อบจ.ระยอง ร่วมกับ ม.บูรพา จัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง 3 อปท.

อบจ.ระยอง ร่วมกับ ม.บูรพา จัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยง 3 อปท.

 

วันที่ 20 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่ ห้องประชุมเทศบาลตำบลปากน้ำประแส ต.ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง อบจ.ระยอง ร่วมกับ ม.บูรพา จัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 : โครงการศึกษาออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเทศบาลตำบลปากน้ำประแส -เทศบาลตำบลเนินฆ้อ – องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยมี นายประสานต์ พฤกษาชาติ รอง นายก อบจ.ระยอง เป็นประธานฯ พร้อม นายไชยรัตน์ เอื้อตระกูล นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำประแส นายเสรี เจริญรื่น นายเทศมนตรีตำบลวังหว้า และ หัวหน้าส่วนราชการ ภาคประชาชน เช้าร่วมงานโดยพร้อมเพรียง

1. เหตุผลและความจำเป็น
พื้นที่ตำบลปากน้ำประแส ตำบลเนินฆ้อและตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าชายเลนซึ่งมีระบบนิเวศคล้ายคลึงกัน และมีภูมิศาสตร์เป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย โดยเมื่ออดีตเคยเป็นเส้นทางการประพาสของพระมหากษัตริย์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งโปรงทอง, อนุสรณ์เรือรบหลวง
ประแส วัดตะเคียนงาม ศาลสมเด็จกรมหลวงชุมพร ถนนสายวัฒนธรรม บ้านเก่าริมน้ำประแส และสะพานรักษแสม เป็นต้น โดยศักยภาพที่สามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันได้ สามารถกำหนดให้มีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการฟื้นฟู การอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งมีศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ที่มีที่ตั้งสำนักงานอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากน้ำกระแสและเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและภารกิจในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้มีความสมบูรณ์และได้รับการจัดการใช้ประโยชน์ที่ถูกต้องและยั่งยืน

จากความจำเป็นดังกล่าว จังหวัดระยอง จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสถานที่ ที่มีความพร้อมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ที่เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการสร้างรายได้ของประเทศเป็นอย่างมาก โดยจัดทำเป็นแหล่งบริการด้านการท่องเที่ยวที่ประกอบไปด้วยที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ แต่จากทรัพยากรทางด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม
และประเพณีท้องถิ่น ที่ค่อนข้างมีขีดจำกัด จึงต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่ให้สามารถอยู่ร่วมกันระหว่างประชาชนในชุมชน ทรัพยากร และนักท่องเที่ยว ที่ต้องสมดุลและได้รับประโยชน์สูงสุดในทุกภาคส่วนเล็งเห็นถึงความสำคัญของประโยชน์หลายด้านที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่ตำบลปากน้ำกระแส ตำบลเนินฆ้อ และตำบลคลองปูน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย

 

ฝั่งตะวันออก ทั้งในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เชิงเศรษฐกิจ และเชิงประวัติศาสตร์ จึงมีแนวคิดที่จะศึกษาและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น กับเด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป รวมถึงสามารถสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวที่บูรณาการร่วมกันได้
ดังนั้น เพื่อให้พื้นที่ตำบลปากน้ำกระแส ตำบลเนินฆ้อ และตำบลคลองปูน สามารถพัฒนาให้เป็น แหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก รวมถึง
สร้างเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงและบูรณาการร่วมกันได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จึงต้องดำเนินการศึกษาออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเทศบาลตำบลปากน้ำประแส – เทศบาลตำบลเนินฆ้อ – องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวไปใช้ในการกำหนดรูปแบบและแนวทางการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดระยองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนต่อไป

 

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาและออกแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชื่อมโยงเทศบาลตำบลปากน้ำประแส -เทศบาลตำบลเนินฆ้อ – องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
2.2 เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส-เทศบาลตำบลเนินฆ้อ -องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
2.3 เพื่อศึกษาออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีความเชื่อมโยงระหว่างตำบลปากน้ำประแส -เทศบาลตำบลเนินฆ้อ – องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และบูรณาการร่วมกันกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
2.4 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน เอกชน ชุมชนและประชาชนร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของการพัฒนาพื้นที่ตำบลปากน้ำประแส-เทศบาลตำบลเนินฆ้อ -องค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

 

3. สาระสำคัญของโครงการ
การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองจึงเห็นควรให้ทุกภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทในการรู้ข้อมูลการดำเนินโครงการ จึงจัดประชุมแนะนำโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงความเป็นมาของโครงการ รายละเอียดโครงการ ลักษณะโครงการ และแนวทางการดำเนินการศึกษา
ให้กับประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังเป็นการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการรับฟังความคิดเห็นมาใช้ประกอบการศึกษา และการจัดทำรายงานฯ ให้ครบถ้วน
4. ผู้ดำเนินการ
1) เจ้าของโครงการ : องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
2) ผู้ศึกษาและจัดทำรายงานฯ : มหาวิทยาลัยบูรพา
5. สถานที่ดำเนินการ
เทศบาลตำบลปากน้ำประแส เทศบาลตำบลเนินฆ้อ และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองปูนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง
6. ระยะเวลาดำเนินการ
ภายใน 240 วัน นับจากวันเริ่มปฏิบัติงานตามสัญญา

Related posts