ฉะเชิงเทรา-ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า เป็นประธานการประชุมสภาวัฒนธรรมชี้แจงการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้าที่ผ่านมา และการดำเนินงานตามแนวนโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่ Tamarind ที่พัก & Cafa ริมแม่น้ำ ณ บางคล้า นายอภิชาต ตะเภาทอง ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า เป็นประธานการประชุมสภาวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2565 โดย นายประดิษฐ์ ไกรสร รองประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า นายสราวุฒิ บุญสร้าง ประชาสัมพันธ์สภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า นายเผชิญ ตันเจริญ นายทะเบียนสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า พร้อมด้วยกรรมการสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้าเข้าร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้าที่ผ่านมา รวมไปถึงการดำเนินงานตามแนวนโยบายที่จะมีขึ้นในอนาคตโดยฝ่ายวิชาการสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้า ได้ร่างตัวอย่างแผนงานสภาวัฒนธรรมอำเภอที่จะร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่นและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้กับเยาวชนในท้องถิ่นอาทิ
งานวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา,งานวันอนุรักษ์มรดกไทย ทุกวันที่ 2 เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี,งานวันพระยาศรีสุนทรโวหาร ทุกวันที่ 5 กรกฎาคม,งานวันสำคัญของอำเภอ เช่น งานวันลอยกระทง งานสงกรานต์ งานวันมะม่วง งานปีใหม่ งานวันพระเจ้าตากสิน,งานวัฒนธรรมจิตอาสา,งานท่องเที่ยวบางคล้าเชิงอนุรักษ์ “ เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ,สำรวจเส้นทางทำบุญ 9 วัดในอำเภอบางคล้า,ส่งเสริมวัฒนธรรมให้กับนักเรียนในอำเภอ เช่น การประกวดมารยาท ประกวดวาดภาพระบายสี ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง สภาวัฒนธรรมยุวชน ประกวดคลิปวิดีโอวัฒนธรรมของตำบล,จัดทำทำเนียบมรดกทางวัฒนธรรมของตำบลต่อยอดจากงานเดิมที่มีอยู่,ทำหนังสือปราชญ์ชาวบ้านของแต่ละตำบล รวมถึงแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ต่อยอดจากเดิมบันทึกข้อมูลเกจิอาจารย์ในอำเภอบางคล้า อดีตจนถึงปัจจุบัน
ทำโครงการส่งเสริมพัฒนาวัดนำร่อง
ด้านวิปัสสนากรรมฐานในอำเภอบางคล้าจากข้อบังคับสภาวัฒนธรรมอำเภอบางคล้าพุทธศักราช 2559 มาตรา 13 กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย/จังหวัด/อำเภอ/ตำบล ฯลฯ ในการดำเนินงานวัฒนธรรมทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ตลอดจนการสืบสานและสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องร่วมมือและบูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้เข้มแข็ง สามารถรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไทย และสังคมโลกเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารงานวัฒนธรรมเชิงยุทธศาสตร์ ในลักษณะของเครือข่ายที่บูรณาการงานร่วมกัน โดยมุ่งผลสำเร็จของท้องถิ่นเป็นสำคัญ จำเป็นต้องมีข้อบังคับรองรับการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมทุกระดับอย่างชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของสภาวัฒนธรรมให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 34 แห่งกฎกระทรวงกำหนดที่มา คุณสมบัติหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของจำนวนกรรมการและสมาชิก วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นตำแหน่ง การประชุม การบริหารจัดการและการดำเ นินงานของสภาวัฒนธรรม พ.ศ.2559 เป็นต้น
…..สราวุฒิ บุญสร้างผู้สื่อข่าวภูมิภาคฉะเชิงเทรา