“สมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม” จัดกิจกรรมโครงการหลักสูตรโครงการดีๆ เพื่อสังคมไทย
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน 2565 ณ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมชุมชนบ้านคู่คลองเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ บริเวณตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร “สมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม” จัดกิจกรรมโครงการสร้างจิตอาสาสื่อเฝ้าระวังป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชน (ช่วงที่ 2) ภายใต้ยุทธศาสตร์แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 ( ปี 2561 – 2565 ) หลังจากดำเนินโครงการฯในช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งการจัดอบรมและบรรยายโครงการฯในช่วงที่ 2 นี้ เพื่อให้เป็นโครงการที่สมบูรณณ์ และพร้อมขับเคลื่อนโครงการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่จะร่วมมือร่วมใจกันดูแล สอดส่อง รักษาความสงบสุขของสังคมให้มีความน่าอยู่และปลอดภัย
โดยได้รับเกียรติจาก “นายชูชาติ พรหมพิมพ์” (ภาคเอกชน) เป็นวิทยากรบรรยายจัดทำแผนการขับเคลื่อนจิตอาสาด้านสื่อมวลชนเฝ้าระวัง และปัญหาความรุนแรงในชุมชน 4 พื้นที่ และยังได้รับเกียรติจาก อ.มุกดา ไทยหอม ผู้ประสานปปช.งานโซนกรุงธนเหนือ ร่วมเป็นประธาน มอบของรางวัล จาก ปปช.โดยมี “ว่าที่ รต.ธนัท ชัชวาล” (ภาคเอกชน) เป็นวิทยากรบรรยายฯ และมีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมกับสื่อมวลชนโครงการฯจำนวน 40 ท่าน ในการสร้างจิตอาสาเฝ้าระวัง การแจ้งเหตุ การส่งต่อ และประสานงาน จากนั้นช่วงบ่าย ยังได้รับเกียรติจาก “คุณศุภวิทย์ ดิษฐายานุรักษ์” (ถาคเอกชน)เป็นวิทยากร บรรยายนำเสนอการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมในแต่ละประเด็นที่รับผิดชอบดำเนินการในชุมชน แบะสรุปผล พร้อมทั้งปิดโครงการฯเวลาประมาณ 15.30 น.
ทั้งนี้ “นายธวัชชัย กิตติรัตนวิวัฒน์” นายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อสังคม หวังว่าการจัดกิจกรรม โครงกา”สร้างจิตอาสาสื่อเฝ้าระวังป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชน เพื่อปลอดอาชญากรรม และยาเสพติด เพื่อให้ “กรุงเทพมหานครเป็นเมืองปลอดอาชญากรรมปลอดยาเสพติด มีขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การรักษาความ สงบเรียบร้อยการควบคุมอาชญากรรมยาเสพติด” ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาอาชญากรรม และปัญหายา เสพติด ยังคงเป็นปัญหาหลักในสังคมไทย ซ้ำยังส่งผลกระทบไปถึงการดารงชีวิตของประชาชนใน ทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับครอบครัว จะพบเห็นตามข่าว สื่อทีวีทุกช่อง หรือตามสื่อโซเชียล พบว่า ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวและ สังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผู้เสพเกิดอาการคุ้มคลั่งประสาทหลอน ทาร้ายร่างกาย ทุบตี ทารุณกรรมบุคคลในครอบครัว กระทั่งก่ออาชญากรรม ทาให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ทางสมาคมฯ ได้ตระหนักและร่วมกันคิดมาโดยตลอดว่า สื่อมวลชนจะสามารถช่วยเหลือ เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารในการเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในชุมชน โดยการ ร่วมมือกับชุมชนและภาคีเครือข่ายต่างๆ และขอขอบพระคุณ เงินสนับสนุนจาก กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร “สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร “ที่ให้การสนับสนุนจัดโครงการฯครั้งนี้และจะมีประชาชนจิต อาสาที่มาจาก 4 เขต คือ เขตตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด ทางสมาคมฯคาดหวังว่า เมื่อจบโครงการฯ จะสามารถพัฒนาและจัดตั้งเครือข่ายภาคี สื่อมวลชนเพื่อสังคม (ภาคประชาชน) ในพื้นที่ โดยจะคัดเลือกจิตอาสา จานวน 40 คน จาก ทั้งหมดที่เข้าร่วมอบรม
ดังนั้น เพื่อให้กิจกรรมโครงการฯ สามารถขับเคลื่อนต่อไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดเป็นที่เรียบร้อย