ขอนแก่น – ผอ.หญิงนักพัฒนา จัดกิจกรรม เปิดศูนย์เรียนรู้โคกหนองนา ที่ รร.บ้านโนนบ่อ ต.พระยืน อ.พระยืน
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่โรงเรียนบ้านโนนบ่อ ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เริ่มตั้งแต่เวลา 9.00-11.00 น. ได้จัดกิจกรรมพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โคกหนองนา) และรับมอบระบบน้ำหยดอัตโนมัติควบคุมโดยพลังงานแสงอาทิตย์
โดยมี ดร.อารยันต์ แสงนิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 ให้เกียรติเป็นประธาน รับมอบจากผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการบดี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ มอบให้นางอัจฉราพร อินทรทัพ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนบ่อ พร้อมทั้งมีผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 และคณะคุณครูร่วมเป็นสักขีพยาน
นางอัจฉราพร อินทรทัพ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนบ่อ กล่าวว่า ในนามตัวแทนของโรงเรียนรู้สึกซาบซึ้งและปิติเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางมหาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยท่านอธิการบดี ได้นำนักศึกษามาร่วมพัฒนาในโรงเรียนเรา รวม 2 วัน 3 คืน และได้มอบแผงโซล่าเซลล์เพื่อการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ของโรงเรียน นอกจากนั้นก็ยังร่วมพัฒนาโรงเรียนของเราให้มีสีสัน ซึ่งเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
และในโอกาสนี้ก็ ขอขอบพระคุณ ดร.อารยันต์ แสงนิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 ที่ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิด โครงการ”โคกหนองนาโมเดล” ของเราอย่างเป็นทางการในวันนี้
ดร.อารยันต์ แสงนิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 ได้กล่าวว่า “โคกหนองนาโมเดล แห่ง
น้ำใจและความหวัง เป็นนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่ต้องให้การโรงเรียนทุกแห่งในสังกัด ซึ่งโรงเรียนบ้านโนนบ่อถือว่าเป็นอีกโรงเรียนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งวันนี้ได้รับแผง
โซล่าเซลล์จะเป็นต้นทุนในการที่จะทำให้โรงเรียนได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการนี้ให้เป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนในสังกัด”
ผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการบดี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ กล่าวว่า “มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมามีส่วนร่วมในการที่จะร่วมพัฒนาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และมีความยินดีที่จะสนับสนุนทุกโรงเรียน ถ้าทางสำนักงานเขตฯ มีนโยบายที่จะพัฒนา ต้องขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโนนบ่อ ที่ได้ทำโมเดลเป็นตัวอย่างให้ทางสำนักงานเขตฯ ทางมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยากจะฟื้นฟู
เศรษฐกิจของชุมชนเราด้วย มหาวิทยาลัยเรา มีความเชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรม เราก็เลยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเกษตร โดยโคกหนองนาโมเดลนี้ ก็เป็นหลักพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว แต่ทางมหาวิทยาลัย ในการที่เรามีองค์ความรู้ มีนวัตกรรม ที่ได้นำมาใช้ ก็จะทำให้โมเดลของเรามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แล้วเราสามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆในโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยต่อไป ในที่ทำไว้เป็นโมเดลก็มีหลายโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการเลี้ยงปลาในบ่อขนาดเล็กด้วยระบบไอโอที ,เลี้ยงไก่ ,เลี้ยงหนู,ระบบแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชาวบ้าน อันนี้เราก็จะมีโครงการย่อยไว้จำนวนมากเพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับลักษณะของแต่ละชุมชน จะมีความแตกต่างกันและในวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณทางโรงเรียนและท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ที่ให้มหาวิทยาลัยได้มามีส่วนร่วมในการพัฒนา ร่วมนำองค์ความรู้มาช่วยกัน”