กรรมาธิการวุฒิสภา”ยัน” พรบ.ประชามติ 2 ชั้น ค้านไม่เอาเงื่อนไขการเลือกตั้ง อบจ.เงื่อนไขรับฟังประชามติ ปชช. ทางออกตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา

กรรมาธิการวุฒิสภา”ยัน” พรบ.ประชามติ 2 ชั้น ค้านไม่เอาเงื่อนไขการเลือกตั้ง อบจ.เงื่อนไขรับฟังประชามติ ปชช. ทางออกตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา

 

นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เปิดเผยว่า จากการประชุมนัดสุดท้ายของ สว.ในการพิจารณา พรบ.ประชามติ ยังมีหลายประเด็นที่คณะกรรมาธิการพบว่าจำเป็นต้องมีการทบทวนแก้ไข จึงไม่ควรเอาเงื่อนไขของเวลาการเลือกตั้ง อบจ.ในเดือน ก.พ.68 เป็นเงื่อนไขในการรับฟังประชามติประชาชนได้ โดยเหตุผลประหยัดงบประมาณ
นายไชยยงค์ฯ ยังเปิดเผยว่า มีถ้วนคำฟุ่มเฟื่อย และมาตรา 13 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ พรบ.ประชามติ หากปล่อยไปโดยไม่มีการทบทวนหรือแก้ไขจะเป็นปัญหาตามมา เนื่องจากต้องนำไปใช้กับโครงการใหญ่ที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประโยชน์ของประเทศ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ โครงการก่อสร้างเขื่อน ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน บ่อนกาสิโน โรงงานกำจัดขยะ
“ในการแก้การออกเสียงประชามติเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเป็นผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนดังนั้น หากกำหนดให้การออกเสียงประชามติถือเอาเพียงเสียงข้างมากของผู้ออกเสียงอาจจะไม่สามารถสะท้อนความเห็นหรือเจตจำนงที่แท้จจริงของประชาชนทั้งประเทศได้”


นายไชยยงค์ฯ นังเปิดเผยต่ออีกว่า แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดให้การทำประชามติทุกเรื่องไม่ว่าเรื่องเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ต้องใช้เกณฑ์เสียงเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้นทั้งหมดกับทุกกรณี ก็อาจจะเป็นเคร่งครัดจนเกินไป อาจทำให้การออกเสียงประชามติเรื่องอื่นๆ เกิดขึ้นได้ยาก เช่นการจัดโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน การจัดคาสิโน การทำเหมืองแร่ จึงเห็นสมควรกำหนดคะแนนเสียงที่จะถือว่าเป็นข้อยุติในการออกเสียงเป็น 2 รูปแบบ โดยเทียบเคียงการจำแนกรูปแบบการออกเสียงตามมาตรา 9 มาตรา 30 และมาตรา 31
นายไชยยงค์ฯ เปิดเผยอีกว่า รูปแบบที่ 1 การออกเสียงเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญตามมาตรา 9 (1)และ(2) ซึ่งเป็นผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงควรใช้เกณฑ์คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้นตามกฎหมายปัจจุบัน
“รู้ปแบบที่ 2 การออกเสียงกรณีคณะรัฐมนตรีเห็นสมควร หรือตามที่กฎหมายกำหนด หรือรัฐสภาเห็นสมควร หรือประชาชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 9 (2 ) (3 )(4 )และ(5 )สามารถผ่อนคลายจำนวนที่จะถือว่าได้ข้อยุติจากเกณฑ์คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง 2 ชั้น เป็นคะแนนเสียงข้างมากธรรมดาได้ จึงให้มีการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภาเพื่อหาทางออก ส่วนมาตราอื่นๆนั้นแก้ไขคำที่ฟุ่มเฟือยเท่านั้น”

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา
//////

 

Related posts