สระบุรี – ประกาศเจตนารมณ์ กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายป่าชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มพื้นทีสีเขียว ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’(มีคลิป)
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรมการประกาศเจตนารมณ์ กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายป่าชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มพื้นทีสีเขียว ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’ ณ ป่าชุมชนวัดถ้ำน้ำพุ บริเวณวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี มีเครือข่ายป่าชุมชน คณะทำงานขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการป่าชุมชนประจำจังหวัดสระบุรี ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ร่วมประกาศเจตนารมณ์
นายบัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ได้เป็นประธาน ถวายใบประกาศเกียรติคุณแก่วัดต้นแบบที่ร่วมดูแลและรักษาป่า มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่บุคคลต้นแบบด้านการอนุรักษ์ป่า มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่ภาคเอกชนที่สนับสนุนการจัดกิจกรรม มอบใบประกาศเจตนารมณ์ฯ แก่ตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชน 45 ป่า จากนั้นประธานและแขกผู้มีเกียรติเดินชมนิทรรศการ นิทรรศการเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ ( Saraburi Sandbox)ผลิตภัณฑ์ป่าชุมชน พืชสมุนไพร การอนุรักษ์เลียงผาและระบบนิเวศเขาหินปูนการป้องกันไฟป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าและกิจกรรมดูนกการแบ่งปันคาร์บอนเครดิตโครงการด้านป่าไม้
การจัดกิจกรรมครั้งนี้ สืบเนื่องจากจังหวัดสระบุรี ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินงานด้านลดก๊าซเรือนกระจก อันเป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของประเทศ โดยจังหวัดสระบุรีได้บูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 23 หน่วยงาน ขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดสระบุรีสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’ ผ่านโครงการต้นแบบตามกรอบความร่วมมือ ครอบคลุมด้านพลังงาน ด้านกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ด้านการจัดการของเสีย ด้านการเกษตร และด้านป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน อันจะส่งผลให้จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ ในการดำเนินโครงการด้านป่าไม้ จังหวัดสระบุรีเล็งเห็นว่าป่าชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ ป่าชุมชนสามารถเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่ดีเยี่ยม ในปัจจุบันจังหวัดสระบุรีจัดตั้งป่าชุมชน 38 แห่ง มีพื้นที่รวมกว่า 9,684 ไร่ และอยู่ระหว่างการจัดตั้งป่าชุมชนแห่งใหม่อีก 7 แห่ง
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี จึงเห็นควรอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระบุรี สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 5 สระบุรี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมประกาศเจตนารมณ์กรอบความร่วมมือระหว่างเครือข่ายป่าชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดโลกร้อน ขับเคลื่อนจังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’ ขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาคเอกชนบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เคมีแมน จำกัด
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เครือข่ายป่าชุมชนและภาคีเครือข่าย มีกรอบความร่วมมือ เจตจำนงและแนวทางการดำเนินงานร่วมกันในการอนุรักษ์ป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักก๊าซเรือนกระจกมีประสิทธิภาพของจังหวัดสระบุรี เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชน ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และพืชสมุนไพร การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และสร้างแหล่งอาหารเพื่อชุมชน เสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายป่าชุมชน ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และพืชสมุนไพร การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และสร้างแหล่งอาหารเพื่อชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตเตรียมรับมือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตโดยมีกรอบความร่วมมือ ดังนี้ การปลูกป่าและป้องกันไฟป่า (forestry & fire Protection) การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และพืชสมุนไพร (Plant Germplasm Conservation and medicinal plant)
3 การส่งเสริมการท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism) 4 การสร้างแหล่งอาหารเพื่อชุมชน (Food bank) และ ๕) การลดก๊าซเรือนกระจก และการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) โดยมีหน่วยงานร่วมประกาศเจตนารมณ์ ประกอบด้วย ประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดสระบุรี คณะทำงานขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียว หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน รวม 73 ท่าน มีคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำร่วมเป็นสักขีพยาน
ในการกล่าวถ้อยแถลงประกาศเจตนารมณ์
โดยภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายให้ความรู้ เรื่อง แนวคิดโครงการจังหวัดต้นแบบ-เมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำโดย ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ไทย (TCMA)การอภิปราย เรื่องแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายป่าชุมชนกับภาวะโลกร้อน โดย ผู้แทนเครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดสระบุรีดำเนินรายการโดย นายบุญมี สรรพคุณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านป่าชุมชนการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง การเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนกองทุนสิ่งแวดล้อม : ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยนางระพีพรรณ ขันโอฬาร วิทยากรจากสำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อมการจัดนิทรรศการให้ความรู้แก่ผู้ร่วมงาน ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ป่าชุมชน พืชสมุนไพร การป้องกันไฟป่า การอนุรักษ์เลียงผา และระบบนิเวศเขาหินปูน
การแบ่งปันคาร์บอนเครดิตโครงการด้านป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าภาคกลาง และกิจกรรมดูนก
*************
กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว