P&G จับมือ GC ส่งมอบบ้านจากวัสดุรีไซเคิล “Upcycling Plastic House” เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม พร้อมผนึกพันธมิตร Sansiri, Lotus’s และ Habitat Group สานต่อวิสัยทัศน์ความยั่งยืน

P&G จับมือ GC ส่งมอบบ้านจากวัสดุรีไซเคิล “Upcycling Plastic House” เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม พร้อมผนึกพันธมิตร Sansiri, Lotus’s และ Habitat Group สานต่อวิสัยทัศน์ความยั่งยืน


“P&G จับมือ GC พร้อมผนึกพันธมิตร Sansiri, Lotus’s และ Habitat Group ร่วมกันบริหารจัดการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลาสติกใช้แล้วในโครงการ “Upcycling Plastic House เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม” ผ่านการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ให้ประชาชนนำขวดแชมพูพลาสติกและถุงแชมพูชนิดเติมที่ใช้แล้วมาหย่อนที่ตู้รับบริจาคที่โลตัส 35 สาขา เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผ่าน ‘YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบ้านจากวัสดุรีไซเคิล พร้อมส่งมอบให้กับสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย มีนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมแสดงความยินดีกับผู้บริหาร
จาก ‘บริโภคและกำจัด’ สู่ ‘การบริโภคและรวบรวมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่’ ผ่าน YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม
​ไม่ใช่แค่เป้าหมายของบริษัทฯ ใดบริษัทหนึ่ง แต่เป็นการจับมือร่วมกันของบริษัทชั้นนำในประเทศไทย อันได้แก่ ได้แก่ พีแอนด์จีประเทศไทย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย และ มูลนิธิที่อยู่อาศัย ประเทศไทย ที่ตั้งใจร่วมกันแก้ไขปัญหาพลาสติกใช้แล้ว ด้วยการคืนชีวิตพลาสติกที่ถูกทิ้งผ่านกระบวนการ Upcycling เพื่อสร้างเป็นบ้านที่อยู่อาศัย


​นายนิทิน ดาร์บารี- ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พีแอนด์จีประเทศไทย กล่าวถึงการริเริ่มโครงการฯ ว่า “ตามเป้าหมายของ P&G Ambition 2030 ที่มุ่งหวังสร้างคุณค่าให้กับบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน อันได้แก่ แบรนด์ สังคม และ พนักงาน ซึ่งเรามีเป้าหมายที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Ambition) ในปี 2583 โดยจะครอบคลุมถึงการปล่อยมลพิษตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของเราทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน​P&G ประเทศไทยได้ดำเนินงานตามระบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยมีรูปแบบธุรกิจและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเปลี่ยนสินค้าบรรจุหีบห่อสําหรับผู้บริโภคจาก ‘บริโภคและกําจัด’ เป็น ‘บริโภคและรวบรวม หรือเก็บมาใช้ใหม่’ โดยมีเป้าหมายคือ ลดพลาสติกปิโตรเลียมบริสุทธิ์ 50% ในปี 2573 คํานึงถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยวัสดุหมุนเวียน หรือ การรีไซเคิลที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังเช่น แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมของเราที่ตั้งเป้าจะใช้พลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 4,000 ตันและมี PCR สูงถึง 25% ในขวดแชมพูและครีมนวดผม”


​นายอาร์ปัน กุปตะ กรรมการผู้จัดการ พีแอนด์จีประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “ Upcycling Plastic House ที่เราสร้างขึ้นนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า เราต้องการสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่าแก่ชุมชนและสังคม ซึ่งวันคนพิการสากล ที่ผ่านมา เราบริจาค “Upcycling Plastic House” โดยร่วมมือกับภาครัฐและพันธมิตรในอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมา Upcycling Plastic House ได้ถูกใช้เป็นศูนย์พักคอย สำหรับผู้พิการ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด นอกจากนี้ P&G ยังนําร่อง โครงการ Upcycling Sachet เพื่ออัพไซเคิลซองบรรจุภัณฑ์ซองลามิเนต โดยเราได้ร่วมงานกับภาคีต่างๆ และอัพไซเคิลไปเป็นบานประตู ซึ่งในอดีตวัสดุเหล่านี้ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันเราได้เพิ่มมูลค่าลงไปในผลิตภัณฑ์ แม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อย แต่เป็นก้าวสำคัญ ของการก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน”
ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “GC ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดความยั่งยืนที่คำนึงถึงการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลที่ดี (ESG) มาอย่างต่อเนื่อง ในฐานะของบริษัทเคมีภัณฑ์ระดับสากลที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต บริษัทฯ ได้ยกระดับการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2593


สำหรับบทบาทในฐานะพันธมิตรของโครงการนี้ GC ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรของบริษัทฯ ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระบวนการอัพไซคลิง (Upcycling) ที่นำวัสดุเหลือใช้ มาผลิตเป็นชิ้นงานใหม่ ซึ่งใช้เป็นองค์ประกอบหลักของบ้าน 3 ส่วน ได้แก่ หลังคาและผนังบ้าน (Eco Roof and Eco Board) ซึ่งทำจากกล่องนมและถุงแชมพูชนิดเติม (Multilayers Laminated) วงกบ หน้าต่าง และประตู (Wood Plastic Composite) ทำจากฟิล์มพลาสติกใช้แล้ว ประเภท PE ผสมผงไม้ และ พื้นและผนังบ้าน (Eco Bricks) ผลิตจากขวดพลาสติกขุ่นใช้แล้ว (HDPE Bottles) ผสมกับปูนซีเมนต์ ทำให้มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ดี ไม่ต่างจากอิฐหรือบล็อกปูถนนปกติที่ใช้กันในปัจจุบัน เทียบเท่ามาตรฐาน มอก.

โดยวัสดุเหลือใช้ทั้งหมดนี้ ผ่านการจัดเก็บและคัดแยกจาก “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ที่จัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร ตั้งแต่วิธีการคัดแยก จัดเก็บ ขนส่ง ไปจนถึงการนำไปรีไซเคิล อัพไซเคิลอย่างครบวงจร หรือที่เรียกว่า End-to-End Waste Management จากความร่วมมือในโครงการนี้ นอกจากช่วยลดปัญหาพลาสติกในสิ่งแวดล้อม ยังสร้างประโยชน์ต่อสังคม นำไปสู่การสร้างเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกใช้แล้วได้กว่า 2,000 กิโลกรัม ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 2,200 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการ ‘Upcycling Plastic House เพื่อความยั่งยืนและเท่าเทียม’ ครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตร ได้แก่ โลตัส ที่รับหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางระหว่างผู้ประกอบการและชุมชน โดยเป็นจุดรับบริจาครวบรวมขวดแชมพูพลาสติและแชมพูถุงเติม นายพงศธร ปานประสงค์ ผู้อำนวยการสินค้าอุปโภค โลตัส กล่าวว่า “โลตัส ดำเนินงานด้านความยั่งยืนภายใต้กลยุทธ์ Vision 2030. Actions every day. ที่มุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนจากการดำเนินงานในทุก ๆ วัน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ภายในปี 2573 ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular economy เป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญ โดยโลตัส มีเป้าหมายในการลดปริมาณของเสียที่นําไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 และใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนสำหรับสินค้าแบรนด์โลตัส ภายในปี 2568 โดยปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นของสินค้าแบรนด์ของโลตัสประเภทอาหารและสินค้าอุปโภคใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้ 100% แล้ว

Related posts