สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง รับมอบเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ ตอกย้ำความใส่ใจและดำเนินงานธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง รับมอบเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ ตอกย้ำความใส่ใจและดำเนินงานธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
18 มกราคม 2567 – บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชั้นนำของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในโรงกลั่นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รับมอบเครดิตการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) หรือ ESG Credit จากโครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศแนวรั้วในรอบปี พ.ศ. 2566
ESG Credit เป็นการให้การรับรองโครงการและความริเริ่มที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ออกให้ในรูปของหน่วยเครดิต ESG จากสถาบันไทยพัฒน์ โดยประเมินจากขนาดของโครงการที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การลงทุนสีเขียว[1]
บมจ. สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) ได้รับ ESG Credit จำนวน 5,732,266 เครดิต ในปี 2566 จากการลงทุนสีเขียว ตามนิยามในเอกสาร Core SDG2indicators for entities ที่จัดทำโดย UNCTAD3 ในโครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศแนวรั้ว(Fenceline Air Quality Monitoring System Installation)
8
นายโรเบิร์ต โดบริค กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราภาคภูมิใจที่ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) อย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาจนได้รับการยอมรับ     SPRC เชื่อมั่นใน วิสัยทัศน์ของเราที่ระบุว่า ‘One Caring Family Energizing our Future,’ ซึ่งความใส่ใจของเรานี้ครอบคลุม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย เราภูมิใจในผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนที่เราสร้างขึ้นผ่านแนวคิด “เราทำทุกสิ่งด้วยความเอาใจใส่และรับผิดชอบ” จุดนี้รวมถึงการสร้างความปลอดภัยในที่ทำงานแก่พนักงานของเรา ให้มั่นใจว่าพวกเขาทุกคนจะสามารถเดินทางกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยทุกวัน อีกทั้งยังรวมถึงการสร้างโลกและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อชนรุ่นหลังและการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล
ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ ประธานสถาบันไทยพัฒน์ กล่าวว่า สถาบันฯ มีความยินดีที่ทาง บมจ. สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง ได้รับการรับรองเครดิต ESG จากโครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศแนวรั้ว ซึ่งมีส่วนในการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าที่ 12 การผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบ ในเป้าหมายที่ 12.4 ที่เป็นการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต ตามกรอบข้อตกลงระหว่างประเทศ รวมทั้งลดการปลดปล่อยสารเคมีและของเสียเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดิน ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อลดผลกระทบทางลบที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด
โครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณแนวรั้วรอบโรงงาน เริ่มศึกษาและดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เพื่อใช้เฝ้าระวังคุณภาพอากาศบริเวณรอบรั้วโรงงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยในการแจ้งเตือนเชิงรุก วางแผนแก้ไขปัญหาในเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศและลดการร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเพื่อกำหนดแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินที่จำเป็น และใช้ในการสื่อสารถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2566 โครงการติดตั้งระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณแนวรั้วรอบโรงงาน มีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 57.32 ล้านบาท
ระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณแนวรั้ว ประกอบด้วย ระบบตรวจวัดสารมลพิษทางอากาศจากปล่องระบายแบบต่อเนื่อง ระบบตรวจวัดด้านอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งนำเข้าแบบจำลองการกระจายตัวสารมลพิษทางอากาศเพื่อวิเคราะห์ผลทำนายรูปแบบการแพร่กระจายตัวของสารมลพิษทางอากาศ โดยคาดว่าโครงการทั้งหมดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2567
ESG Credit เป็นความริเริ่มของสถาบันไทยพัฒน์ที่เปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจนำโครงการซึ่งเข้าเกณฑ์ได้รับ ESG เครดิต มาขึ้นทะเบียนเพื่อรับการประเมินและใช้ประโยชน์จาก ESG เครดิตในการสื่อสารถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานเรื่องความยั่งยืนของกิจการ ที่ครอบคลุมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยที่กิจการสามารถสะสมเครดิตได้อย่างต่อเนื่องจากโครงการและกิจกรรมทางธุรกิจที่ได้รับการประเมิน
[1] นิยามของคำว่า “สีเขียว” มีความหลากหลายตามแต่ละกิจการที่นำไปใช้ (Environmental, Ecological, Eco-friendly) ซึ่งโดยทั่วไป หมายรวมถึง การผลิตพลังงานไฟฟ้าและยานพาหนะที่ใช้คาร์บอนต่ำ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การควบคุมมลพิษ การแปรสภาพเพื่อใช้ใหม่ การจัดการของเสียและการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของทรัพยากรใหม่หรือแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน (Waste of Energy) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นใดที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. SDGs (Sustainable Development Goals) หมายถึง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
3. UNTAD (United Nations Conference on Trade and Development) หมายถึง การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา

Related posts