ระยอง-SPRC รายงานสถานการณ์การปฏิบัติงานเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
• บริษัทฯ ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการและคณะกรรมการศูนย์ประสานงานป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน (กปน) ในวันที่ 18 ก.พ. 2565 เพื่อนำเสนอแผนการปฏิบัติการพันท่อเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน
ปฏิบัติการในทะเล
▪ เรือปฏิบัติการเฝ้าระวัง 22 ลำ
▪ ใช้ Drone บินตรวจสอบฟิล์มน้ำมันในทะเล ไม่พบคราบฟิล์มน้ำมัน
▪ ใช้เรือเพื่อตรวจสอบ และเฝ้าระวังคราบฟิล์มน้ำมันในทะเล ตลอดแนวห่างจากชายฝั่ง 1-2 กม. ไม่พบคราบฟิล์มน้ำมัน
▪ ดำน้ำสำรวจใต้ทะเล บริเวณจุดที่กำหนดของ เขาแหลมหญ้า และเกาะเสม็ดฝั่งตะวันตก โดยทีมม้าน้ำสีชมพู ไม่พบคราบฟิล์มน้ำมัน
▪ เตรียมการนำวัสดุมาคลุมท่ออ่อนในจุดที่เสียหายเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันและเพื่อถนอมสภาพของท่ออ่อน คาดว่าจะได้เริ่มดำเนินการภายในสัปดาห์หน้า
ปฏิบัติการบนชายฝั่ง
➢ มีการเฝ้าระวังและตรวจสอบตลอดแนวชายหาด ไออาร์พีซี ศาลเจ้าแม่รำพึงโค้งกรมอุตุฯ หน้าศูนย์วิจัยฯ ลานหินขาว หน้าเยลโล่เฮ้าส์ ก้นอ่าว ไม่พบคราบฟิล์มน้ำมัน
➢ 17 ก.พ.เวลาประมาณ 12.19 น ได้รับแจ้งจากรองผู้ว่าอนันต์ มาทางไลน์ศูนย์บัญชาการสถานการณ์จังหวัดระยอง ให้เข้าไปตรวจสอบกรณีร้องเรียน บริเวณหาดแหลมแม่พิมพ์ จึงได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว โดยมีเจ้าหน้าที่จาก ทช. ร่วมเก็บตัวอย่าง และนักข่าว ThaiPBS เข้าสังเกตการณ์ ตรวจสอบหน้างาน พบคราบผงตะกอนสีดำ ปะปนอยู่ทั่วบริเวณหาด เป็นสีดำเห็นชัด ทำการทดสอบเบื้องต้น ปรากฏว่า ไม่พบว่ามีน้ำมันเจือปน เก็บตัวอย่างทราย และน้ำทะเลบริเวณนั้นกลับมาส่งวิเคราะห์ต่อไป
➢ 17 ก.พ. เวลา 16.33 น ได้รับแจ้งจากเพจซูมระยอง พบผงตะกอนสีดำ ปะปนอยู่บนพื้นทราย บริษัทฯได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณชายหาด หน้าหมู่บ้านพร้อมพงษ์ จากการตรวจสอบ ผลการตรวจสอบเบื้องต้น ไม่พบว่ามีน้ำมันปะปนมาในตัวอย่าง
➢ 17 ก.พ. เวลา 16.39 น ได้รับแจ้งจากร้านจิราซีฟู๊ด พบผงตะกอนสีดำ ปะปนอยู่บนพื้นทราย บริษัทฯได้เข้าไปตรวจสอบบริเวณชายหาด ร้านเจ๊จุก จากการตรวจสอบไม่พบคราบน้ำมัน
➢ ทำความสะอาดคราบน้ำมันที่อยู่ใต้ทรายบริเวณชายหาดหลังร้านป้านงท์ ด้วยการพลิกหน้าทรายโดยใช้อุปกรณ์ไถคราดโดยแรงงานคน และเก็บทาร์บอล และทรายที่เปื้อนคราบน้ำมันออก และ บริเวณคลองหัวรถ ไม่พบคราบน้ำมัน
ความคืบหน้าและแผนการดำเนินงานจัดทำแผนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
➢ สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล ค่าคุณภาพน้ำทะเลพื้นฐาน (ค่าความเป็นกรด-ด่าง, ค่าออกซิเจนละลาย, อุณหภูมิ) ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 15 ก.พ. 65 โดยรวม มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ,ค่าโลหะหนักในน้ำทะเล โดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้นบางจุด ที่พบค่าปรอท และ ค่านิกเกิล เกินเกณฑ์ค่า base line, ค่าปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนทั้งหมด (TPH) ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 9 ก.พ. 65 พบว่า ณ หาดแม่รำพึง (ป้ายา), Bayview Resort และ คลองหัวรถ (บ้านสบายสบาย) ค่า TPH ยังคงเกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตาม ค่า TPH มีแนวโน้มลดลงเป็นอย่างมาก
➢ สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินชายฝั่งทะเล ค่าโลหะหนักในตะกอนดินชายฝั่งทะเล ค่าโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนทั้งหมด (TPAHs), ค่าปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในตะกอนดินชายฝั่งทะเล ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 3 ก.พ. 65 โดยรวม มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
➢ สรุปค่า VOC ในบรรยากาศ ค่าเบนซีน ค่าโทลูอีน ค่าเอทธิลเบนซีน ค่าเอ็ม พี-ไซลีน และค่าโอ-ไซลีน ระหว่างวันที่ 27 ม.ค. – 6 ก.พ. 65 โดยรวม มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
อยู่รหว่างรวบรวมข้อเสนอการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปจัดทำแผนฟื้นฟู
สรุปภาพกิจกรรมเพื่อสังคม ลงพื้นที่มอบ “ถุงห่วงใย”