ไออาร์พีชี ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดระยอง สนับสนุนการส่งเสริมอาชีพให้คนพิการ เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2566 บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ประกอบไปด้วย เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเชิงเนิน เทศบาลตำบลน้ำคอก เทศบาลตำบลทับมา องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแลง องค์การบริหารส่วนตำบลตะพง องค์การบริหารส่วนตำบลนาตาขวัญ องค์การบริหารส่วนตำบลตาขัน เรื่องสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพให้คนพิการ เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิดคนพิการที่ดีขึ้น จัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายชุมชนไออาร์พีซี โดยได้รับเกียรติจาก นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ร่วมเป็นประธานและสักขีพยานในการลงนาม
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนแลแนวทางประชารัฐด้านสังคมในการส่งเสริมอาชีพ สร้างคุณค่าให้กับคนพิการสามารถเลือประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับความพิการได้ จึงได้จ้างคนพิการทำงานในบริษัทเป็นอัตราประจำ 4 ราย พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนการใช้สิทธิตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อีกจำนวน 49 ราย โดยในปี 2566
ได้รับความร่วมมือจาก 8 องค์กรปกครองท้องถิ่นรอบเขตประกอบการอุดสาหกรรมไออาร์พีซี ในการสรรหาคนพิการที่มีความเหมาะสมตามข้อกำหนดของ พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิดคนพิการ ซึ่งได้รับการรับรองสิทธิ์จากสำนักงานจัดหางานจังหวัดระยองเรียบร้อยแล้ว คนพิการที่ได้รับการส่งเสริมทั้ง 49 รายนั้น แบ่งเป็นการสนับสนุนอาชีพ 16 ราย จ้างเหมาช่วงงานเพื่อปฏิบัติงานในองค์กรปกครองท้องถิ่น 8 แห่ง อีก 33 ราย โดยใช้งบประมาณในการสนับสนุนรวม
5,866,280 บาท เพื่อให้คนพิการที่ได้รับการส่งเสริมตามมาตรา 35 ได้มีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิและหน้าที่ รวมถึงแนวทางส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการของราชการ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระยองและสำนักงานจัดหางานจังหวัดระยอง เพื่อให้คนพิการสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ตรี มีความสุข พึ่งพาคนเองได้ และมีคุณภาพชีวิดที่ดีขึ้นนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในการวิจัยและพัฒนาขาเทียมเพื่อคนพิการ มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งสามารถช่วยเหลือคนพิการได้ทั้งสิ้น 35,955 ขา