ปทุมธานี รองผู้ว่าราชการปทุมธานีเป็นประธานพิธีเปิดและฟังการบรรยาย พัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ยกระดับการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง เชื่อมโยงปริมณฑลสู่ใจกลางเมือง

ปทุมธานี รองผู้ว่าราชการปทุมธานีเป็นประธานพิธีเปิดและฟังการบรรยาย พัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 ยกระดับการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง เชื่อมโยงปริมณฑลสู่ใจกลางเมือง

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2566 เวลา 08.30 น. นายพงศธร กาญจนะจิตรา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในพิธีเปิดและ ร่วมฟังการบรรยายในการประชุมสัมมนาและสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ครั้งที่ 2 (จังหวัดปทุมธานี) โครงการเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่ง มวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 โดยมีส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมฯ ณ โรงแรมธาราแกรนด์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี การประชุมสัมมนาและสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ในวันนี้ เป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี

ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เพิ่มเติมจากแผน M-MAP เดิม เมื่อ 14 ปีก่อน เพื่อเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าให้มีความครอบคลุมทั่วถึงมากยิ่งขึ้น รวมถึงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ตามแนวเส้นทางใหม่เพิ่มเติม โดยการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานและประชาชน เพื่อนำไปปรับปรุง ผลการศึกษาให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต และต่อยอดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีความครอบคลุมพื้นที่ ที่มีความต้องการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง เพื่อรองรับความต้องการของประชาชนในอนาคต ปัจจุบันรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้เปิดให้บริการแล้ว 211 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 135 กิโลเมตร

ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนา “แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักและสายรอง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (M-MAP)” ในปี 2552 อย่างไรก็ตาม จากความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากการศึกษาแผน M-MAP เดิม จึงมีความจำเป็น ต้องพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้มีความครอบคลุม สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของเมืองในอนาคต และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของประชาชนอย่างแท้จริง ขณะนี้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการจัดทำแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการ เดินทางด้วยระบบราง หรือ Railway Demand Forecast Model เพื่อเป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำในการคาดการณ์ การเดินทางของระบบราง

โดยเฉพาะ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการพัฒนาโครงข่าย รถไฟฟ้า การกำหนดมาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับอัตราค่าโดยสาร การปรับปรุงทางเข้า – ออกสถานี และการเชื่อมต่อกับ ระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงและพัฒนา บริการด้านระบบรางแก่ประชาชนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนโยบายในการพัฒนาระบบราง การกำหนด ขนาดสถานี การเข้าถึงสถานี อัตราค่าโดยสาร และเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทาง ตลอดจนมาตรการทางกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมไปถึง โครงการนำร่องในการพัฒนาแบบจำลองเชิงกิจกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลฉบับใหม่ หรือ M-MAP 2 ต่อไป

 

ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

Related posts