ระยอง-ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศและภาคีเครือข่าย จัดโครงการถอดบทเรียนขยะพลาสติกจากบ้านเรือนสู่การรีไซเคิลแบบวงจรปิด

ระยอง-ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศและภาคีเครือข่าย จัดโครงการถอดบทเรียนขยะพลาสติกจากบ้านเรือนสู่การรีไซเคิลแบบวงจรปิด

วันที่ 21 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 น. ที่โรงแรมคลาสสิค คามิโอ ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง นายฉัตรนุชัย สมบัติศรี ปลัดเทศบาลนครระยอง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับขยะพลาสติก ถอดบทเรียนจากอดีตสู่อนาคต กรณีศึกษาการรีไซเคิลแบบวงจรปิดและหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต จังหวัดระยอง มี Dr. Giuseppe Busini อัครราชทูต รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป (EU) ประจำประเทศไทย นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวในรายละเอียดและความสำคัญของโครงการผ่านระบบออนไลน์ และมีนายสมชาย รุ่งเรือง ท้องถิ่นจังหวัดระยอง ศาสตราจารย์ ดร.อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และตัวแทนจากทุกภาคส่วน ประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลทับมา เทศบาลเมืองมาบตาพุดเข้าร่วมสัมมนาโครงการดังกล่าว ภายใต้วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการและผลงานพร้อมเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก รวมทั้งระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันออกแบบแนวทางการจัดการขยะพลาสติกให้ต่อเนื่องและยั่งยืนลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล ขณะเดียวกันเป็นการขับเคลื่อนการเพิ่มขอบเขตความรับผิดชอบผู้ผลิตพลาสติกในระดับท้องถิ่น (Extended Producer Responsibility) ให้นำพลาสติกที่เหลือใช้จากครัวเรือนมาผ่านกระบวนการคัดแยกเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่แบบวงจรปิดและลดจำนวนขยะพลาสติกสะสมโดยจะเริ่มนำร่องในพื้นที่จังหวัดระยอง

ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และสำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านเทคนิคระหว่างประเทศแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (EF) จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “ขยะพลาสติก: ถอดบทเรียนจากอดีตสู่อนาคต กรณีศึกษาการรีไซเคิลแบบวงจรปิดและหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต จังหวัดระยอง” ภายใต้การดำเนินงานโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะพลาสติกจากบ้านเรือนเพื่อการรีไซเคิลแบบวงจรปิด จังหวัดระยอง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) และกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหภาพที่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกปนเปื้อนในระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะระบบนิเวศน์ทางทะเลอย่างเร่งด่วน ผ่านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดข้อเสนอทางนโยบายด้านการจัดการขยะพลาสติกหรือกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อป้องกันและลดมลพิษจากการรั่วไหลของขยะพลาสติกจากชายฝั่งลงสู่ทะเล ด้วยการส่งเสริมระบบการรีไซเคิลแบบวงจรปิดหรือ “Closed-loop recycling”

Related posts