นครนายก-โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน  รุ่นที่ 2  ภาคกลาง  

นครนายก-โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน  รุ่นที่ 2  ภาคกลาง  

 

เมื่อวันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมชลพฤกษ์ รีสอร์ท ต.บ้านพร้าว อ.บ้านนา  จ.นครนายก นางสาวจันทนา  พิริยะขจร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานโครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนรุ่นที่ 2  ภาคกลาง ระหว่างวันที่ 29 – 31 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย / กรรมการภาคกลาง ผู้แทนจากตำรวจภูธรภาค 1 ตำรวจภูธรภาคภาค 7 และ ตำรวจนครบาลอุดมสุข ผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุข ทั้ง 18 จังหวัดภาคกลาง ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนจากหน่วยงานสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านปรือใหญ่จังหวัดศรีสะเกษ สถานคุ้มครองบ้านกึ่งวิถีชายปทุมธานี สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญญบุรีปทุมธานี  และผู้มีเกียรติร่วมงาน

 

นางสาวจันทนา  พิริยะขจร พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครนายก กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตและการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ต้องการให้ผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน ได้รับความรู้ มีความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิด้านต่างๆ สำหรับคนพิการ โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง และการฆ่าตัวตาย รวมทั้ง เน้นให้เห็นความสำคัญของครอบครัว เพื่อลดความรุนแรง รวมทั้งเพื่อให้ได้แนวทางและขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

 

น.ส.ฐิติพร  พริ้งเพลิด  อุปนายกสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิต  แห่งประเทศไทย คนที่ 2   กล่าวว่า โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิต และการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในวันนี้  จัดขึ้น เพื่อให้เกิดแกนนำเครือข่ายภาคปฏิบัติ ที่มีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตเมื่ออยู่ในภาวะต่างๆได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และทันเหตุการณ์เพื่อให้ได้แนวทาง และขั้นตอนในการให้ความช่วยเหลือคนพิการทางจิตอย่างถูกวิธี  ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต  และ   พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  จากการทำแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่และส่วนกลาง

   

ทั้งนี้ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย  ก่อตั้งเมื่อวันที่  27 มีนาคม  2546 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา  21 ปีการจัดโครงการฯในวันนี้ จะดำเนินการระหว่างวันที่  29 – 31 กรกฎาคม 2567
โดยจะมีการจัดกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 5 รุ่น แบ่งเป็น รุ่นที่ 1 ภาคเหนือ จำนวน 140 คน รุ่นที่ 2 ภาคกลาง จำนวน 139 คน รุ่นที่ 3 ภาคอีสาน จำนวน 154 คน รุ่นที่ 4 ภาคใต้ จำนวน 117 คน  และรุ่นที่ 5 ภาคตะวันออก จำนวน 76 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งโครงการจำนวน 626 คน กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 ภาคกลาง มาจากคณะกรรมการภาคกลางหรือผู้แทน กรรมการและกรรมการที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน  ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทย  ที่ปรึกษาสมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตภาคกลาง ผู้แทนตำตรวจภูธรภาค 1 และภาค 7 ทั้ง 18 จังหวัดภาคกลาง ผู้แทนจากหน่วยงานสาธารณสุขทั้ง 18 จังหวัด  ผู้แทนจากกรมสุขภาพจิต ผู้แทนจากหน่วยงานสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งบ้านปรือใหญ่จังหวัดศรีสะเกษ  สถานคุ้มครองบ้านกึ่งวิถีชายปทุมธานี สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญญบุรีปทุมธานี ผู้สังเกตการณ์  วิทยากรและคณะทำงาน รวมจำนวน  139 คน

Related posts