ฉะเชิงเทรา หน่วยงานรัฐ อำเภอ บก.ปทส. กรมควบคุมมลพิษลงตรวจโรงงานรีไซเคิ้ลที่ถูกสั่งปิดมาก่อนหน้า3เดือน

ฉะเชิงเทรา หน่วยงานรัฐ อำเภอ บก.ปทส. กรมควบคุมมลพิษลงตรวจโรงงานรีไซเคิ้ลที่ถูกสั่งปิดมาก่อนหน้า3เดือน

ภาพมุมสูงจับภาพโรงงาน จากการกายเป็นคนละเรื่อง หลังหน่วยงานภาครัฐผนึกกำลัง ลงพื้นที่ตรวจโรงงานรีไซเคิ้ลแห่งหนึ่งในพื้นที่ ตำบลหัวสโรง อำเภอแปลงยาว จากกรณีที่มีเพจเฟชบุ๊ค และสื่อฯ ไปลงข่าวว่า มีน้ำเน่าเสียในพื้นที่ตำบลหนองแหน ซึ่งจริงแล้ว เป็นพื้นที่ดูแล ของ อบต.หัวสำโรง ซึ่งโรงงานนี้ได้เกิดเหตุไฟไหม้เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 และไม่มีใบอนุญาต ทางนายก.อบต.หัวสำโรงจึงได้ออกหนังสือสั่งปิดตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน2565 ทันที และในการร่วมลงพื้นที่ตรวจวันนี้ก็ไม่พบความผิดปกติดใดๆ ด้วยไม่มีการทำงาน มีเพียงการอยู่ระหว่างการแก้ไข ที่มีสภาพน้ำขังในบางจุดเนื่องจากเป็นหน้าฝน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 นายสมชาย นพเกตุ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.หัวสำโรง เป็นตัวแทนนายธนะเกียรติ นพเกตุ นายก อบต.หัวสำโรง ให้การต้อนรับ คณะเจ้าหน้าที่จากกรมมลพิษ บก.ปทส. สำนักงานสิ่งแวดล้อม ตัวแทนอำเภอ ร่วมลงตรวจโรงงานรีไซเคิ้ลที่ตกเป็นข่าวในโลกโซเชี่ยวว่า มีการลักลอบทิ้ง น้ำเสีย กากของเสีย ที่ตำบลหนองแหน จนทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ส่งผลให้อาจเกิดน้ำเสียลงสู่รำคลอง ภาคการเกษตร โดยมีทนายนิพนธ์ ซึ่งเป็นทนายของโรงงานดังกล่าวมาให้ข้อมูลกับหน่วยงาน

จากการลงพื้นที่ ทางหน่วยงานได้มีการเดินสำรวจทุกจุดของโรงงาน ไม่พบว่ามีการดำเนินการใดๆ คือสภาพโรงงานปิดดำเนินการ ส่วนพื้นดินที่มีน้ำด้วยช่วงนี้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้มีการตรวจวัด พร้อมเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อไปตรวจสอบตามกระบวนการ ซึ่งโรงงานนี้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11 ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว ไม่ใช่ตำบลหนองแหนตามที่มีสื่อฯบางสื่อไปนำเสนอ และอ้างถึงหนังสือที่ ฉช 73505/471 ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เซ็นคำสั่งโดย นายธนะเกียรติ นพเกตุ นายก อบต.หัวสำโรง เรื่อง คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้หยุดการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติของสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้วย อบต.หัวสำโรง ได้ลงตรวจโรงงานนี้ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงงาน ทำให้เกิดกลุ่มควันดำ และกลิ่นเหม็น และพบว่าท่านไม่มีเอกสารยืนยันการขออนุญาต

ทางด้าน นายธนะเกียรติ นพเกตุ นายก อบต.หัวสำโรง จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา45แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข2535 ให้หยุดประกอบกิจการ จนกว่าจะดำเนินการขออนุญาติแล้วเสร็จโดยทันที หากฝ่าฝืนมีความผิดตามประมวลกฎหมาย และในการตรวจก็เป็นไปตามขั้นตอนที่หน่วยงานต่างๆได้ลงพื้นที่ตรวจในวันนี้

โดยนายสมชาย นพเกตุ ผอ.กองสาธารณสุข อบต.หัวสำโรง เป็นตัวแทนนายธนะเกียรติ นพเกตุ นายก อบต.หัวสำโรง ก็ได้แสดงความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมยืนยันว่าทาง อบต.หัวสำโรง มีความห่วงใยใส่ใจต่อชาวบ้าน และจะยังคงยึดตามหนังสือคำสั่งให้โรงงานยังคงหยุดดำเนินกิจการต่อไป ขณะที่ทนายนิพนธ์ ทนายของโรงงาน ก็บอกว่าดีใจที่วันนี้ทุกฝ่ายมาตรวจ พร้อมยืนยันว่าทางโรงงานทำตามคำสั่ง อบต.หัวสำโรงนับจากวันติดประกาศ 6 มิถุนายน 2565 มาเป็นเวลา 3 เดือน ไม่มีการดำเนินกิจการ คงเพียงอยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไข เพื่อดำเนินการทำเอกสารขออนุญาตให้ถูกต้องตามระเบียบการ

ชาวบ้านในพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงโรงงาน เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่าโรงงานนี้หลังจากเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ปิดโรงงาน ส่วนกลิ่นไม่ค่อยมี ซึ่งจากการลงพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบโรงงานตามที่เป็นข่าวในเพจเฟสบุคนั้น อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ อบต.หัวสำโรง ไม่ใช่ อบต.หนองแหน และทาง อบต.หัวสำโรงได้สั่งปิดโรงงานดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 6มิ.ย2565 จนถึงปัจจุบันและก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

Related posts