สระบุรี – ประชุมปัจฉิมนิเทศ งานสำรวจ ออกแบบ โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย ระยะ ที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

สระบุรี – ประชุมปัจฉิมนิเทศ งานสำรวจ ออกแบบ โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย ระยะ ที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 
วันทึ่ 21 ตุลาคม 2567 ที่โรงแรมลีลาวดีรีสอร์ท ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี นายวัฒนพงษ์ พงศ์กิจจาเลิศ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี เปิดการประชุมปัจฉิม นิเทศ เวทีที่ 1 งานจ้างสำรวจ ออกแบบ โครงการ คลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย ระยะที่ 2
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้แทนจากส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ใช้น้ำ สภาเกษตรตรกร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากพื้นที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี เข้า ร่วมประชุมสำหรับโครงการคลองระบายน้ำหลาก ป่าสัก-อ่าวไทย ระยะที่ 2 นั้น สืบเนื่องจากปัญหา อุทกภัยซ้ำซากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากมี ฝนตกปริมาณมากเกินศักยภาพการก๊กเก็บและ
ระบบระบายน้ำของคลองชลประทานฝั่งตะวันออกรวมทั้งเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ปี 2554

 

ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ที่อยู่อาศัยแหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยวมีมูลค่ากว่า 1.42 ล้านล้านบาทเพื่อบรรเทาปัญหา ดังกล่าวที่เกิดขึ้นกรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการตามแผนงานบรรเทาอุทภภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอน ล่าง ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560 ซึ่งแผนงานคลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก เป็น 1 ใน 9 แผนงานบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง มีแผนงานย่อย คือ การปรับปรุงคลองชัยนาท-ป้าสัก ร่วมกับการขุดคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย เป็นคลองชุดใหม่ เริ่มต้นจากแม่น้ำป่าสัก ในพื้นที่ตำบลเริงราง อำเภอเสาให้ จังหวัดสระบุรี ผ่านเขตพื้นที่จังหวัดพระนครอยุธยาปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ มีความยาวรวม 135 55 กม.ในปี 2564 – 2566 ได้ดำเนินงานสำรวจออกแบบโครงการ ฯ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ กม.81+000ถึงสิ้นสุดทะเลอ่าวไทย ที่ กม. 135 + 555

 

ระยะทาง 54.55 กม. แล้วเสร็จ ต่อมาในปี 2565 -2567 ได้มอบหมายกลุ่มกิจการร่วมค้า STFIS JVให้ดำเนินงานสำรวจออกแบบ โครงการคลองระบายน้ำหลากป่าสัก-อ่าวไทย ระยะที่ 2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่ กม.0+000 ในเขตอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีไปถึง กม. 81+000 ในเขต
อำเภอบางน้ำเปรี้ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา ความยาว81 กิโลเมตร และคาดว่าจะดำเนินงานแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้ เมื่อโครงการ
ดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยลดการเกิดปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในที่ลุ่มน้ำเจ้าพะยาฝั่งตะวันออกสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งชาวไทยและขาวต่างชาติ เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อเกษตร การอุปโภค-บริโภค

 

นอกจากนี้ยังมีถนนเลียบคลองทั้งสองข้างทำให้มีความสะดวกมากขึ้นในการเดินทาง การขนส่งผลผลิตทางการกที่รวดเร็วขึ้น ส่งสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในพื้นที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ใกล้เคียง สร้างความมั่นใจในการลงทุนและการพัฒนาศักยภาพพื้นที่อีกด้วย
สำหรับการประชุมปัจฉิมนิเทศ เพื่อนำเสนอสรุปผลการดำเนินงานสำรวจออกแบบของโครงการให้กับหน่วยงานต่าง ๆผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนที่สนใจได้รับทราบ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานสำรวจออกแบบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำ สภาเกษตรกร และผู้ที่สนใจในโครงการ ฯ จากพื้นที่จังหวัดสระบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปทุมธานี
********
กฤษฎา สมมาตร
รายงาน

Related posts