GULF นำยุทธศาสตร์ “ เมืองจุลินทรีย์ “ร่วมแก้ปัญหาขยะล้นเมืองระยอง สร้างศูนย์ธนาคารจุลินทรีย์ (ฐานชีวภาพ) ขับเคลื่อนโครงการ “ ระยองไม่เทรวม “
วันที่ 26 ก.ย.67 ณ ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง นายณัฐศักย์ ดีศรี ท้องถิ่น จ.ระยอง (ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง) นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายก อบจ.ระยอง (ผู้แทนนายก อบจ.ระยอง) นางยุวพรรณ ทับแก้ว ปลัดอำเภอบ้านฉาง (ผู้แทนนายอำเภอบ้านฉาง) ดร.อบรม อรัญพฤกษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเมืองน่าอยู่ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช. ผอ. ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ กลุ่ม บ.กัลฟ์ ( อดีตอาจารย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าฯลาดกระบัง) นายภูวิศธรณ์ เลิศวีระศิริกุล ผจก. ฝ่ายบริหาร ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ บ้านฉาง และ นายจรัญ จันทร์มณี ผู้นำกลุ่มสื่อมวลชนและ ทสม. ในการขับเคลื่อนโครงการร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ‘ระยองไม่เทรวม’ เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ สิ่งแวดล้อมเมืองระยองยั่งยืน ซึ่งด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ที่ตระหนักถึงปัญหาขยะเปียกเศษอาหารครัวเรือนที่ล้นเมืองเป็นปัญหาการจัดการและก่อมลภาวะต่อสื่งแวดล้อมและชุมชนในปัจจุบัน จึงร่วมมือกันจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีนโยบายทั้งภาครัฐ อบจ.และท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกลไกในการจัดการร่วมกันกับภาคประชาชนเพิ่มเติมจากการที่มีการจัดการอยู่แล้ว
สำหรับ กลุ่มภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และภาคเอกชน (CSR) นำโดย นายจรัญ จันทร์มณี สื่อZoomRayong และดร.อบรม อรัญพฤกษ์ นักวิชาการ และโรบินสัน ไลฟ์ไสตล์บ้านฉาง ประสานร่วมกันขับเคลื่อนจากฐานล่างระดับชุมชน ได้การสนับสนุนจากนักวิชาการจากภาคเอกชน กลุ่มบริษัทกัลฟ์ และบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 นำโดย ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ผช.ผอ.ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ (อดีตอาจารย์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านนวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (ฐานชีวภาพ) ได้นำเสนอ ยุทธศาสตร์ “ เมืองจุลินทรีย์ “ ในการร่วมแก้ปัญหาขยะอินทรีย์เศษอาหารจากครัวเครือน ซึ่งได้นำเสนอวีดีโอกระบวนการจัดการขยะชุมชน ที่เป็นต้นแบบที่ทำได้สำเร็จแล้ว กว่า 15 ปี จนชุมชนมีขยะครัวเรือนเศษอาหารเป็นศูนย์ ไม่มีออกนอกชุมชนเลยและแปรเป็นปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ต่างๆ มานำเสนอให้ชมประกอบการนำเสนอนวัตกรรมจัดการขยะฯ และ ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 22 กันยายน 2567 จัดโครงการ “ อบรมองค์ความรู้ และจัดตั้งธนาคารจุลินทรีย์ ฯ “ ขึ้น ที่ สวนป้านุลุงไก่เกษตรอินทรีย์ ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เป็นการสร้างองค์ความรู้และเพื่อสร้างศูนย์จัดการขยะต้นแบบนำร่องในจังหวัดระยอง และจะขยายสู่ชุมชนต่างๆ เพื่อรองรับนโยบายของภาคราชการท้องถิ่น เพื่อเป็นระบบรองรับ ขยะจากครัวเรือนและชุมชน ซึ่งจะทำให้การแยกขยะมีประสิทธิภาพ และ ไม่ต้องนำไปรวมกับการจัดเก็บของเทศบาล อบจ. ที่เป็นปัญหาว่า “ แยกแล้ว เวลาเทศบาลมาเก็บหรือกลุ่มคนมาเก็บขยะก็นำไปปะปนกันอยู่ดี “ เป็นปัญหาเชิงกลไกการจัดเก็บ
นอกจากนั้น ดร.กฤษณ์ ยังเสนอว่า “ การแก้ปัญหาขยะอินทรีย์ นั้นเราจำเป็นต้องย้อนกลับไปที่ต้นตอสาเหตุและวิเคราะห์ว่าตัวปัญหาคือขยะนั้น คือ “ขยะอินทรีย์” อยู่ในระบบชีวภาพ (ฐานชีวภาพ)โดยธรรมชาติจะเกิดการย่อยสลายโดย จุลินทรีย์ (หลายชนิด ) เมื่อเรานำขยะจากครัวเรือนจำนวนเป็น1,000 ตัน ไปกองรวมกลบฝังมันจะย่อยไม่ทันและจุลินทรีย์ที่ก่อโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดก๊าซไข่เน่าเกิดเน่าเหม็น นำมาสู่มลภาวะ ก่อเกิดเชื้อโรค กำจัดไม่ทัน ฯลฯ เป็นต้น ดังนั้น หากเราสามารถให้ชุมชนแยกขยะครัวเรือนหนึ่งๆ มีขยะเปียกเศษอาหาร ไม่กี่กิโลกรัม หากใช้ องค์ความรู้สู่ชุมชนสามารถใช้กระบวนการหมักแบบชีวภาพที่เหมาะสม ตั้งแต่ 1-2 วันแรก ขยะจะเข้าสู่กระบวนการหมักแบบปิดจะไม่มีกลิ่น แปรรูปเป็นปุ๋ยชีวภาพ ตั้งแต่วันที่ 3 และ ครบ 7 วัน เทออกมาจากถัง มันจะแปสภาพเป็นปุ๋ยคุณภาพ ผึ่งให้หมาดหรือแห้ง บรรจุถุงนำไปใช้ได้ทันที่ “ จะเปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ “ และนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ นานาชนิดด้วยกรรมวิธีผสมผสานด้านจุลินทรีย์ชีวภาพ ทั้งฮอล์โมนพืชชนิดต่างๆ ปุ๋ย อีเอ็มบอลบำบัดน้ำเสีย น้ำยาซักผ้า อาบน้ำ ล้างจาน ล้างรถ สเปร์ฉีดอับชื้น ปรับอากาศ บ่อเกอะ เลี้ยงปลา ปศุสัตว์ ฯลฯ รักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูภูเขาจุลินทรีย์ แม่น้ำลำคลองจุลินทรีย์ ท่อน้ำทิ้งบ่อน้ำเสีย ป่าชายเลน ทะเล ปะการัง ดูแลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและสุขภาพ ฯลฯ เป็นที่มาที่ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ตั้งชื่อว่า “ ยุทธศาสตร์เมืองจุลินทรีย์ ฯ”
ซึ่งแนวคิดนี้ จะสามารถเปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์ ดูแลฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ มีแหล่งปุ๋ยที่หาง่ายมีคุณภาพราคาจะต่ำลดต้นทุนเกษตรกรด้วย ชุมชน หรือ กลุ่มต่างๆ ที่เป็นศูนย์ธนาคารจุลินทรีย์ จะมีผลิตภัณฑ์สร้างงาน อาชีพให้กับชุมชนลดปัญหาแบ่งเบาภาระการจัดการของเมืองและลดขยะที่ล้นเมือง ซึ่งกลไกสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จคือ ภาคจังหวัด อบจ. ท้องถิ่น ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนจังหวัด มีงบประมาณจากการจัดการขยะ และการดูแลสิ่งแวดล้อม หรือ งบประมาณ ท้องถิ่น อบต.เทศบาลต่างๆ ร่วมกัน สร้างกลไกระบบแยกขยะ ผ่านระบบการผลิตที่เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการให้ชุมชนผลิตได้และมีกลไกการรับซื้อ ผลิตภัณฑ์ (สร้างคุณค่า มูลค่า ราคา ) แก่ขยะ จะเกิดระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ หรือ ออกแบบ ระบบสวัสดิการชุมชน ส่งเสริมการตลาดเพื่อให้ศูนย์ชุมชนดำเนินการต่อเนื่องและสามารถสร้างงาน อาชีพ รายได้ แก่ชุมชนควบคู่กันไป กับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ดังกล่าวข้างต้น เป็นไฮไลท์ ส่วนหนึ่งของการแถลงข่าวในวันนี้ และได้เห็นกระบวนการวิธีการนำขยะมาผ่านกระบวนการจุลินทรีย์ เป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง มีตัวอย่างให้ชมอย่างเป็นรูปธรรม และได้สร้างมิติแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน และ ทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วนได้ตื่นตัว ในการร่วมมือที่จะขับเคลื่อนร่วมกันแล้ว ซึ่งเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากทั้งภาคส่วนจังหวัดราชการท้องถิ่น และภาคประชาชน กำลังจะพัฒนาสู่กลไกความร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ และจะก้าวไปสู่เป้าหมายได้ต่อไป
นอกจากนั้น มีอีกหลายองค์กรในภาค CSR ภาคธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว ร้านอาหาร สนใจจะเข้าร่วมโครงการฯ หากเราเดินต่อไปไม่หยุดความสำเร็จคงจะอยู่ไม่ไกล และอาจเป็นต้นแบบแห่งหนึ่งให้กับจังหวัดต่างๆจำนวนมาก กำลังประสบปัญหา “ขยะครัวเรือนเศษอาหารล้นเมืองในปัจจุบัน” และ โครงการนี้ เป็นการช่วยลดโลกร้อนและโลกเดือด สังคมคาร์บอนต่ำ ได้ด้วย เป็นสังคมที่น่าอยู่ และมีสิ่งแวดล้อมที่ดียั่งยืนได้ต่อไป ขอขอบคุณทุกภาคส่วน ทั้งนี้เพื่อเมืองระยองของเรา