GC จับมือสวนพฤกษศาสตร์ระยอง มุ่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (low carbon destination) เส้นทางแห่งความสุขแห่งใหม่ของจังหวัดระยอง

GC จับมือสวนพฤกษศาสตร์ระยอง มุ่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (low carbon destination) เส้นทางแห่งความสุขแห่งใหม่ของจังหวัดระยอง

 

งานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สวนพฤกษศาสตร์ระยอง จังหวัดระยอง ที่ผ่านมา บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับสวนพฤกษศาสตร์ระยอง พันธมิตร และเครือข่าย ได้สนับสนุนการจัดงานวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ และกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ โดยมีคุณชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในพิธี

งานนี้ GC และสวนพฤกษศาสตร์ระยอง ได้จัดกิจกรรมต่อยอดความร่วมมือพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์ระยองให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low carbon destination) เพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโลกร้อน ผ่านกิจกรรมกีฬาและการท่องเที่ยวเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบ โดยการแข่งขันแรลลี่เรียนรู้ธรรมชาติพื้นที่ชุ่มน้ำทางน้ำ และการแข่งขันพายคายัคด้วย โดย GC ได้สนับสนุนเงินรางวัลการแข่งขัน และเรือคายัคจากเม็ดพลาสติกของ GC ที่ขึ้นรูปด้วยเทคนิคไร้รอยเชื่อมต่อ ทำให้มีน้ำหนักเบา สีสันสวยงาม ใช้งานง่าย เหมาะกับกิจกรรมท่องเที่ยวชมธรรมชาติทางน้ำ ซึ่งในครั้งนี้มีพนักงานจิตอาสาจาก GC กว่า 20 คน มาเข้าร่วมแข่งขันในกิจกรรมพายคายัคเพื่อสร้างสีสันให้กับงานด้วย

เพื่อให้เกิดสังคมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างครบวงจรและยั่งยืน GC ก็ได้สนับสนุน YOUเทิร์น Drop Point จุดรับขยะพลาสติกสะอาด เพื่อส่งเสริมการจัดการและคัดแยกขยะพลาสติกในแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้กับทางสวนพฤกษศาสตร์ระยองด้วย โดยพลาสติกเหล่านี้จะถูกนำกลับไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling เช่น กระเป๋า เสื้อผ้า หมวก เป็นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ด้วยแนวทางการดำเนินงานของ GC ที่มุ่งหมายจะสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนและสังคม รวมถึงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ ความร่วมมือเพื่อพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์ระยอง ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดใหญ่ของชาวระยอง อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ และพืชพรรณมากมาย เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่สำคัญ จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

 

Related posts