ปทุมธานี – ชมรมอสรพิษวิทยาภาคกลางจัดอบรมอสรพิษวิทยาแบ่งปันครั้งที่ 1 ประจำจังหวัดปทุมธานี
*********************
เมื่อวันนี้ 13 กุมภาพันธ์ 2565 อาคารเอกประสงค์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.สามโคก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี นายนิรันดร์ ใจป้ำ นายกเทศมนตรีตำบลสามโคก เปิดงาน “การจัดอบรมอสรพิษวิทยาแบ่งปันครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดยชมรมอสรพิษวิทยาภาคกลางจังหวัดปทุมธานี มีนายายรฐา ตะเพียนทอง หัวหน้าทีม และครูฝึก ชมรมอสรพิษวิทยาภาคกลาง เป็นวิทยากรให้คำแนะนำ ซึ่งมีผู้มาร่วมอบรมกว่า 70 คนจากเจ้าหน้าที่จิตอาสาหลายหน่วยงานทั้งกู้ชีพ กู้ภัยและหน่วยงานของเทศบาล นายรฐา ตะเพียนทอง กล่าวเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการจัดการอบรมครั้งนี้
“เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจับงูที่ถูกต้องและปลอดภัยกับตัวเอง จากประสบการณ์ที่ได้อบรมมาการจับงูที่ปลอดภัย คือทำให้งูไม่บาดเจ็บและคนที่จับต้องปลอดภัยด้วย การจำแนกชนิดงูและ พ.ร.บ.ที่ทุกคนควรรู้มาให้ดูกันและงูที่มีความสำคัญทางการแพทย์ ถ้าโดนงูกัดแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง พร้อมคำแนะนำและต้องสาธิตเกี่ยวกับวิธีการต่างๆได้อย่างเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ ก็ยากจะฝากบอกประชาชนเกี่ยวกับปัญหางูเข้าบ้าน ให้แจ้งหน่วยงานโดยตรงของมูลนิธิต่างๆ หรือที่ 191 ก็จะประสานงานให้ทุกคนที่เป็นจิตอาสาด้วยใจเข้าไปดำเนินงาน อยากฝากประชาชนช่วยเฝ้างูไว้อย่าให้คราดสายตาและดูว่างูอยู่บริเวณไหนเพื่อง่ายและรวดเร็วต่อการเข้าช่วยเหลือ
รวมทั้งได้จัดการสอนเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนงูกัด เมื่อมีประชาชนโดนงูกัดเราจะปฐมพยาบาลยังไงเพื่อจะยืดชีวิตของประชาชนที่ประสบเหตุ ซึ่งงูที่นำมาจัดอบรมในวันนี้ มีทั้ง งูแสงอาทิตย์ งูเขียวหางไหม้ งูสิงหางลาย งูทางมะพร้าว งูเหลือม งูหลาม งูเห่าไทย งูเห่า งูสิงตาโต งูงอด งูเห่าชบา งูเห่าสีนวล ที่มีพิษและดุ นาย นิรุทธ์ ชมงาม (Nick Wildlife) ประธานโครงได้อธิบายเกี่ยวกับการจัดการอบรมต่างๆเพื่อช่วยบรรเทาปัญหางูเข้าบ้านที่เกิดขึ้นในทุกที่ การจับงู การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนงูกัด ซึ่งปัญหางูมีอยู่ทุกวัน เป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงอะไร ตราบใดที่มีอาหาร มีน้ำ มีที่อยู่อาศัย ยังไงคนกับงูก็ต้องพบกัน โครงการอสรพิษวิทยา เลยเป็นคำตอบและทีมงานตั้งใจจะสร้างขึ้นมาแค่บรรเทาปัญหาเหล่านี้ และแนวทางของเรามีดังนี้
1.สร้างความเข้าใจว่าทำไมงูถึงเข้าบ้าน แนะนำให้รู้จักชนิด รู้จักวิธีป้องกัน วิธีปฏิบัติเมื่องูเข้าบ้าน
2.สร้างเครือข่ายเจ้าหน้าที่ของอสรพิษวิทยาให้ครอบคลุมจุดต่างๆของประเทศ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเวลามีคนติดต่อเข้ามา
3.สร้างการแบ่งปัน โดยการนำความรู้และทักษะที่มี นำไปอบรมถ่ายทอดเพิ่มเสริมศักยภาพ ให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือการบรรยายให้ความรู้ตามสถานศึกษาต่างๆ
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน