สระบุรี – บพท. ผนึกกำลัง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนด้านพืชพลังงาน สู่ BCG Model จังหวัดสระบุรี(มีคลิป)

สระบุรี – บพท. ผนึกกำลัง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนด้านพืชพลังงาน สู่ BCG Model จังหวัดสระบุรี(มีคลิป)

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ทึ่อาคารพัฒนาและฝึกอบรม 1 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย(แก่งคอย)จำกัด ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัว
(Kick off) การบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด นำโดย นายเจริญชัย เฉลียวเกรียงไกร กรรมการผู้จัดการบริษัทปูนชิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด และประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดสระบุรี นายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) นำโดย ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับการสร้างงานในพื้นที่บนฐานนิเวศการลงทุนพืชพลังงาน ภายใต้โครงการต้นแบบความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพบนฐานพืชพลังงานสู่ BCG จังหวัดสระบุรี

เพื่อเตรียมพร้อมที่ยกระดับเมืองสระบุรีสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางที่น่าอยู่และชาญฉลาด (Livable and Smart City) โดยดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 7 ตำบล ในอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีประกอบด้วย ตำบลบ้านป่า ตำบลท่าคล้อ ตำบลทับกวาง ตำบลบ้านธาตุ ตำบลท่าตูม ตำบลท่ามะปรางและตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีเป้าหมายคือการวิจัยส่งเสริมและยกระดับพื้นที่ชุมชน โดยรอบ โรงงานเป็นพื้นที่
ต้นแบบระบบนิเวศพืชพลังงาน ส่งเสริมและสร้างกลุ่มผู้ผลิตพืชพลังงานในพื้นที่จังหวัดสระบุรีภายใต้ความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมในการสร้างงานในพื้นที่ผ่านการพัฒนาอาชีพและขยายผลสู่ระบบการผลิต และระบบการแปรรูปพืชพลังงานในพื้นที่ศูนย์กลาง (HUB) โรงงานในเครือปูนชิ
เมนต์ไทย (SCG) ทั่วประเทศไทย โดยโครงการนี้จะสร้างกลไกความร่วมมือ การสุนับสนนุ และการกำกับดูแลร่วมกันของเครือข่ายในพื้นที่ในการสร้างกองทุนกิจการเพื่อสังคม ซึ่งจะดำเนินการ พัฒนาบ้านเพื่อที่อยู่อาศัยตุ้นแบบ (HousingModel) จากวัสดุคาร์บอนต่ำ (Low CarbonMaterial)

ทั้งนี้มีการขยายโครงการการลงทุนพืชพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่เมืองชายแดนและเชื่อมโยงเศษฐกิจไปยั่ง จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดนครพนม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน โดยนำร่อง 3 พื้นที่ คือ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สามารถยกู
ระดับและขั้บเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของพื้นที่ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศได้ผ่านการส่งเสริมองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาขั้นตอนการผลิตและปลูก ขั้นตอนการแปรรูป ขั้นตอนการเพิ่มมูลค่าของพืชพลังงานการดำเนินการของโครงการดังกล่างข้างต้นถือได้ว่าเป็นการส่งเสริม สนับสนุน การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) พืชพลังงานในการขับเคลื่อนตัวแบบธุรกิจ (Business
Model) ทั่วประเทศไทย

เป็นความร่วมมือกันทั้ง
ภาคประชาชน ภาคธุรกิจและเอกชน จนเกิดกุระบนการสร้างงานใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อย
ที่นำไปสู่การจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนเป็นผลพวงที่นำไปสู่การขยายผลในการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดและประเทศ อีกทั้งจะเป็นกระบวนการสร้างฐานความรู้ผ่าน
กระบวนการวิจัยและการลงทุนที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยคาดว่าจะเกิดกระบว่นการสร้างงานใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อยมากกว่า 350 รายและนำไปสู่การจัดตั้งธรกิจเพื่อสังคม โดยมีมลค่าเงินสนับสนุนกองทุนกว่า 500,000 บาท ต่อ 100 ไร่ ต่อไร่ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานพืชพลังงาน โดยการผนึกกำลังระหว่าง บพท. และ
SCG ในครั้งนี้นับเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ตามแนวทางการดำเนินงานของ SCG ภายใต้ ESG ซึ่งประกอบไปด้วย
.Net Zero มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนิน โครงการตลอดทั้งโครงการได้
. Co Green เพิ่มนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม โดยถึง 45,000 ตันต่อปีการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวล

จาก
ผลผลิตและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
.Lean เหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นพัฒนาความเป็นอยู่
ของชุมชน กระจายรายได้ และพัฒนาทักษะ
อาชีพด้านการเกษตร
. ย้ำร่วมมือ มุ่งเน้นขับเคลื่อน ESG ร่วมกับ
หน่วยงานระดับประเทศ อาเซียน และระดับ
โลก โครงการความร่วมมือดังกล่าว
เป็นการขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านความ
ยั่งยืนโดยเรามีความมุ่งหวังว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการต้นแบบ Low Carbon Economy และ
BCG Model (Bio Circular Green Economy
Model) ให้กับอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งสามารถช่วยใน
การขับเคลื่อนและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะถือเป็นก้าวสำคัญของการผลักดันนโยบาย BCG Model ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี สู่การเป็น “SARABURI Sandbox” ตาม
แนวทางการพัฒนาของจังหวัดสระบุรีต่อไป
***************

กฤษฎา สมมาตร
รายงานข่าว

Related posts