สระบุรี – เจ้าภาพจัดประชุมสัญจร กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด 5/2566 (มีคลิป)

สระบุรี – เจ้าภาพจัดประชุมสัญจร กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 6 จังหวัด 5/2566 (มีคลิป)

วันที่ 28 สิงหาคม 2566 ที่ศูนย์ฝึกอบรมเครือซิเมนต์ไทยม่วงน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ครั้งที่ 5/2566 โดยมี นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี และมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีและรองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท พร้อมด้วยหัวหน้าสำนักงานจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานราชการ ประธานหอการค้าจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด กลุ่มภาคกลางตอนบน ทั้ง 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาท เข้าร่วมประชุม


โดยการประชุม มีประเด็นสำคัญที่ร่วมกันพิจารณา ประกอบด้วย การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคกลาง สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งปัจจุบันของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด สรุปแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนและข้อเสนอแนวทางการพัฒนา


สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ด้านภาคอุตสาหกรรม นายศานิต เกษสุวรรณ (ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน) กล่าวว่า มุมมองของภาคธุรกิจ ที่สภาอุตสาหกรรมมองว่าปลายปี ๒๕๖๖ ภาคการท่องเที่ยว ยังแข็งแรง แต่การส่งออกจะติดลบ การลงทุนยังมีคนพร้อมที่จะลงทุน ซึ่งต้องมีการสร้างความเชื่อมมั่นให้กับ นักท่องเที่ยว สำหรับภาคพลังงาน ต้องลุ้นว่ารอบนี้ค่า Ftของการไฟฟ้าจะอยู่ที่เท่าไร เมื่อต้นปี ๕ บาทกว่า ตอนนี้เหลือ ๔.๗ บาท รอบนี้ถ้าลดลงมา 4.2 บาท จะทำให้ภาคธุรกิจเอกชนมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้น ๒. ภาวะโลกร้อน ภาคกลางตอนบนมีอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่ง คือ โรงซีเมนต์ ที่จังหวัด สระบุรี ซึ่งอุตสาหกรรมซีเมนต์ได้เข้าร่วมการประชุม COP ที่ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอียิปต์ และปีหน้าจะจัดที่ ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยทางประเทศไทยได้สัญญาว่าภายในปี ๒๐๕๐ จะมีคาร์บอนเป็นกลาง และในปี ๒๐๖๕ จะมีคาร์บอนเป็นศูนย์

ในกลุ่มผู้ผลิตปูนซีเมนต์ได้จัดทำแผนขับเคลื่อนว่าในปี ๒๐๕๐ จะลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถ่านหินจะลดลงเป็นศูนย์ ซึ่งจะใช้พลังงานทดแทน มีการปรับเปลี่ยน คุณสมบัติปูนต่างๆ โดยได้ออกผลิตภัณฑ์ปูนตัวใหม่ “ปูนรักษ์โลก” ช่วยให้ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือน กระจกได้ ผู้ผลิตซีเมนต์ระดับโลกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ได้นำอุตสาหกรรม ปูนซีเมนต์ของไทย โชว์ความก้าวหน้าลดก๊าซเรือนกระจกจากปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ในการประชุมผู้ผลิตซีเมนต์ และคอนกรีตระดับโลก GCCA CEO Gathering and Leaders Conference 2023 ที่เมืองซูริค สวิสเซอร์แลนด์ พร้อมชูโมเดล Public Private Partnership เชื่อมโยงความร่วมมือภาครัฐ-ภาคเอกชน เดินหน้า PPP-สระบุรี แซนด์บ็อกซ์เป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง BCG และสนับสนุนไทยบรรลุ Net Zero


ด้านสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายจรรยงค์ พุ่มมูล (กรรมการและประชาสัมพันธ์ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด ชัยนาท) จังหวัดชัยนาท ได้รับมอบหมายจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน สราญรมย์ชมวิถีลุ่มเจ้าพระยา – ป่าสัก@ชัยนาท ได้จัดไปแล้วระหว่างวันที่ 5 – 9 กรกฎาคม 2566 รวมเวลา 5 วัน ที่บริเวณเขื่อนเรียงหินหน้าศาลากลางจังหวัดชัยนาท โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกลุ่มจังหวัด ภาคกลางตอนบน ประมาณ 6,939,700 บาท ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ทั้ง 6 จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้ง 6 จังหวัด จากข้อมูลของสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยนาท มีผู้มาร่วมงานประมาณ 20,058 คน มีร้านค้าทั้งหมด 138 ร้านค้า ร้านค้าที่มีผู้มาใช้จ่ายมากที่สุด คือ ร้านค้าประเภทสินค้า OTOP คิดเป็น 38.4% ร้านค้าจำหน่ายอาหาร 37.7 เปอร์เซ็นต์ เครื่องดื่ม 8.7 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นๆ 8 % และสินค้าอื่นๆ อีก 7.2% รายได้ของผู้ประกอบการร้านค้าทั้ง 138 ร้านค้า มีรายได้รวมกัน 4,345,890 บาท รายได้เฉลี่ยของนักท่องเที่ยวต่อคน จำนวน 466 บาท และมีรายได้หมุนเวียนจากการ จัดงานในครั้งนี้ จำนวน 9,347,028 บาท


นางวรรณภา ชินชูศักดิ์ (ประธานหอการค้าจังหวัดสระบุรี) กล่าวว่า สำหรับการจัดงาน Up Expo มหกรรมเจ้าพระยา ป่าสัก Up Expo2023@สระบุรี ได้มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖ และ กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ ๒๘ สิงหาคม – ๓ กันยายน ๒๕๖๖ โดยรูปแบบงานจะเป็นของดีของจังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ทั้ง ๖ จังหวัด โดยจะเน้นสินค้าแปรรูป สินค้าเพิ่มมูลค่า สินค้า BCG สินค้าอัตลักษณ์ สินค้า OTOP สินค้า ชุมชนทั่วไป จะมีบูธสินค้าทั้งหมด ๑๘๐ บูธ และอีก ๒๔ บูธ จะเป็นบูธกิจกรรมของคณะกรรมการร่วม ภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ต่อไป
***************
กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว

Related posts