สระบุรี – สมาคมอุตสาหกรรมปูนชีเมนต์ไทย (TCMA) จับมือจังหวัดสระบุรี พร้อม 21 หน่วยงาน เดินหน้าความร่วมมือภาครัฐ-กาคเอกชน โดยการสนับสนุนของ 7 กระทรวงสร้างจังหวัดต้นแบบ สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง BCGตอบโจทย์ไทยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(มีคลิป)

สระบุรี – สมาคมอุตสาหกรรมปูนชีเมนต์ไทย (TCMA) จับมือจังหวัดสระบุรี พร้อม 21 หน่วยงาน เดินหน้าความร่วมมือภาครัฐ-กาคเอกชน โดยการสนับสนุนของ 7 กระทรวงสร้างจังหวัดต้นแบบ สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ ตามแนวทาง BCGตอบโจทย์ไทยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(มีคลิป)

วันทึ่ 15 สิงหาคม 2566 ทึ่ สมาคมอุตสาหกรรมปูนชีเมนต์ไทย (TCMA) และจังหวัดสระบุรี พร้อม 21 หน่วยงาน ประกาศเจตนารมณ์ “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) ในการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ-สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’ โดยการสนับสนุนของ 7 กระทรวง เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการต้นแบบ ตามสาขา Thailand NDC Roadmap มุ่งสนับสนุนเป้าหมายไทยลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมเป็นต้นแบบขยายผลไปจังหวัดอื่น รวมทั้งยกระดับพัฒนาสระบุรีสู่เมืองอุตสาหกรรมสีเขียวอัจฉริยะ สังคมแห่งคุณภาพชีวิต โดยมี ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ดร. กิตติพงค์ พร้อมวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ น.อ.ศ.ดร.ธนากร พีระพันธุ์ นายกสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย นายปริญญา คุ้มสระพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมจังหวัดสระบุรี และภาคีเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม


วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนชีเมนต์ไทย (TCMA) กล่าวว่า โดยความร่วมมือของผู้ผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำของไทยทุกราย ภายใต้การทำงานของ TCMA อยู่ระหว่างขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมาย Thailand 2050 NET ZERO Cement & Concrete Roadmap ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ”วันนี้นับเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่ง ที่ TCMA ได้มาร่วมมือกับจังหวัดสระบุรี และ 22 หน่วยงาน ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ นับเป็นจุดเริ่มตันที่สำคัญในการขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ’ หรือ ‘PPP.Sarabur Sandbox: A Low Carbon Cily นี้ เป็นการทำงานในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP)

โดยจำลองจังหวัดสระบุรี เป็นเสมือนตัวแทนประเทศไทย เป็นต้นแบบทดสอบการปฏิบัติลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการต้นแบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามกรอบความร่วมมือ ในแต่ละสาขา สอดคล้องตาม Thailand NDC Roadmap ครอบคลุมทั้งภาคพลังงานภาคกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ ภาคการจัดการของเสีย ภาคการเกษตร และภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีเป้าหมายให้จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีการพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืนแนวทาง BCG ที่มุ่งการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า บนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ TCMA จึงพร้อมนำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และคอนกรีตของไทยสนับสนุนจังหวัดสระบุรี และร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อน’สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ ให้มีความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย” ดร. ชนะฯ ให้ความมั่นใจ


นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า จังหวัดสระบุรีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมที่เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เป็นแหล่งผลิตปูนซีเมนต์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่สำคัญ และเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวม ตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) มีเป้าหมายยกระดับพัฒนาจังหวัดสระบุรี สู่เมืองอุตสาหกรรมสีเขียวอัจฉริยะ สังคมแห่งคุณภาพชีวิต สร้างสมดุลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) และสอดคล้องกับนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (CarbonNoutrality) ในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission) ในปี 2608″สระบุรีแซนด์บ็อกซ์-เมืองคาร์บอนต่ำ หรือ ‘PPP-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City’ นับเป็นโครงการเรือธงลดก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ระหว่างปี 2566-2569

 

โดยการสนับสนุนของ 7 กระทรวงที่ทุกภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาดเอกชน อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์โดย TCMA องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มธุรกิจต่างๆ ในจังหวัดสระบุรี จะได้มาร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินการ ตัวอย่างโครงการในระยะแรก อาทิ 1. การใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ด้วยการส่งเสริมปูนซีเมนไฮดรอลิกในทุกงานก่อสร้าง 2. การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานคาร์บอนต่ำ (Energy Transition) ด้วยการจัดการวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม/ ภาคชุมชน (Waste to Energy) พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Power) พืชพลังงาน (Plant Energy) 3. การทำนาน้ำน้อย 4. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากการปลูกป้า 5. การศึกษาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนและนำไปใช้ประโยชน์/ กักเก็บ (Carbon Capture Utilization/ Storage) และจะขยายเพิ่มเติมให้ครอบคลุมในด้านอื่นๆซึ่งจะทำให้จังหวัดสระบุเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ สอดคล้องตามเป้าหมายของจังหวัดเมืองอุตสาหกรรมสีเขียวอัจฉริยะ สังคมแห่งคุณภาพชีวิต เพื่อประโยชน์ของชาวสระบุรี สามารถเป็นต้นแบบการบูรณาการความร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจก และขยายผลไปยังจังหวัดอื่น รวมทั้งสามารถตอบสนองแผนงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้ตามเป้าหมาย” นายผล กล่าว
*********

กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว

Related posts