งาน ESG Symposium 2024 : Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส

งาน ESG Symposium 2024 : Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส

 

 

วันที่ 30 กันยายน 2567 นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ร่วมปาฐกถาในนามสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ ทีมสระบุรี งาน ESG Symposium 2024 : Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยนยิ่งเพิ่มโอกาส

โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าร่วมงานและกล่าวว่า
“ข้อเสนอในวันนี้ รัฐบาลจะรับไป สิ่งใดที่สามารถทำได้จะประสานงานโดยเร็ว สิ่งใดต้องการความร่วมมือกับส่วนที่เกี่ยวข้อง เรา ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน นอกจากสิ่งที่รัฐจะทำแล้ว ภาคธุรกิจเองจะต้องปรับตัว แสวงหาโอกาส และเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อเป้าหมาย Net Zero โดยบูรณาการมาตรการเพื่อความยั่งยืน หรือ ESG เพื่อสร้างการเติบโต ที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน เราทุกคนจะร่วมกันเปลี่ยนความท้าทาย แรงกดดัน และ ข้อจำกัด เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือหัวใจแห่งความสำเร็จรัฐบาลจะเร่งขับเคลื่อนทุกๆ นโยบายสำคัญ

เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่การเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”พร้อมด้วยนางจิตตินันท์ เชาวรินทร์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี,นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี,ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย คณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน,รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุน,นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ,ดร.ภานุวัฒน์ คำใสย เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต

ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,คุณปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตราแพ้ค คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย,คุณสุชัย กอประเสริฐศรี นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย,
นางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรีเข้าร่วม

จากวิกฤตโลกเดือดที่ทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบในทุกมิติการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero กลายเป็นภารกิจร่วมกันของคนทั้งโลกองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดว่า โลกจะร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียสในปี 2027 ซึ่งปัจจุบันอุณหภูมิของโลกขึ้นไปที่ 1.42 องศาเซลเซียสแล้ว สาเหตุสำคัญคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในภาคพลังงานภาคการคมนาคมขนส่ง และภาคอุตสาหกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งใหญ่กำลังส่งผลกระทบอย่างหนักทั่วโลกโดยในการประชุม COP28 มีบทสรุปสำคัญว่า โลกจะเปลี่ยนผ่านพร้อมเรียกร้องข้อตกลงให้ทุกประเทศลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล อีกทั้งเกิดการระดมทุนมากกว่า 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านความท้าทายของการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำในประเทศไทย ได้แก่ มาตรการ Taxonomy และ CBAM เป็นต้น ซึ่งกระทบต่อภาคการผลิต นำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนแม้ผู้ประกอบการทุกระดับเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ แต่ยังทำได้ล่าช้าเนื่องจากวิกฤตด้านพลังงาน เงินเฟ้อ เศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงยังขาดแคลนเงินทุนเทคโนโลยี และองค์ความรู้อีกจำนวนมาก นอกจากนี้เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปหันมาให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเนื่องจากได้รับผลกระทบที่รุนแรงขึ้น เช่น อากาศแปรปรวน มลพิษ เป็นต้น

ESG Symposium 2024
เป็นเวทีระดับประเทศที่มุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ระดมความคิดเห็นและแนวทางการดำเนินงานด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากไทย อาเซียน และระดับโลกเพื่อหาแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน
นายบัญชา เชาวรินทร์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า
เพื่อให้การทำงานในรูปแบบความร่วมมือ PPP (Public – Pirvate – People-Partnership)เกิดความชัดเจน ทุกฝ่ายได้ร่วมกันคิด วางแผน และกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงาน จังหวัดสระบุรี จึงได้มีประกาศแต่งตั้งที่ปรึกษารวมทั้งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำจำนวน 9 คณะ โดยที่ปรึกษาและคณะทำงาน เป็นการบูรณาการเพื่อให้เกิดความร่วมมือจาก 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคศาสนา ภาคประชาสังคมภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน

โดยเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่าภายในปี พ.ศ. 2570 มาจากการดำเนินการใน 5 มิติหลัก ได้แก่1.กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 3.5 ล้านตันฯ
2.การเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด จำนวน 1.47 ล้านตันฯ
3.การบริหารจัดการของเสีย จำนวน 9,500 ตันฯ
4.การเกษตรคาร์บอนต่ำ จำนวน 500 ตันฯ
และมิติที่ 5 ซึ่งเป็นการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะช่วยดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จำนวน 20,000 ตันฯ
โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จังหวัดสระบุรีได้ประสานความร่วมมือในการทำงาน กับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานในทุกมิติ ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการโดยจังหวัดสระบุรีพร้อมที่จะเป็นจังหวัดนำร่องในการทดลองใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัย ของหน่วยงานต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยี นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการทดลอง มาปรับใช้ในพื้นที่ และขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆเพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

สำหรับมิติที่ 1 การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
-จังหวัดสระบุรีได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงพร้อมทั้งประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือด้านการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพริ้นซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ในการศึกษาศักยภาพของพื้นที่จังหวัดสระบุรีสำหรับการผลิตและติดตั้งพลังงานสะอาดจากลมและแสงอาทิตย์
-ร่วมมือกับ กฟภ. ในการดำเนินโครงการ Solar Carport เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ภายใน ศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี
-ติดตั้ง Solar Cell เพื่อผลิตพลังงานใช้ในที่ว่าการอำเภอ
-ร่วมมือกับ กฟผ. ในการศึกษาผลกระทบรูปแบบ และแนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ เพื่อไม่ให้กระทบเสถียรภาพและความมั่นคง

ด้านพลังงาน
-ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่การติดตั้งระบบพลังงานทดแทน (Solar Floating, Solar Farm)
นอกจากนี้จังหวัดสระบุรี ยังได้ร่วมมือกับบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ในการติดตั้งสถานี EV Charger ขนาดใหญ่ในพื้นที่ เป็นต้น
2. มิติกระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์โดยการดำเนินการในมิตินี้จะมุ่งเน้นการดำเนินในกลุ่มผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก ทั้งในส่วนของ
– การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตปูนซิเมนต์ จากปูนซิเมนต์ปอร์ดแลนด์ (OPC)
เป็นปูนซิเมนต์ไฮครอลิก หรือปูนลด โลกร้อน พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้ปูนซิเมนต์ลดโลกร้อนในโครงการก่อสร้างของหน่วยงานภาคราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
-การปรับเปลี่ยนระบบการขนส่งในภาคอุตสาหกรรม
-การส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานเพื่อใช้ทนแทนพลังานจากฟอสซิล
-การส่งเสริมและผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industrys
– รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ และพื้นที่ทำเหมือง


3. มิติเกษตรคาร์บอนต่ำ
มุ่งเน้นการดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และวิธีการปลูกข้าวของเกษตรกรตามโครงการนาเปียกสลับแห้ง ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ดำเนินการหนึ่งพันหนึ่งร้อยไร่เศษ โดยผลผลิตที่ได้จากการทำนาเปียกสลับแห้งนำมาผลิตเป็นข้าวรักษ์โลกสระบุรี เพื่อจำหน่าย
โดยจังหวัดสระบุรี
-มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ดำเนินการให้ได้อย่างน้อย 2,000 ไร่ ในปี พ.ศ. 2569
-การรวบรวมกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ กลุ่มผู้ใช้น้ำ รวมไปถึงการเรียนรู้ และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บข้อมูล
-เชื่อมโยง Supply Chain (ภาคเอกชน โรงสี พ่อค้าผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว)เพื่อสร้างโอกาสและขยายตลาดทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
-การวิจัยสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในการทำนาเปียกสลับแห้ง
4. มิติการบริหารจัดการของเสีย
– จังหวัดสระบุรีมีการบริหารจัดการขยะตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ผ่านแผนปฏิบัติการ จัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยการบริหารจัดการขยะต้นทางตามโครงการธนาคารขยะ และถังขยะเปียกลดโลกร้อน โดยในรอบการประเมินที่ผ่านมา อบก. ได้รับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตจากโครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนของจังหวัดสระบุรี จำนวน 3,495 ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า คิดเป็นมูลค่าต้นละ 280 บาท เป็นเงินเก้าแสนบาทเศษ
-ด้านการขยายผลและเทคโนโลยี จังหวัดสระบุรีร่วมมือกับ วว. ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการของเสียต้นทางจนถึงปลายทางภายใต้ตามโครงการตาลเดี่ยวโมเดลซึ่งต่อยอดมาจากโครงการธนาคารขยะ และขยายผลการดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 8 แห่ง (6 โรงเรียน 1 วัดและ 1 ห้างสรรพสินค้า)
-นอกจากนี้จังหวัดสระบุรีโดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ได้หารือร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดำเนินโครงการโรงเรียนไร้ขยะ โดยการจับคู่ผู้ประกอบการภาคเอกชน กับโรงเรียน เพื่อบริหารจัดการขยะ ในลักษณะของการทำโครงการ CSR โดยการบริหารจัดการของเสียในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ประชาชนในพื้นที่จะต้องมีรายได้ และได้รับประโยชน์จากการดำเนินการ (กองทุนสวัสดิการชุมชน , ทุนการศึกษา , สิ่งของสนับสนุนสำหรับกลุ่มเปราะบาง)
มิติที่ 5 ได้แก่ ด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
– จังหวัดสระบุรีมีเป้าหมายในการดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.การยกระดับป่าชุมชน 38 ป่า + 7 ป่า รวม 45 ป่า คิดเป็นพื้นที่ 15,000 ไร่
2.การอนุรักษ์พื้นที่ป่าเดิม 500,000 ไร่
และ 3. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่นอกป่า (พื้นที่เกษตร สปก. บ้าน วัด โรงเรียน) จำนวน 10,000 ไร่ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าให้กับชุมชน เด็กและเยาวชนรวมถึงประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้รับจากการดำเนินการ
-การเชิญชวนภาคเอกชนสนับสนุนป่าชุมชน (CSR / ประโยชน์ด้านคาร์บอนเครดิต /
สิทธิประโยชน์ทางภาษี)
ทั้งนี้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว นอกจากจะได้พื้นที่ป่าเพื่อดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกแล้วประชาชน และชุมชน จะต้องมีกิน มีใช้ และมีรายได้จากการดำเนินการ ทั้งในส่วนของการปลูกพืชกินได้การจำหน่ายผลผลิตที่ได้จากป่าชุมชน การขายคาร์บอนเครดิต และรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในพื้นที่ป่า เป็นต้น ซึ่งหากประชาชนและชุมชนมีกิน มีใช้ และมีรายได้ ประชาชนและชุมชนจะช่วยกันอนุรักษ์และดูแลป่าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
จากที่ได้นำเรียนว่าโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนการทำงานจากหลายภาคส่วน ดังนั้น ผมจึงได้มีหลักสำคัญในการทำงานร่วมกัน 4 ข้อ ได้แก่
1.”ทำทันที”
2.”ไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูก” (สามารถปรับการทำงานได้ตลอดเวลาตามแนวทางของแซนด์บ็อกซ์)
3.”เห็นต่างได้ แต่ห้ามขัดแย้ง” (การทำงานร่วมกันหลายฝ่าย อาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเพราะฉะนั้นจึงต้องหาข้อสรุปและแนวทางที่เหมาะสมร่วมกันเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล)
4.ทำโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซีต้อง “ยิ้ม” (เพื่อลดความเครียด/ความกดดัน และเกิดความสนุกในการทำงานร่วมกัน)ซึ่งหากทุกภาคส่วนมีเป้าหมาย และหลักในการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้การขับเคลื่อนโครงการสระบุรีแซนด์บ๊อกซ์ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน และสามารถเป็นตัวอย่างให้จังหวัดและหน่วยงานอื่นๆ นำไปเป็นแนวทางในการทำงานในพื้นที่ได้ในอนาคต

*******
กฤษฎา สมมาตร
รายงาน

Related posts