สระบุรี – “ผู้ว่าฯผล”สั่งหลายหน่วงงานใช้มาตรการสนับสนุนการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตามภารกิจ บทบาท หน้าที่

สระบุรี – “ผู้ว่าฯผล”สั่งหลายหน่วงงานใช้มาตรการสนับสนุนการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตามภารกิจ บทบาท หน้าที่

 

วันที่ 9 กันยายน 2566 นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เปิดเผยว่า เพื่อให้การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสระบุรี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสระบุรีตามภารกิจ บทบาทหน้าที่ โดยมอบสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี ดำเนินการประสานบูรณาการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสระบุรีให้การสนับสนุนตั้งงบประมาณในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

เช่น เครื่องพ่น, น้ำยาสารเคมีพ่นยุง,ทรายทีมีฟอส, ยาทากันยุง เป็นต้น สำรวจ และสนับสนุนทรัพยากรในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเพียงพอ หากมีการระบาดของโรคในพื้นที่ พิจารณาใช้งบฉุกเฉินในการบริหารจัดการ จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกสัปดาห์โดยขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น ร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องป้องกันไข้เลือดออกและพิจารณาจัดกิจกรรม Big Cleaning อย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทั้งบริเวณภายในและภายนอกหน่วยงาน เก็บภาชนะไม่ให้มีที่เพาะพันธุ์ยุง

เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนช่องทางต่างๆ ให้ประชาชนเฝ้าระวังอาการ ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้เฉียบพลัน และสูงลอยเกินกว่า ๒ วัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก หากมีอาการให้รีบพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือแพทย์ เพื่อการตรวจรักษาที่ถูกต้อง แจ้งเตือนการรับประทานยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen ในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยไข้เลือดออกรับประทานอาจทำให้มีอาการรุนแรงและเลือดออกมากขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษา ระมัดระวังไม่ให้ยุงกัด โดยการนอนกางมุ้ง ทายากันยุง สวมใส่เสื้อผ้าแขนยาวขายาว หรือใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุง หากพบผู้ป่วย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการควบคุมโรคทันที สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในครัวเรือน เป็นประจำทุก ๗ วัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามมาตรการ ๕ ป. ๒ ข. ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำในภาชนะน้ำใช้ในปริมาณ ๑๐ กรัม ต่อน้ำ ๑๐๐ ลิตร (โอ่งมังกร = ๒๐๐ ลิตร)

นอกจากนี้ ได้มอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๑/ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต ๒ /สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี ดำเนินการประสานบูรณาการสถานศึกษาในความรับผิดชอบให้ดำเนินการ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสระบุรี ประสานสถานศึกษาในความรับผิดชอบทั้งภาครัฐและเอกชน ดำเนินการตามมาตรการ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี ประสานสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม ดำเนินการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี ประสานผู้นำศาสนาทั้ง 5 ศาสนา ดำเนินการ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสระบุรี ขอความร่วมมือคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี ดำเนินการตามมาตรการ ดังกล่าว

****************
กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว

Related posts