อบจ.ระยอง จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านทะเลน้อย รองรับ EEC

อบจ.ระยอง จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านทะเลน้อย รองรับ EEC

 

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2565 เวลา 08.30 – 12.00 น.ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านทะเลน้อย อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง มอบหมายให้มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ศึกษาและจัดทำรายงานฯ นายประสานต์  พฤกษาชาติ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง


และรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC อาจารย์หทัยรัตน์ บัณฑิตยารักษ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการ ผู้แทนองค์กร ภาคเอกชน ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง คณะผู้ให้บริการฯ มหาวิทยาลัยบูรพา และภาคประชาชนเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง

นายประสานต์  พฤกษาชาติ กล่าวว่า การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โครงการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน และตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ของประชาชนในพื้นที่อำเภอแกลง ในครั้งนี้  อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง ได้ว่าจ้าง มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อดำเนินการศึกษาออกแบบรายละเอียดของโครงการศึกษา สำรวจ ออกแบบรายละเอียดพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านทะเลน้อย

ตำบลทางเกวียน และตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 ไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 แล้วนั้น ทางมหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการศึกษา ทบทวนผลการศึกษาเดิม และโครงการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทบทวนรูปแบบของโครงการพัฒนาที่ดิน รวมถึงการระบุโซนนิ่ง และกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เชื่อมโยง และทบทวนผลการวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานการใช้พื้นที่ ให้สอดคล้องกับกฎหมาย กฎหมายผังเมือง กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

รวมถึงทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยง (Master Plan) อีกทั้งได้ทำการสำรวจพื้นที่เบื้องต้น โดยทำการสำรวจสภาพภูมิประเทศ สำรวจตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวางการก่อสร้าง สำรวจข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเดิม และการเจาะสำรวจดินบริเวณพื้นที่ตั้งโครงการ เพื่อนำผลต่างๆ มาใช้ในการออกแบบรายละเอียด (Detail Design) ของพื้นที่ เป็นเรียบร้อยแล้ว

 

ธีรวัฒน์ อินธิพันธ์ รายงาน

Related posts