ราชบุรี /พช.ราชบุรี ประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ 2565

ราชบุรี /พช.ราชบุรี ประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ 2565

 


ณ ห้องประชุมบางสองร้อย ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานประชุมซักซ้อมแนวทางขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ 2565 ณ ห้องประชุมบางสองร้อย ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดราชบุรี โดยมี ผู้อำนวยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอ ผู้แทนพัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการพัฒนาชุมชนอำเภอ เข้าร่วมประชุม โดยมีประเด็นการซักซ้อมที่สำคัญ ดังนี้
1.การขับเคลื่อนการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเป้าหมาย TPMAP ปี 2565 เป้าหมายดำเนินการ 4,038 คร. โดยการจัดทำแผนครัวเรือน วิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการ และบันทึกในระบบ TPMAP Logbook ภายใน 8 เมษายน 2565 ให้ศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอ (ศจพ.อ.) ประชุมบูรณาการแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ภายใน 30 เมษายน 2565 พร้อมดำเนินการช่วยเหลือ บันทึกให้ความช่วยเหลือใน TPMAP Logbook และรายงานผลการดำเนินงานภายใน 30 กันยายน 2565

 


2.การบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วยเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ เป้าหมายดำเนินการ จำนวน 167,839 คร.
กรมการพัฒนาชุมชนจะดำเนินการทดสอบระบบโปรแกรมบันทึกและประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) ปี 2566-2570 สำหรับการจัดเก็บข้อมูลห้วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 จำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 21-27 มีนาคม 2565 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 23-29 เมษายน 2565 โดยจะประชุมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมจัดเก็บ บันทึก และประมวลผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ปี 2565 ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 และจะเปิดใช้งานโปรแกรมฯ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2565 และดำเนินการบันทึกให้แล้วเสร็จ ภายใน 1 พฤษภาคม 2565 โดยกำหนดให้อำเภอยืมเงินค่าบันทึกฯให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 มี.ค.2565
3. กรมการพัฒนาชุมชนรณรงค์การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ โดยใช้แนวคิด “1 พัฒนากร 1 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตฯ” ซึ่งจังหวัดราชบุรีมีจำนวนพัฒนากรทั้งสิ้น 41 คน และจะต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ ทั้ง 41 กลุ่ม ให้เป็นไปตามเป้าหมายในการสร้างครัวเรือนให้สามารถพึ่งตนเองด้วยการออมและมีความมั่นคงทางการเงินมีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565
การขับเคลื่อนการดำเนินงานการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามภารกิจ 5 มิติ จังหวัดราชบุรีได้ให้ความสำคัญกับการ แก้ไขปัญหาความยากจน และพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยแก้ปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า ต้องทำให้เกิดผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จในระดับอำเภอภายใน 30 กันยายน 2565
จังหวัดราชบุรีมีจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นคนจนจากระบบ TPMAP 5 มิติ ปี 2565 จำนวนทั้งสิ้น 6,204 คน โดยกระจายอยู่ในครัวเรือนจำนวน 4,038 ครัวเรือน แบ่งออกใน 5 มิติ ได้แก่


1.มิติด้านสุขภาพ จำนวน 863 ครัวเรือน
2.มิติด้านความเป็นอยู่ จำนวน 420 ครัวเรือน
3.มิติด้านการศึกษา จำนวน 141 ครัวเรือน
4.มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ จำนวน 5 ครัวเรือน
5.มิติด้านรายได้ จำนวน 3,015 ครัวเรือน
การบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วยเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ เพื่อนำข้อมูลที่อาสาสมัครจัดเก็บมาประมวลผล อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ในทุกระดับ
จังหวัดราชบุรีมีเป้าหมายจำนวนจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ด้วยเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์ จำนวน 167,839 ครัวเรือน แบ่งเป็น
1.อำเภอเมืองราชบุรี จำนวน 36,191 ครัวเรือน
2.อำเภอบ้านโป่ง จำนวน 34,227 ครัวเรือน
3.อำเภอโพธาราม จำนวน 28,790 ครัวเรือน
4.อำเภอดำเนินสะดวก จำนวน 18,787 ครัวเรือน
5.อำเภอบางแพ จำนวน 8,204 ครัวเรือน
6.อำเภอปากท่อ จำนวน 13,874 ครัวเรือน
7.อำเภอจอมบึง จำนวน 12,115 ครัวเรือน
8.อำเภอวัดเพลง จำนวน 2,869 ครัวเรือน
9.อำเภอสวนผึ้ง จำนวน 7,810 ครัวเรือน
10.อำเภอบ้านคา จำนวน 4,972 ครัวเรือน


เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ 130 ปี ของการสถาปนากระทรวงมหาดไทย ครบรอบ 60 ปี กรมการพัฒนาชุมชน และวันคล้ายวันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ครบรอบ 48 ปี กรมการพัฒนาชุมชนได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการออมภาคประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการออมในชุมชน ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันภายในครอบครัวตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการออมโดยการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาตั้งแต่ปี 2517 กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเป็นกองทุนชุมชนที่สำคัญ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้ประชาชนมารวมตัวกันออมเงินตามศักยภาพของตนเอง เป็นการสร้างหลักประกัน สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สมาชิกในครัวเรือนและช่วยเหลือคนในชุมชน ซึ่งดำเนินการภายใต้หลักการ “ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน” ให้คนมีคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจกันและความไว้วางใจกันและพัฒนาคนให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการชุมชนของตนเอง เรียนรู้การทำงานร่วมกันในรูปแบบ“กระบวนการกลุ่ม” และใช้ “สัจจะออมทรัพย์” เป็นเครื่องมือในการสร้างวินัยการออมของสมาชิก สมาชิกกลุ่มฯ ได้รับประโยชน์ในการกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนประกอบอาชีพ และแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนของครอบครัว ลดการพึ่งพาแหล่งทุนภายนอก นอกจากนี้ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตสามารถดำเนินกิจกรรมเครือข่ายหรือกิจกรรมเชิงธุรกิจชุมชน เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของสมาชิกและชุมชน ตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ประชาชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี 2565”
การดำเนินการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต “1พัฒนากร 1กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต”
จังหวัดราชบุรี มีจำนวนพัฒนากร จำนวน 41 คน และมีกลุ่มอมทรัพย์เพื่อการผลิตที่จัดตั้งและว จำนวน 140 กลุ่ม และจะต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ฯ เพิ่ม จำนวน 41 กลุ่ม แบ่งเป็น
1.หมู่บ้านที่มีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จำนวน 5 กลุ่ม
2.หมู่บ้านที่มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 11 กลุ่ม
3.หมู่บ้านสัมมาชีพ จำนวน 20 กลุ่ม
4.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 กลุ่ม
และจะต้องจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 41 กลุ่ม ให้แล้วเสร็จภายใน 1 สิงหาคม 2565
การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยเคร่งครัด

สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

Related posts