สระแก้ว/โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น – เขาใหญ่ (เสือโคร่ง) จังหวัดสระแก้ว และ จังหวัดบุรีรัมย์

สระแก้ว/โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น – เขาใหญ่ (เสือโคร่ง) จังหวัดสระแก้ว และ จังหวัดบุรีรัมย์

*****วันนี้ มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่มรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ สร้างต้นกล้าเพื่อความหวังเยาวชนนักอนุรักษ์สร้างเครือข่ายนักอนุรักษ์ ที่เข้มแข็งในการช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นตนเอง โรงเรียนบ้านคลองผักขม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีและประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นประธานในพิธี โดยมีนายปริญญา โพธิสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว พลเอกภุชงค์ รัตนวรรณ ที่ปรึกษาคณะทำงานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้า นายก อบต.เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้


*****พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรีและประธานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ผืนป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 6,228 ตารางกิโลเมตร จากแนวตะวันตก ถึงตะวันออก ยาว 230 กิโลเมตร เริ่ม จาก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จดอุทยานแห่งชาติตาพระยา ที่มีอาณาเขต ติดต่อกับ ผืนป่า”บันเตียฉมาร์” ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ ของประเทศกัมพูชา ประกอบด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่นครราชสีมา นครนายก สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้วและ บุรีรัมย์ ผืนป่าทั้งหมดนี้ มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน เป็นระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย ทางชีวภาพ เป็นต้นกำเนิด ของแม่น้ำที่สำคัญ หลายสาย เป็นแหล่งอาศัยและเจริญเติบโต ของพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ป่า ที่สำคัญในประเทศไทย หลากหลายชนิด

แต่เนื่องจาก ผืนปามรดกโลกแห่งนี้ ตั้งอยู่ท่ามกลาง การพัฒนาของชุมชนเมือง เกิดการขยายตัว ของพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร พื้นที่ประกอบธุรกิจ ทำให้ต้องประสบกับปัจจัย คุกคาม เช่น การลักลอบตัดไม้ การล่าสัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์ การทำลาย หรือเปลี่ยนแปลง ถิ่นอาศัย และแหล่งอาหาร ของสัตว์ป่า รวมถึง ปัจจัยคุกคามอื่นๆ ที่มีผลกระทบ ต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ ทำให้สัตว์ป่า มีจำนวนลดน้อยลง บางชนิดต้องตกอยู่ในสภาวะ ใกล้ สูญพันธุ์ทางธรรมชาติเสือโคร่ง เป็นสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ ที่อยู่ชั้นบนสุด ของห่วงโช่อาหาร มีหน้าที่ควบคุมประชากรสัตว์กินพืช ไม่ให้มีมากเกิน เป็นดัชนี ชี้วัด ความอุดมสมบูรณ์ ของระบบนิเวศ และความสำเร็จ ของการอนุรักษ์ คุ้มครอง ผืนป่าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเสือโคร่ง เป็นสัตว์ที่ใช้พื้นที่อาศัยขนาดใหญ่ และมีความต้องการเหยื่อ ที่เป็นสัตว์กีบ อย่างเพียงพอ หากเสือโคร่ง สามารถอาศัยอยู่ได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า สัตว์ชนิดต่างๆ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อย่างปกติ เช่นเดียวกัน


*****พลเอกภุชงค์ รัตนวรรณ ที่ปรึกษาคณะทำงานมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่ออนาคตของผืนป่า นับตั้งแต่ ปี 2560 ที่ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในการดำเนินการ “โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟู ประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่มรดกโลก ดงพญาเย็น – เขาใหญ่” เพื่อทำให้ ประชากรเสือโคร่ง และสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ในผืนป่า ดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ยังคงมีอยู่ตามธรรมชาติ และสามารถ เพิ่มจำนวนประชากร สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์เหล่านั้น ให้สูงขึ้นอีกร้อยละ 50 ภายในปี 2570โดยได้รับความร่วมมือ จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึง องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม ระดับนานาชาติ อีกหลายหน่วยงาน โดยในห้วงที่ผ่านมา ผลจากความทุ่มเท และความมุ่งมั่น ในการปฏิบัติ ของทุกส่วนงานโดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ทุกระดับ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ได้มีการดำเนินการ ในหลายรูปแบบ ทั้งการใช้ระบบลาดตระเวน เชิงคุณภาพ หรือ Smart Patrol เพื่อเฝ้าระวัง การบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์ , การติดตั้งกล้อง NCAPS ในพื้นที่อนุรักษ์ , การจัดตั้งสถานีวิจัย เพื่อฟื้นฟูสัตว์ ป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ และการสนับสนุนอื่นๆ จากหน่วยงานพันธมิตร ทำให้สามารถเก็บข้อมูล บันทึกภาพ การมีอยู่ของสัตว์ป่าหลากหลายชนิด

อาทิเช่น เสือโคร่ง ช้างป่า กระทิง วัวแดง หมีควาย เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน นั่นหมายความว่า สัตว์ป่า และผืนป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น เขาใหญ่ ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นอย่างมาก บทบาทต่อไปของมูลนิธิ คือ การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ มีการพึ่งพิง ธรรมชาติ ในการดำรงชีวิต การให้ความสำคัญ ในการสร้างจิตสำนึกที่ดี และ การมีส่วนร่วมของชุมชน และประชาชน ที่อาศัยหรือทำกิน ในพื้นที่อนุรักษ์ ผ่าน กระบวนการทำความเข้าใจ เน้นให้ความรู้ “ป่าอยู่ได้ คนอยู่ได้” ให้คนกับป่า สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม ตามวิถีชีวิต และแนวทางการอนุรักษ์รวมถึง การสร้างความรู้ ปลูกจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าให้กับเด็กนักเรียน เยาวชน ในพื้นที่ เพื่อสร้างเครือข่ายนักอนุรักษ์ ที่เข้มแข็งในการช่วยกันดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นตนเอง เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญ ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ให้เป็นไปได้ อย่างยั่งยืน ต่อไปกระบวนการอนุรักษ์ผืนป่า ดงพญาเย็น -เขาใหญ่ แบบบูรณาการพญาเย็น – เขาใหญ่ ในจังหวัดสระแก้วเคลื่อนโครงการอนุรักษ์ และฟื้นฟู ประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ พื้นที่มรดกรมรบพิเศษที่ 1 และ กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา ได้จัดคณะทำงานในกาประสานการปฏิบัติ หารือและ จังหวัดบุรีรัมย์ ของมูลนิธินั้น ในห้วงเดือนพฤษภา คิดเห็นร่วมกัน ในการจัดตั้ง ขับเคลื่อน

*****นางอนงค์ ชำนาญ ผู้ใหญ่บ้านแผนดินเย็น กล่าวว่า หมู่บ้าน และเยาวชนหัวหน้าอุทยานแห่งชาติตาพระยา และ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา จะนำไปสู่การเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น กับหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทั้ง 3 แห่ง ได้พิจารณาเลือก หมู่บ้าน และโรงเรียนเป้าหมาย ที่มีปัจจัย ซึ่งหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ และเขตดำเนินโครงการ ตามลักษณะเฉพาะได้ร่วมกันลงพื้นที่เป้าหมาย ตามที่หัวหน้าหน่วยงานอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาสัตว์ป่าข้างต้นเป็นผู้กำหนด เพื่อพบปะ พัฒนาสัมพันธ์ กับผู้นำชุมชน และผู้บริหารสถานศึกษาทำการชี้แจง ให้เกิดความเข้าใจ ในแนวความคิด และวัตถุประสงค์ ของโครงการฯ รวมถึงรับฟังแลกเปลี่ยนข้อมูล กับผู้นำชุมชน และผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้ทราบถึงปัญหา เงื่อนไข และปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อพื้นที่อนุรักษ์ ชุมชน และชาวบ้านที่ผ่านมา หน่วยได้เข้าดำเนินการ ตามแผนงานของมูลนิธิฯ ว่าด้วยแผนงาน การสร้างความตระหนักรู้แผนงาน การสร้างเยาวชนเป็นนักอนุรักษ์ แผนงาน การขับเคลื่อนมวลชน / ชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ และแผนงาน การสนับสนุน เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม 65ในพื้นที่นำร่อง จังหวัด บุรีรัมย์ และ จังหวัด สระแก้ว เขต อุทยานแห่งชาติปางสีดา , อุทยานแห่งชาติตาพระยา และ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าดงใหญ่ โดยจะแล้วเสร็จ ตามโครงการ และกิจกรรม ภายในเดือน กรกฎาคม 2565ได้รับการสนับสนุน งบประมาณ ในการดำเนินการที่ผ่านมา ศูนย์ประสานงาน เพื่อความมั่นคงที่ 1ได้จัดคณะทำงานในการลงพื้นที่ เพื่อประสานการปฏิบัติ หารือและ กองพันปฏิบัติการจิตวิทยาแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นกับหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตาพระยา และ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา จนนำไปสู่ ความเห็นร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

***ภาพ/สุชีวิน ปิยะมิตรบัณฑิต /ข่าว สมศักดิ์ สารการ /บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน

 

Related posts