ศอ.บต. พร้อม หนุนทุกความเชื่อ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมกำหนดแนวทาง ทางความคิดและร่วมตัดสินใจในการพัฒนา ผ่านสภาสันติสุขตำบล

ศอ.บต. พร้อม หนุนทุกความเชื่อ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมกำหนดแนวทาง ทางความคิดและร่วมตัดสินใจในการพัฒนา ผ่านสภาสันติสุขตำบล

 

“จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของความเชื่อ ภาษา ประเพณี อัตลักษณ์ และวัฒนธรรม โดยประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธ คริสต์ และมีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ในพื้นที่ กล่าวได้ว่า ความหลายหลายนี้คือความสวยงามที่หมายรวมพื้นที่ว่า เป็นดินแดนสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างแท้จริง

ศอ.บต. และหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินงานภายใต้การนำของรัฐบาล ในการหนุนเสริมความเชื่อและอัตลักษณ์อย่างเท่าเทียม มีการส่งเสริมภายใต้กรอบความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ จัดทำโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ผ่านกลไก ‘สภาสันติสุขตำบล’ 282 ตำบล ในการบริหารจัดการพื้นที่ตามตามความต้องการของประชาชน ตั้งแต่ปี 2561 โดยสภาสันติสุขตำบล มีส่วนราชการ ผู้นำส่วนงานท้องถิ่น ผู้นำภาคศาสนา ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่ ร่วมทำหน้าที่ในการ ‘กำหนดชะตาชีวิต’ การพัฒนาด้านต่างๆ ในตำบล ชุมชน และหมู่บ้าน ในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์ ยกระดับพื้นที่อย่างยั่งยืนจากคนในพื้นที่ร่วมดำเนินการด้วยตนเอง

“สภาสันติสุขตำบล” เป็นเพียงกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนา เปรียบเสมือน “เวทีกลาง” ในการเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนทั่วไป สามารถเสนอการพัฒนาตำบลในด้านใดก็ได้ ตามความต้องการส่วนใหญ่ของประชาชน ซึ่งจะมีการดำเนินงานผ่านแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาหมู่บ้าน และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่ละตำบล ซึ่งต้องการเห็นตำบลเป็นอย่างไรหรือพัฒนาไปในแนวทางไหน ก็สามารถโหวตหรือเสนอแผนงานโครงการต่างๆได้ ตั้งแต่ต้นน้ำ

นอกจากนี้ ประธานสภาสันติสุขตำบล อาจเป็นใครก็ได้ จาก 5 ส่วนในฟันเฟืองสภาฯ คือ ประชาชน ภาคประชาชน ภาคศาสนา ภาคผู้นำท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ เพราะสภาสันติสุขตำบล มิใช่สภาฯของกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่เป็นสภาฯของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดงานพัฒนา กำหนดชะตาชีวิตของคนในพื้นที่ ผ่านความเห็นของทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ จากการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในพื้นที่ โดย ศอ.บต. ได้ดำเนินงานภายใต้ พรบ.ของ ศอ.บต. ที่กำหนดให้ “ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาพื้นที่”

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา จชต. ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในระดับพื้นที่ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประชาชนสามารถมีส่วนร่วมและตัดสินใจกำหนดชะตาชีวิต ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาระดับครัวเรือน หมู่บ้าน สู่ระดับตำบล ภายใต้สภาสันติสุขตำบล ในส่วนของระดับอำเภอก็สามารถมีส่วนร่วมในศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการเสนอแผน และตัดสินใจในการพัฒนาอำเภอไปด้วยกันด้วย

สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านสามารถยกระดับการพัฒนาตำบลให้เกิดความโดดเด่นในมิติต่างๆ ตามความต้องการของพื้นที่จำนวน 32 ตำบล โดยสามารถเปลี่ยนพื้นที่สีแดง เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบบ่อยครั้ง เป็นสีเหลืองหรือสีเขียว ตามลำดับ อาทิ ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ต.ยุโป อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี

นอกจากการเปิดโอกาสในการ “กำหนดชะตาชีวิต พัฒนาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน” แล้ว รัฐบาล โดย ศอ.บต. ยังหนุนเสริมการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ วัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยไม่ปิดกั้นการทำศาสนกิจ หรือกิจกรรมทางศาสนาและประเพณีต่าง อีกทั้ง พร้อมหนุนเสริมในทุกกิจกรรม อาทิ จัดการประกวดซุ้มประตูชัย หรือ pintu gerbang การจัดซุ้มประตูเข้ามัสยิดในวันฮารีรายอของพี่น้องศาสนาอิสลาม ซึ่งบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ความเป็นไปของพื้นที่ผ่านลวดลายและความสวยงามของแต่ละซุ้ม ส่งเสริมการแต่งกายมลายูในวันสำคัญ ส่งเสริมการพูดหลายภาษา โดยเฉพาะภาษามลายู เพื่อต่อยอดการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ศอ.บต. ยังเปิดสถาบันภาษา 6 ภาษา ให้เยาวชน ได้มีโอกาสเรียนรู้ เพื่อยกระดับบุคลากรในพื้นที่ให้กระจายไปได้ในทุกอาชีพในโลกมุสลิม โดยมีภาษาไทย อาหรับ จีน มลายู อังกฤษ และตุรกี นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านศาสนา ส่งเสริมการเรียนการสอนสถาบันปอเนาะควบคู่กับการฝึกวิชาชีพ เพื่อผลิตคนดี คนเก่ง มีคุณธรรม และมีอาชีพในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานส่งเสริมความเป็นคนชายแดนใต้ ข้างต้น ของ ศอ.บต. และหน่วยงานในพื้นที่ ภายใต้การนำของรัฐบาลที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่หยิบหยกเป็นตัวอย่างในการส่งเสริมความเป็นตัวตนของคนชายแดนใต้ โดยแต่ละโครงการและการดำเนินงานพัฒนา ส่วนใหญ่ผ่านการตัดสินใจจากประชาชนหรือผู้นำ ที่เป็นคนในพื้นที่ทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ในส่วนภาครัฐ พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงออกถึงอัตลักษณ์ ประเพณี ตลอดจนแสดงออกถึงความคิดเห็นได้ทุกเรื่อง ภายใต้การเคารพการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนในพื้นที่ในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่สันติสุขปลายด้ามขวาน

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Related posts