สกพอ. บูรณาการความร่วมมือสร้างการรับรู้ ผ่านเครือข่ายครูแกนนำ EEC ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 นางธัญรัตน์ อินทร รองเลขาธิการ สกพอ. สายงานพื้นที่และชุมชน ร่วมบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าการพัฒนา อีอีซี แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูแกนนำ EEC นำร่อง ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด ชลบุรี ระยอง ณ โรงเรียนบ้านบึง “อุตสาหกรรมนุเคราะห์” จังหวัดชลบุรี โดยมีนายนายจิรกร ฐาวิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยกิจกรรมดังกล่าว มุ่งเน้นให้ผู้อำนวยการและครูแกนนำของโรงเรียนทั้ง 51 โรงเรียนในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เป็นกลไกสำคัญและเป็นตัวแทนของ อีอีซี ในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้กับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เกี่ยวกับภารกิจและความก้าวหน้าของการดำเนินงานพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด อีอีซี
รวมถึงประโยชน์ที่เกิดจากการพัฒนา ทั้งด้านแศรษฐกิจและสังคม และส่วนสำคัญในการเตรียมความพร้อมพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาและนักเรียน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ สร้างความพร้อมและสร้างแรงบัลดาลใจให้กับเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ยังสามารถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวสู่เส้นทางอาชีพต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถวางแผนกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสมรรถนะและตำแหน่งงานที่จะเกิดขึ้นใน อีอีซี และสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังได้ระดมความคิดเห็นเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และแนวทาง จากกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน และกลุ่มครูแกนนำ EEC ให้เป็นอีกหนึ่งแกนนำในการสร้างการรับรู้และประโยชน์จากการพัฒนา อีอีซี สู่กลุ่มนักเรียน เยาวชน และชุมชน รวมถึงระดมความคิดเห็นแนวทางในการบูรณาการเพื่อจัดทำแผนการพัฒนาครู และนักเรียน รวมถึงชุมชน อีกด้วย
ถือเป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ ระหว่าง สกพอ. สถานศึกษา ครู และเยาวชน อย่างมีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงประโยนชน์จากการลงทุนสู่สถานศึกษาและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ สกพอ. ยังร่วมมือกับสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD
ในการเสริมทักษะครูแกนนำ EEC สร้างแรงบันดาลใจ ติดอาวุธ เสริมทักษะและเทคนิคการถ่ายทอด
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนา อีอีซี ตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้ เช่น Knowledge Mapping
การถ่ายทอดความรู้จากสิ่งรอบตัว การเชื่อมโยงความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษา บุคลากร และนักเรียน สามารถปรับตัวให้สอดรับการพัฒนาเมือง และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างยั่งยืน