สระบุรี – คณะทำงานตรวจเยี่ยม โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”(มีคลิป)
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 คณะตรวจเยี่ยม นำโดย พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เดินทางไปตรวจเยี่ยม โครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”อารยวิถีใหม่ สู่ความอุดมสมบูรณ์ บนพหุวัฒนธรรม ที่โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีนายเอกพร จุ๊ยสำราญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวต้อนรับและแนะนำสถานที่สำคัญในจังหวัดสระบุรี
นายสุดสาคร เรืองวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 รายงานการดำเนินโครงการ อารยเกษตร สีบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ตำบลชับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี อารยวิถีใหม่ สู่ความอุดมสมบูรณ์ บนพหุวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง และทำนาเพื่อเป็นการสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็กและสามารถดำเนินการได้ในทุกเงื่อนไขของพื้นที่ โดย มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานแนวความคิด ฝึกวินัยลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาจริงในท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ในสถานศึกษาให้เกิดผลในมิติต่างๆ
ทั้งการพึ่งพาตนเอง ความกตัญญู การพัฒนาจิตใจ การพัฒนาทางปัญญา รวมทั้งสามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตระหนักถึงความสำคัญ และได้น้อมนำโครงการมาปฏิบัติ โดยดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษานำร่องระยะที่ 1 จำนวน 106 โรงเรียน เพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยประสานความร่วมมือกับ ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย และคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถานศึกษาเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการขุดหนอง ปั้นโคก ทำนา ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา รวมทั้งการตรวจเยี่ยม สร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้สถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ และมีแนวทางที่ชัดเจน
สำหรับนำมาพัฒนาจัดระบบการเรียนการสอน ตามหลักการ 5เปลี่ยน 5 ประเมิน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการศึกษาทุกภาคส่วน สถานศึกษา และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่สอดคล้อง เหมาะสมกับบริบทอย่างเต็มที่ สามารถปรับให้เข้ากับภูมิสังคมและบริบทของแต่ละท้องถิ่น อันจะนำพานักเรียนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้เป็นที่พึ่งของชุมชน กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่างๆ เพื่อให้โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย”โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ด้วยการพลิกโฉมการจัดการศึกษาในมิติการบริหารโครงการและมิติวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ คือ การพัฒนาสมรรถนะเยาวชน ให้เป็น “อารยเยาวชนไทย” ตามแนวทางพระราชทาน ให้เด็กและเยาวชน สร้างเสริมวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต โดยมีความรู้และคุณธรรม เป็นคนดี มีระเบียบวินัย รับผิดชอบตัวเองได้ พึ่งพาตัวเองได้ เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวม มีความกตัญญูกตเวที มีความรู้สึก ผิดชอบชั่วดีพร้อมเป็น ฮีโร่ของตนเอง ของจังหวัด ของลุ่มน้ำ และของประเทศชาติ
โรงเรียนวัดโป่งเกตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยวันนี้ได้จัดกิจกรรมรับการตรวจเยี่ยมและเปิดห้องเรียนอารยเกษตร โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” อารยวิถีใหม่สู่ความอุดมสมบูรณ์ บนพหุวัฒนธรรม เพื่อเผยแพร่และสร้างเครือข่ายส่งเสริมการดำเนินงานโครงการต่อไป
จากนั้น พล.ท.สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ กล่าวถึงเป้าหมายโครงการอารยเกษตรสืบสาน รักษาต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร กล่าวถึงแนวทางกระบวนการเรียนรู้ของโรงเรียนอารยเกษตร โรงเรียนนำเสนอการดำเนินงานโครงการอารยเกษตรสืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ตามเป้าหมาย “อารยวิถีใหม่ สู่ความอุดมสมบูรณ์ บนพหุวัฒนธรรม”โดย นายเล็ก ชนะชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโปงเกตุ นิทรรศการ อารยเกษตร ตอบโจทย์สำคัญ 3 ประการ ตอบโจทย์ที่ 1 อาหารกลางวันของนักเรียน นางสาวสุพรรษา พางาม ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ตอบโจทย์ที่ 2 การรับมือสถานการณ์โควิดด้วยชุมชน
นางสาวศิราชินี เทียนงาม ศิษย์เก่าโรงเรียนบ้านโป่งเกตุ ตอบโจทย์ที่ 3 กระบวนการ “คบเด็กสร้างฝาย” ขยายผลอารยเกษตร เด็กชายศุภรัตน์ สุขทรัพย์ นักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งเกตุ เปิดห้องเรียนอารยเกษตร ในโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ด้วย “โคกหนอง นา แห่งน้ำใจ และความหวัง”โรงเรียนบ้านโป่งเกตุ โดยมัคคุเทศก์น้อยแห่งโรงเรียนบ้านโป่งเกตุและเยี่ยมชม ผลงาน “โคก หนองนา แห่งน้ำใจ และความหวัง” ระดับจังหวัด ร่วมรับประทานอาหารกลางวันเมนูจากพื้นที่แหล่งอาหารโรงเรียนบ้านโป่งเกตุและซุ้มอาหารจาก ครูปฏิบัติการอารยเกษตรเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ อาหารโบราณ, ผัดหมี่แจ๊ะไทยวน, ปลาร้าสับโป่งไทร, บ้าบิ่นโบราณย่าโก๊ะ ภาคบ่าย มัคคุเทศก์น้อยชวนเที่ยวเส้นทางพหุอารยชุมชนบ้านโป่งเกตุเดินทางดูกระบวนการขยายผลเครือข่ายรร.อารยเกษตร 11 โรงเรียนด้วยกิจกรรม”คบเด็กสร้างฝ่าย”พลังเครือข่ายยาวชน นักเรียน รร.บ้านโปงเกตุและ รร.ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ทำต่อเนื่องเป็นปีที่ 9
*****************
คกฤษฎา สมมาตร
รายงานจากสระบุรี