เชียงใหม่-คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดงาน Suandok Medical Innovation District

เชียงใหม่-คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดงาน Suandok Medical Innovation District

 

 

คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดงานแสดงผลงานและการเสวนานวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ ประจำปี พ.ศ.2566 ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District) นำโดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเครือข่ายพันธมิตร ได้กำหนดจัดงานแสดงผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และการเสวนานวัตกรรม “MEDCHIC Innovation Day 2023” ภายใต้แนวคิด “From Ideas to Impact From Connection to Globalization” ในวันเสาร์ ที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 8.30 – 16.00 น. ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 และถือว่าเป็นงานใหญ่ประจำปีอีกงานหนึ่ง  เพราะนอกจากผู้เข้าชมงานจะได้พบกับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพที่น่าสนใจจากคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายพันธมิตรกว่า 30 บูธแล้ว

ภายในงานยังมีพิธีบันทึกข้อตกลงถึง 2 ฉบับ โดยฉบับแรกเป็นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนางานวิจัยเชิงบูรณาการ และพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพจาก Big Data และการออกแบบทางสถาปัตยกรรมระบบสารสนเทศ ตลอดจนการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการแพทย์ระดับประเทศ โดยมี ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลงนามความร่วมมือ และดร.เกรียง  ฐิติจำเริญพร ผู้จัดการ ผู้อำนวยการโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เป็นตัวแทนของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

และพิธีบันทึกข้อตกลงฉบับที่สอง เป็นบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง ศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ ศูนย์เร่งรัดวิจัยและนวัตกรรมเอกชน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เพื่อร่วมกันพัฒนาวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ของสังคมโดยรวม โดยมี ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นตัวแทนของศูนย์นวัตกรรมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วีรยะ  เภาเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์เร่งรัดวิจัยและนวัตกรรมเอกชนเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เป็นตัวแทนของศูนย์เร่งรัดวิจัยและนวัตกรรมเอกชน เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล

นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีการเปิดตัวนวัตกรรม Digital Health Tech Platform “Wheel B” แพลตฟอร์มการจัดการโลจิสติกส์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในโรงพยาบาล ที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ ซึ่งที่พัฒนามาจาก Digital Health Tech Platform “Wheel B” ที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจาก เทคโนโลยี “อยู่ไหน 3 มิติ” ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สวทช. ซึ่ง Digital Health Tech Platform “Wheel B” เป็นแพลตฟอร์มการจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาล การรับส่งผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ลดความผิดพลาดของการทำงานของปฏิบัติงาน และสามารถลดความเสี่ยงอื่นที่อาจเกิดขึ้นต่อคนไข้

โดยมีผู้บริหารของทั้ง 3 หน่วยงาน ได้ขึ้นไปกล่าวถึงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรม Digital Health Tech Platform “Wheel B” ร่วมกัน ได้แก่ ดร.ศวิต กาสุริยะ รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สวทช. ที่ได้กล่าวถึงการพัฒนาต่อยอดจาก เทคโนโลยี “อยู่ไหน 3 มิติ” สู่ Digital Health Tech Platform “Wheel B”

ศาสตราจารย์ (เชี่ยวชาญพิเศษ) นายแพทย์บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยี Digital Health Tech Platform Wheel B มาใช้ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

นายแพทย์ศิริพจน์ ศรีบัณฑิตกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพิงค์ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Digital Health Tech Platform Wheel B ที่ได้นำมาใช้ในโรงพยาบาลนครพิงค์ และ

รองศาสตราจารย์ ดร.วัสสนัย วรรธนัจฉริยา ผู้ช่วยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยี Digital Health Tech Platform Wheel B


นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลโดยการตอบแบบสำรวจการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอกผ่านแพลตฟอร์ม ‘FullLoop Customer Experience’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบริหารประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience Management) โดยใช้เทคโนโลยี AI Machine Learning มาช่วยประมวลผล วิเคราะห์ ตรวจสอบ ทำให้สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก กับ บริษัท บิสกิต โซลูชั่น จำกัด (BIZCUIT SOLUTION COMPANY LIMITED) และมีรถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ หรือ Food Truck มาให้บริการบริเวณหน้าลานน้ำพุ โดยเป็นการทดสอบตลาด (Market Validation) ของ We Chef Thailand ซึ่งเป็น Startup Digital Platform ที่ช่วยวางแผน และบริหารการขายให้รถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ ผ่านเครือข่ายพันธมิตรหลากหลายรูปแบบ และช่วยให้เจ้าของพื้นที่บริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ


และมีเวทีเสวนานวัตกรรมจากวิทยากรผู้มากประสบการณ์ด้านการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพระดับประเทศ ได้แก่ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Area base of Innovation, รองศาสตราจารย์ ดร.บุญรัตน์ โล่วงศ์วัฒน อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้บริหารสูงสุดและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เมติคูลี่ จำกัด, ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอ็คโคเมท จำกัด (Ztrus), ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรัตน์ ตันประเวช หัวหน้าหัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเจ้าของบริษัท สไมล์ ไมเกรน จำกัด, คุณภัทราภรณ์ กันยะมี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ ลิตเติ้ล ออนเนี่ยน แฟคทอรี่ จำกัด,

นายแพทย์ธีรพัฒน์ ตันพิริยะกุล เจ้าของบริษัท โอแคร์ เฮลท์ ฮับ จำกัด และ นายแพทย์รพีพัฒน์ ศรีจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สาติ จำกัดตลอดจนการแสดงความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ผ่านการนำเสนอการนำเสนอไอเดีย (Pitching) บนเวที จำนวน 5 ทีม ถือว่าเป็นความสามารถอย่างหนึ่งของเด็กนักเรียนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง

ซึ่งในช่วงสุดท้ายของงาน “MEDCHIC Innovation Day 2023” มีกิจกรรม Health Tech Pitching Challenge จากทีมนวัตกรที่เข้าร่วมการบ่มเพาะนวัตกรรม MEDCHIC Incubation Program 2023 จำนวน 6 ทีม และพิธีมอบรางวัลให้แก่ทีมผู้ชนะการแข่งขัน MEDCHIC Health Hackathon 2023 จำนวน 3 ทีม อีกด้วย

 

พัฒนชัย/เชียงใหม่

Related posts