สพฐ. จัดประชุม ผอ.กลุ่ม DLICT เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุคดิจิทัล ประจำปี 2566
เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ที่โรงแรมเดอะ พาลาสโช รัชดา กรุงเทพมหานคร ดร.พัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยนางพวงทอง ศรีวิลัย ผอ.สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมสัมมนาฯ เพื่อขับเคลี่อนและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยี ของ สพฐ-สพท. ให้ได้รับความรู้ความเช้าใจ และเทคนิคในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หลากหลายรูปแบบพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคในการพัฒนางานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งกันและกัน กลุ่มเป้าหมายของการดำเนินการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล สพฐ. /ผู้อำนวยการกลุ่มส่งสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (DLICT) ของ สพท. และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวม 295 คน ระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมแกรนด์ พาลาสโซ โรงแรมเดอะ พาลาสโช รัชดา กรุงเทพฯ
ซึ่ง สพฐ.มีภาระกิจด้านการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐาน มุ่งผลสัมฤทธิ์ขององค์กร เสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพและมุ่งสู่มาตรฐาน ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และรวมถึงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การติดต่อประชาสัมพันธ์ การประสานงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจและก่อให้เกิดประโยชน์ โดยเป็นหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่การให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแก่โรงเรียนในด้านต่างๆ ธิเช่น งานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ งานระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร งานการส่งเสริมการจัดการศึกษาทางไกล งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (Smart OBEC) ซึ่งปัจจุบัน พบว่า การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ICT ถูกนำมาใช้ด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาที่ยั่งยืน หลายประเทศประยุกต์การจัดการเรียนการสอน
ด้าน นายมณฑล พร้อมสันเทียะ ผอ.กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (DLICT) ศฑ) สพป.เลย เขต 1 ได้เสนอความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ประชุมว่า การที่ สพฐ. จะดำเนินการแบ่งกลุ่มภายใน สพท. เป็น 10 กลุ่ม หรือ 7 กลุ่มเหมือนเดิมหรือไม่นั้น การทำงานเพื่อการขับเคลื่อนงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของชาตินั้น สพท.จำเป็นต้องมีกลุ่มงานที่มีความเป็นเอกภาพในการส่งเสริมพัฒนาและที่สำคัญคือการคุ้มครองด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นความต้องการจำเป็นต้องมีทีมงานที่มีบุคลากรที่มีทักษะความเชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
ที่ผ่านมาเราต้องวิเคราะห์ความสำคัญของบุคลากรที่จะมารองรับภาระงาน องค์กรดิจิทัล จะต้องมีบุคลากรที่จะต้องรับผิดชอบถึงโรงเรียน ครู นักเรียน ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ดูแลระบบเครือข่ายอินเตอร์ ทั้งสำนักงาน สถานศึกษา และที่สำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล แอพพลิเคชั่นต่างๆจะต้องผ่านการกลั่นกรองเพื่อพิจารณานำมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลอย่างชัดเจน เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนสถานศึกษา ทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียน////