จ.ราชบุรี/ พช.ราชบุรี รับการตรวจราชการตามนโยบายของรัฐบาล ข้อสั่งการของกระทรวงมหาดไทย และภารกิจตามประเด็นกรมการพัฒนาชุมชน ประจำเดือน กุมภาพันธ์
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี และการดำเนินงานพัฒนาชุมชน พื้นที่อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ บรรลุ ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานราชการพื้นที่จังหวัดราชบุรี
โดยมี นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมด้วย นางทศมนพร พุทธจันทรา ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน, นายณัฎฐิพล วงศ์เมธี ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน, นายปฏิพัทธ์ พวงแก้ว ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน, นางนิตยา มะลิขาว ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน, พัฒนาการอำเภอทุกอำเภอ และนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด เข้าร่วมการประชุมฯ และติดตามการตรวจราชการในครั้งนี้ ซึ่งผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ให้ข้อเสนอแนะ/ประเด็นเน้นย้ำของกรมการพัฒนาชุมชน ดังนี้
1. การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” จังหวัดราชบุรีมีเป้าหมายดำเนินตามโครงการฯ จำนวน 8 แปลง แบ่งเป็น พื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล 1 แปลง 15 ไร่ ในอำเภอจอมบึง และ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) 7 แปลง 3 ไร่ อยู่ใน อำเภอปากท่อ 3 แปลง อำเภอบ้านคา 1 แปลง อำเภอจอมบึง 3 แปลง
2. การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีกิจกรรมตามยุทธศาสตร์กรมฯ ปี 2563 จำนวน 83 แปลง ในปี 65 จำนวน 2 แปลง และปี 66 จำนวน 2 แปลง
3. การขับเคลื่อนการดำเนินการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ จังหวัดราชบุรี กำหนดกลยุทธ์ 5 พร้อม ในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดราชบุรี “คนราชบุรี ไม่ทิ้งกัน” ใช้หลักการ 3 ระดับ 5 กลไก 7 ภาคี ร่วมกับ ศจพ.จ, ศจพ.อ. ทีมปฏิบัติการตำบลและทีมพี่เลี้ยง บูรณาการให้ความช่วยเหลือครัวเรือนเป้าหมายตามสภาพปัญหาและบันทึกกิจกรรมให้ความช่วยเหลือไปแล้วทั้งสิ้น 4,284 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100
4. การขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีหนี้เกินกำหนดชำระ ร้อยละ 14.06 ซึ่งได้มีการดำเนินติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหลือหนี้เกินกำหนดชำระอยู่ที่ร้อยละ 10
5. การขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่งคง ทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร มีการดำเนินตามโครงการฯ ไปแล้วร้อยละ 100 ตามเป้าหมายครัวเรือน 210,057 ครัวเรือน
6. การบริหารงานโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานและภาคีเครือข่ายร่วมสนับสนุนผ้าทอพื้นถิ่นและนำมาสวมใส่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสนับสนุนผ้าไทยตามพระดำริ
7. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในหมู่บ้าน กข.คจ. ระยะแรก จำนวน 22 กลุ่ม และให้รายงานทุกวันที่ 15 ของเดือน และการติดตามเงินทุน กข.คจ.ที่ปัญหา ซึ่งปัจจุบัน ตามกลับมาได้ จำนวน 112,000 บาท และกำลังเร่งดำเนินการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เงินทุน กข.คจ. กลับมาหมุนเวียนให้ประชาชนที่ตกเกณฐ์ จปฐ. ภายในหมู่บ้านนำมาสร้างอาชีพ สร้างรายได้ต่อไป
8. การขับเคลื่อนงาน Flagship Project “ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง” ซึ่งได้ขับเคลือ่นการดำเนินงานตำบลเข้มแข็งไปแล้ว 10 ตำบล ซึ่งผ่านเกณฑ์ความเข้มแข็ง 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านความมั่นคง มิติด้านความมั่งคั่ง มิติด้านความยั่งยืน
ประเด็นเน้นย้ำ
1. การขับเคลื่อนการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่งคง ทางอาหารสู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้เร่งดำเนินการรายงานเข้ามาในระบบ
2. การบริหารงานโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย ให้ดำเนินการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ ในการประชุมทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
3. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) เร่งดำเนินการติดตามเงินทุนที่มีปัญหานำกลับเข้าระบบและบัญชีต่อไป
4. การขับเคลื่อนงาน Flagship Project “ตำบลเข้มแข็ง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง” ให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเมินความสขมวลรวมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อพิจารณาคัดเลือกตำบลเข้มแข็งระดับจังหวัด
5. การบริหารจัดการหนี้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เร่งดำเนินการติดตามโครงการสตรีอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้หนี้ค้างชำระ มีร้อยละเพิ่มขึ้นและไม่ให้เกิดความเสียหายต่อกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โดยในช่วงบ่าย นายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ณ กาดวิถีชุมชนคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อให้กำลังใจบุคลากรในพื้นที่และให้รักษาความเป็นอัตลักษณ์วิถีของชุมชนให้คงอยู่ รวมถึงสร้างเสน่ห์ ให้นักท่องเที่ยว ประทับใจ พร้อมสินค้า ที่เกิดจากภูมิปัญญา ของคนในชุมชน ติดไม้ติดมือ กลับบ้านไปด้วย
การตรวจราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินที่จะทำให้การปฏิบัติราชการหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานของรัฐบรรลุเป้าหมาย สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ อันเกิดจากการดำเนินการดังกล่าว เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงการตรวจราชการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และเกิดความคุ้มค่าในการปฏิบัติราชการหรือการจัดทำภารกิจให้ดียิ่งขึ้น และให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ในการจัดประชุมครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยเคร่งครัด
สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน