช่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การรักษาพยาบาล การทำประกันสังคม เป็นต้น เพื่อให้ลูกจ้างการได้รับสวัสดิการจากสถานประกอบการ อย่างเป็นธรรม เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่เลวร้าย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการจัดลำดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเดิมอีกด้วย

สำหรับสถานการณ์ด้านแรงงานต่างด้าวของจังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวฯ เป็นแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ จำนวนทั้งสิ้น 2,589 คน ประกอบด้วย กัมพูชา 1,295 คน ลาว 478 คน และเมียนมา 816 คน

Related posts