“ทีมเศรษฐกิจประชาธิปัตย์”ประกาศยกระดับนโยบายพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
“อลงกรณ์”เจ้าของฉายา”มิสเตอร์เอทานอล”ลุยเต็มสูบตั้งเป้าลดรายจ่ายครัวเรือนเพิ่มรายได้ชุมชน หนุนยานยนต์ไฟฟ้าเดินหน้าพลังงานไฮโดรเจน-เอทานอล-ไบโอดีเซล ปูพรมโรงผลิตก๊าซชีวภาพทุกหมู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ทุกครัวเรือนโซล่าฟาร์มทุกแปลงเกษตร ดันกัญชงเข้าอุตสาหกรรมยานยนต์และก่อสร้าง เล็งพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานส่งออกสร้างเงินเข้าประเทศ
วันนี้ ทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าว วาระประเทศไทย ครั้งที่ 2 “ปชป. ชูรื้อโครงสร้างราคาพลังงาน ลดรายจ่ายคนไทย” นำโดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม อดีตรมช.กระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ นายเกียรติ สิทธีอมร อดีตประธานผู้แทนการค้าไทยประธานคณะกรรมการต่างประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ผู้เชี่ยวชาญด้านคมนาคมขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน และโครงการขนาดใหญ่ และนายอลงกรณ์ พลบุตร ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ ณ ห้องประชุมชั้น 3 พรรคประชาธิปัตย์ อาคาร ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.อดีตรมช.พาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและอดีตรมต.เงาพลังงาน เจ้าของฉายา”มิสเตอร์เอทานอล”ในฐานะทีมเศรษฐกิจแถลงนโยบายพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานของพรรคประชาธิปัตย์ ชูแนวทาง“ก้าวสู่พลังงานสีเขียวพลังงานสะอาดสู่สังคมคาร์บอนต่ำ”
(Go Green Go Clean Go Low Carbon)
โดยกล่าวว่า วิสัยทัศน์เชิงรุกพรรคประชาธิปัตย์
ให้ความสำคัญสูงสุดสำหรับนโยบายพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานโดยยกระดับเป็นเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วน (National Urgent Agenda)
เพื่อ1.ลดค่าใช้จ่ายพลังงานในภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐ
2.ลดภาระต้นทุนของประเทศโดยชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ
3.ยืนบนขาตัวเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.เพิ่มโอกาสส่งออกพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน
เป็นการแปรวิกฤติพลังงานเป็นโอกาสสามารถสร้างเงินสร้างคนสร้างชาติโดยมีเป้าหมายยกระดับประเทศไทยเป็นผู้นำพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในภูมิภาคเอเชียภายในปี 2030
ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้นายอลงกรณ์ได้ตัวอย่างนโยบายสำคัญๆเป็นไฮไลท์ เช่น
นโยบายส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมโครงการ พลังงานไฮโดรเจน ( Hydrogen Energy )โครงการ เอทานอล100(E100)ไบโอดีเซล( B 100 ), โครงการ โซล่ารูฟ ทุกบ้าน ทุกอาคาร ด้วยระบบหักกลบไฟฟ้าที่ผลิตได้เองกับที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและนครหลวง (Net Metering) และ การส่งเสริมอุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่ไฟฟ้า(Energy storage),
โครงการโซล่าฟาร์มและเกษตรอัจฉริยะประหยัดพลังงานสำหรับฟาร์มพืช ประมงและปศุสัตว์
นายอลงกรณ์ยังแถลงต่อไปว่านโยบายอนุรักษ์พลังงานของประชาธิปัตย์เป็นนโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้างพลังงานทดแทน เช่น นโยบาย
โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 โรงแก๊สชีวภาพ 1 โรงปุ๋ยชีวภาพชุมชน,โครงการ 1 ตำบล 1 โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน,
โครงการ 1 อำเภอ 1 ศูนย์ยานยนต์เครื่องจักรกลไฟฟ้าและการปรับเปลี่ยนยานยนต์เครื่องจักรกลเก่าเป็นระบบไฟฟ้า (Ev Conversion Center) (รถเก่ากว่า 40 ล้านคัน), โครงการ 1 จังหวัด 1 โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
นอกจากนี้นายอลงกรณ์ยังแถลงถึงนโยบายอนุรักษ์พลังงานเช่นนโยบายเพิ่มมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่นระบบเอสโค(ESCO บริษัทจัดการพลังงาน),การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการอนุรักษ์พลังงานเช่น อินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง(IOT)และแอปพลิเคชัน,การส่งเสริมภาคเอกชนจัดตั้งศูนย์ยานยนต์และเครื่องจักรกลเก่าและการปรับเปลี่ยนยานยนต์และเครื่องจักรกลเก่าเป็นระบบพลังงานไฟฟ้า(EV Conversion Centerทุกอำเภอโดยการสนับสนุนของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC:Agritech and Innovation Center)77จังหวัด,
เร่งเพิ่มอาคารประหยัดพลังงาน(BEC) และเร่งขับเคลื่อนโครงการบ้านประหยัดพลังงาน,
การสนับสนุนส่งเสริมวัสดุก่อสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์ลดความร้อนและผลิตได้ในประเทศเช่น กันชงไฟเบอร์ (Hemp Fiber)อิฐ (Hemp Brick) ผนังกันชง (Hemp Panel Board),การเพิ่มมาตรการส่งเสริมเครื่องไฟฟ้าและนวัตกรรมประหยัดพลังงาน เช่น มาตรการ เบอร์ 5 พลัส ฯลฯ
“เป็นการยกระดับนโยบายและมาตรการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานแบบปฏิรูปเชิงโครงสร้างและระบบครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างเงินสร้างคนสร้างชาติด้วยเทคโนโลยีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจและพลังงานของปัจจุบันและอนาคตเพื่อประเทศและคนไทยทุกคน”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.
——————————————
เอกสารแนบ นโยบายพรรคประชาธิปัตย์
นโยบายพลังงานทดแทนของพรรคประชาธิปัตย์
1. ยกระดับนโยบายพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วน
2. กำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนเป็น 30 % ภายในปี 2030 ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนแห่งชาติด้วยมาตรการส่งเสริมสนับสนุนด้านภาษี สินเขื่อ การลงทุน คาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้าผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานในภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคครัวเรือน ฯลฯ.
3..สนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนทุกประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar power) พลังงานลม (Wind power) พลังงานน้ำ พลังงานความร้อน Heat Energy) พลังงานแก๊สชีวภาพ (Biogas) พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานคลื่น (Wave power) พลังงานน้ำมันชีวภาพ (Biofuel)เช่น แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล ขยะ และมูลสัตว์ เป็นต้น โดยเครือข่ายศูนย์ความเป็นเลิศพลังงานทดแทนและศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC:Agritech and Innovation Center)ทุกจังหวัด
4.โครงการ โซล่ารูฟ ทุกบ้าน ทุกอาคาร โซล่าฟาร์มและเกษตรอัจฉริยะทุกฟาร์มพืชประมงปศุสัตว์ด้วยระบบNet Metering และ Energy storage
5.โครงการ 1 ตำบล 1 โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน
สนับสนุนให้มีโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทุกรูปแบบในทุกตำบลทุกอำเภอใน 76 จังหวัดภายใต้มาตรการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม เพื่อ สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างงานสร้างอาชีพ ลดภาวะมลพิษ ลดPm2.5 แก้ปัญหาโลกร้อนและเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแนวใหม่อย่างยั่งยืน
6.โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 โรงแก๊สชีวภาพ 1 ปุ๋ยชีวภาพชุมชน
เป็นพลังงานชุมชนจากขยะ วัชชพืช หญ้าเนเปียร์ มูลสัตว์ สาหร่าย ฯลฯ. ได้ผลผลิตเป็นแก๊สหุงต้ม แก๊สผลิตไฟฟ้าชุมชน และปุ๋ยชีวภาพเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้พึ่งพาตนเองบนแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
7.โครงการ 1 อำเภอ 1 ศูนย์ยานยนต์เครื่องจักรกลไฟฟ้า
ส่งเสริมการใช้พัฒนาและการใช้ยานยนต์และเครื่องจักรกลไฟฟ้าทุกประเภท
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนยานยนต์และเครื่องจักรกลเก่าเป็นระบบพลังงานไฟฟ้า
โดยมีศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC:Agritech and Innovation Center)ทุกจังหวัดสนับสนุนการวิจัยพัฒนาอบรมบ่มเพาะถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้
(พรรคประชาธิปัตย์โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและวิทยาลัยจัดตั้งไว้แล้วตั้งแต่ปี2563)
8.โครงการ 1 จังหวัด 1 โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเพื่อกระจายการผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกระจายแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน
9.วิจัยพัฒนานวัตกรรมโครงการ E100 B 100
เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ปรับปรุงยานยนต์และเครื่องจักรกลเก่าใช้เอทานอล100%เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายสร้างเงินสร้างอาชีพและสนับสนุนอุตสาหกรรมเอทานอลและไบโอดีเซลที่ใช้ประโยชน์จากผลผลิคเกษตร
10.วิจัยพัฒนานวัตกรรมโครงการ พลังงานไฮโดรเจน (ไฮโดรเจน Energy)
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนพลังงานไฮโดรเจนตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำถึงปลายซึ่งถือเป็นพลังงานแห่งอนาคตชนิดหนึ่งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วใชัประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม และการขนส่ง เป็นต้น
11.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนทุกประเภทเพื่อผลิตใช้ในประเทศและส่งออกเป็นการลดรายจ่ายของประเทศและก้าวสู่ประเทศผู้ส่งออกพลังงานทดแทน เครื่องจักรกลและยานยนต์พลังงานทดแทน.
นโยบายอนุรักษ์พลังงานของพรรคประชาธิปัตย์
เป้าหมายของนโยบายอนุรักษ์พลังงานของพรรคประชาธิปัตย์
1.ลดค่าใช้จ่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาครัฐพร้อม
2.ลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศโดยชะลอการลงทุนด้านการจัดหาพลังงานของประเทศ
3.เพิ่มโอกาสส่งออกเทคโนโลยีและนวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน
4.ลดก๊าซเรือนกระจกสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม
1. ยกระดับนโยบายอนุรักษ์พลังงานเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วน
2. เร่งส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานในภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคขนส่ง และภาคเกษตรกรรม
3. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมอนุรักษ์พลังงานและประหยัดพลังงานเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มโอกาสในการส่งออกสร้างรายได้ให้ประเทศ
4. เพิ่มมาตรการจูงใจให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เช่นระบบเอสโค(ESCO บริษัทจัดการพลังงาน)
5. เพิ่มการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการอนุรักษ์พลังงานเช่น อินเตอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง(IOT)และแอปพลิเคชัน
6. ส่งเสริมภาคเอกชนจัดตั้งศูนย์การปรับเปลี่ยนยานยนต์และเครื่องจักรกลเก่าเป็นระบบพลังงานไฟฟ้า(EV Conversion Centerทุกอำเภอโดยมีศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC:Agritech and Innovation Center)ทุกจังหวัด
7. เร่งเพิ่มอาคารประหยัดพลังงาน(BEC) และเร่งสนับสนุนโครงการบ้านประหยัดพลังงาน
8. ส่งเสริมวัสดุก่อสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์ลดความร้อนและผลิตได้ในประเทศเช่น กันชงไฟเบอร์ (Hemp Fiber)อิฐ (Hemp Brick) ผนังกันชง (Hemp Panel Board)
9. เพิ่มมาตรการส่งเสริมเครื่องไฟฟ้าและนวัตกรรมประหยัดพลังงาน เช่น มาตรการ เบอร์ 5 พลัส
10. เพิ่มมาตรฐานอุปกรณ์ไฟฟ้าและมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงาน
11. ลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด
12. เพิ่มมาตรการสนับสนุนระบบขนส่งมวลชนด้วยพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทน สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ขนส่งมวลชนมากขึ้น และเร่งพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำและการขนส่งระบบราง
13. รณรงค์สร้างความรู้ และวินัยในการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ .