สระบุรี – ประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพลังงาน ภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอน ต่ำ “PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City”(มีคลิป)
วันทึ่ 9 มกราคม 2567 ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานพร้อมด้วยนายธนกฤต อัตถะสัมปุณณะ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิ้นที่จังหวัดสระบุรีร่วมกล่าวถ้อยแถลงประกาศ เจตนารมณ์กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพลังงาน ภาครัฐและเอกชน เพื่อเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ” PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City” โดยมีนายธีรชัย พงศ์ติณบุตร พลังงานจังหวัดสระบุรี นำ 15 หน่วยงาน ประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือ และลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ “PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City”เพื่อผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาแหล่งเก็บกักก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี
สืบเนื่องจากนโยบายภาครัฐให้ความสำคัญกับการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้บรรลุตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 แผ่นพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และฉบับที่ 13โดยกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยจังหวัดสระบุรีได้บูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบความร่วมมือภาครัฐ – ภาคเอกชน (PublicPrivate Partnership:PPP) ร่วมกันดำเนิน “โครงการจังหวัดต้นแบบ – สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำหรือ PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City” ผ่านโครงการต้นแบบตามกรอบความร่วมมือ ครอบคลุมด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ด้านกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดการของเสีย ด้านเกษตร และด้านป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ ที่ดิน อันจะส่งผลให้จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (SaraburiSandbox) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ตามมติที่ประชุมคณะทำงาน ขับเคลื่อนด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566 จำนวน 15 หน่วยงาน จึงจัดให้มีการประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือ และลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้านการเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ “PPP-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City”เพื่อผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาแหล่งเก็บกักก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี มีหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานจังหวัดสระบุรี สำนักงานพลังงานจังหวัดสระบุรี สำนักงานธนารักษ์พื้นที่สระบุรี สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสระบุรี สำนักงานขนส่งจังหวัดสระบุรี สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 3 (สระบุรี) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา คลองเพรียว-เสาไห้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรีสำนักงานเทศบาลตำบลตะกุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสระบุรี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี หอการค้าจังหวัดสระบุรี หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า จังหวัดสระบุรี และภาคีที่ร่วมดำเนินการ 14 หน่วยงาน ขอประกาศเจตนารมย์กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพลังงาน ภาครัฐและเอกชนเพื่อเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ” ppp-Saraburi Sandbox : A Low Carbon City” โดยมี กรอบความร่วมมือ 1.ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม โรงงานและอาคารควบคุมที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 2. ลดและเปลี่ยนถ่ายสู่พลังงานสะอาดในกิจกรรมของภาครัฐ ภาคเอกชนภาคครัวเรือน และภาคเกษตรกรรม3.ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคยานยนต์พลังงานสะอาด 4.ส่งเสริมการพัฒนา Grid Modernization Microgrid และการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (TPA/ ในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายพลังงานสะอาดและสร้างเสถียรภาพในระบบ 5.ส่งเสริมโครงการต้นแบบอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในภาคธุรกิจขนส่งด้วยยานยนต์พลังงานสะอาด และนำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้โครงการสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอร์รี่ ขนาดใหญ่และผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด ส่วนแนวทางการขับเคลื่อน
1.เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ส่งเสริมการนำของเสียและพลังงานทดแทนในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ เช่น ก๊าชชีวภาพ (Biogas) ของเหลือใช้ทางการเกษตร ถ่านชีวมวล ไบโอชาร์ และพลังงานไฮโดรเจน 2.เศรษฐกิจสีเขียว (Green economy) ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมค้นคว้า นวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนแบบองค์รวม3.เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Intelligent Economy) นำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนทศมาอำนวยความสะดวกช่วยวางแผนพลังงาน 4.เศรษฐกิจร่วมใช้ประโยชน์ (Sharing Economy) ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่อิงกับการบริการ และความต้องการที่หลากหลายในพื้น โดยเฉพาะการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายพลังงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเปลี่ยนสู่พลังงาน สะอาด ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ
ทั้งนี้ โดยมีภาครัฐ และเอกชน เป็นผู้สนับสนุนแหล่งเงินทุน และสิทธิประโยชน์ผลักดันและส่งเสริมการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต และรับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ผ่านกลไกของภาครัฐ การสนับสนุนงบประมาณ ส่งผลให้จังหวัดสระบุรี สามารถขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ สามารถเป็นต้นแบบการบูรณาการความร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจก และขยายผลไปยังจังหวัดอื่น รวมทั้งสามารถตอบสนองแผนงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้ตามเป้าหมายต่อไป
*********
กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว