ขอนแก่น – กฟผ.เขื่อนอุบลรัตน์ เดินหน้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เขื่อนอุบลรัตน์ จัดโครงการนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมภารกิจ กฟผ. และสานเสวนา ปี 2565 ระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2565 ณ เขื่อนสิรินธร อุบลราชธานี เพื่อให้สื่อมวลชนมีความเข้าใจภารกิจของ กฟผ.โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ตามเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ. และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง กฟผ. กับสื่อมวลชน โดยเมื่อช่วงเช้าถึงบ่าย ของวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 นายอาทิตย์ พรคุณา วศ.10 กธอ-ฟ. กล่าวต้อนรับคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายนที ศรีสมรรถการ หชขธ-ย. และผู้ปฏิบัติงานเขื่อนสิรินธร ร่วมให้การต้อนรับคณะสื่อมวลชนจังหวัดขอนแก่น นำโดยนายเจริญ เพ็งมูล นายกสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะสื่อมวลชนรวมจำนวน 40 คน
จากการจัดกิจกรรมของแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ เขื่อนอุบลรัตน์ (หชฟอ-ย.) มอบหมาย นายชาญชัย พรนิคม เป็นผู้ประสานและนำคณะสื่อฯศึกษาดูงานเชิงประจักษ์แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร แหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เตรียมเดินหน้าต่อโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และร่วมรับฟังบรรยายสรุปโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-Floating Solar Hybrid Project) กำลังผลิตไฟฟ้า 45 เมกะวัตต์ (MWac) จาก นายชนินทร์ สาลีฉันท์ วศ.11 อพพ. ณ ห้องประชุมอาคารช้างน้อย เขื่อนสิรินธร อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ
ร่วมกับ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
เพื่อการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้รับมอบหมายให้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำตามเขื่อนต่างๆ.ของ กฟผ. มีกำลังผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561- 2580 (PDP2018) โดยนำร่องโครงการแรกที่เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีเป็นการผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์และพลังน้ำที่มีอยู่เดิม ควบคุมด้วยระบบจัดการพลังงาน (Energy Management System : EMS) ร่วมกับการพยากรณ์อากาศ (Weather Forecast System) มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ จึงเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าของประเทศ โดยมีแผนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ เป็นการพัฒนาพื้นที่ผิวน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนกฟผ.และใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมให้เต็มประสิทธิภาพ
เช่น สถานีไฟฟ้าแรงสูง หม้อแปลงสายส่งเป็นต้นซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องลงได้ ส่งผลให้ได้ราคาที่ถูกและสามารถแข่งขันได้ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดดับเบิลกลาส (Double Glass) ซึ่งเป็นแผ่นกระจกทั้งด้านบนและด้านล่าง มีความแข็งแรงทนทานสูงและทนความขึ้นได้ดี สามารถออกแบบวางชิดผิวน้ำซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ถึง10-15 เปอร์เซ็นต์ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำใช้ทุ่นลอยน้ำเป็นทุ่นพลาสติกชนิด High Density Poly Ethylene (HDPE) ผสมUV Protection ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีอายุการใช้งานนานกว่า 25 ปี ซึ่งเป็นวัสดุชนิดเดียวกับท่อส่งน้ำประปา
จากนั้น ได้นำคณะฯ ล่องแพท่องเที่ยวในอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร เพื่อดูสถานที่จริงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำฯ เขื่อนสิรินธร โดยมี นายชนินทร์ สาลีฉันท์ วศ.11 อพพ.ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมการประสานงานความร่วมมือประชาสัมพันธ์ ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำฯ เขื่อนสิรินธร ระหว่างการล่องแพท่องเที่ยว และได้นำคณะฯ เยี่ยมชมทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway) อาคารสิรินธารประภากร เขื่อนสิรินธร พร้อมได้ให้สัมภาษณ์ เรื่องโครงการฯ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบเขื่อนสิรินธร นายชนินทร์ สาลีฉันท์ วศ.11 อพพ. , นายนที ศรีสมรรถการ หชขธ-ย. ณ ทางเดินชมธรรมชาติ (Nature Walkway)