SCGC รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รางวัลธงขาว-ดาวทอง และ รางวัลธงขาว-ดาวเขียว ประจำปี 2565 จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

SCGC รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รางวัลธงขาว-ดาวทอง และ รางวัลธงขาว-ดาวเขียว ประจำปี 2565 จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ระยอง – วันที่ 25 กรกฎาคม 2565: บริษัทในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ เอสซีจีซี (SCGC) เข้ารับรางวัลโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยได้รับรางวัลธงขาว-ดาวทอง และรางวัลธงขาว-ดาวเขียว ตามโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ประจำปี 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายพรเทพ ภูริพัฒน์ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัลแก่บริษัทที่ผ่านเกณฑ์ ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และคณะผู้บริหารจาก SCGC ร่วมพิธีรับมอบ ณ ห้องประชุมสมเจตน์ สำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
โดยบริษัทในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี เคมิคอลส์ หรือเอสซีจีซี (SCGC) ที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยยอดเยี่ยมต่อเนื่อง 6 ปี (ธงขาว-ดาวทอง) ได้แก่ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด บริษัท แกรนด์สยามคอมโพสิต จำกัด บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด บริษัท ไทยเอ็มเอ็ฟซี จำกัด บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด และบริษัท ระยอง เทอร์มินอล จำกัด

สำหรับบริษัทที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยยอดเยี่ยม (ธงขาว-ดาวเขียว) ประจำปี 2565 ได้แก่ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด บริษัท แกรนด์สยามคอมโพสิต จำกัด บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด บริษัท ไทยเอ็มเอ็ฟซี จำกัด บริษัท ไทยเอ็มเอ็มเอ จำกัด บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด บริษัท ระยอง เทอร์มินอล จำกัด และบริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลใน 13 ด้าน ได้แก่ การจัดการพื้นที่สีเขียว ระบบระบายน้ำ การส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจชุมชน การจัดการน้ำ การจัดการกากอุตสาหกรรมและลดปริมาณของเสีย การจัดการคุณภาพอากาศ การจัดการไอระเหยของสารเคมี (เฉพาะโรงงานที่มีสาร VOC) ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน การจัดการอุบัติเหตุและอุบัติภัย ข้อร้องเรียนที่มีต่อโรงงานฯ นั้น ๆ คุณภาพชีวิตและสังคมของพนักงานในโรงงาน คุณภาพชีวิตและสังคมของชุมชนโดยรอบ และการบริหารจัดการโรงงาน โดยได้มีการจัดตั้งภาคีเครือข่ายของหน่วยงานและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ให้ได้เข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของแต่ละโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ เพื่อให้ชุมชนและอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

 

ธีรวัฒน์ อินธิพันธ์ รายงาน

Related posts