ปทุมธานี ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปทุมธานีทอดผ้าป่าสามัคคีการศึกษาสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.5

ปทุมธานี ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปทุมธานีทอดผ้าป่าสามัคคีการศึกษาสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.5

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานร่วมทอดผ้าป่าการศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี โดยมีนายพิษณุ เดชใด ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ให้การต้อนรับพร้อมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สมาคมผู้ปกครอง ชมรมครู ชมรมศิษย์เก่า คณะครูและนักเรียน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาที่ได้ร่วมการจัดตั้งองค์ผ้าป่าสามัคคีมหากุศล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาทุนสมทบในการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคณะครูบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน และประชาชนทั่วไป


โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี ได้ใช้พระเกี้ยวไปสัญลักษณ์พระเกี้ยวเป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศาหรือพระเศียรของพระราชโอรสพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ คำว่า เกี้ยว ถ้าเป็นคำนามแปลว่า เครื่องประดับศีรษะหรือเครื่องสวมจุก ถ้าเป็นคำกริยา แปลว่า ผูกรัดหรือพัน พระเกี้ยวเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภูมิใจ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก ชื่อของมหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ ในสมเด็จพระปิยมหาราช ซึ่งได้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัยนี้ จุฬาลงกรณ์ แปลว่าเครื่องประดับศีรษะ หรือจุลมงกุฎจุลมงกุฎมีความหมายสำคัญยิ่งคือ เกี่ยวโยง ถึงพระนามาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์จึงมีความหมายว่าจุลมงกุฎ หรือพระราชโอรสของสมเด็จฯเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ยิ่งกว่านั้นยังมีความเกี่ยวกันถึงพระปรมาภิไธย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งหมายความว่า “พระจอมเกล้าน้อย”
ผู้มีจิตศรัทธาจะร่วมทำบุญจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเทสโก้โลตัส บ้านฟ้าลำลูกกา บ/ช 392-254793-2 ชื่อบัญชี นายสาธิต ภู่หอมเจริญ และ/หรือ นางอักษร กลแกม และ/หรือ นางนิรมล แพงวิเศษ (ชื่อบัญชีดังกล่าวเป็นชื่อของผู้แทนคณะกรรมการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5)

ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน

Related posts