ศ.สุชาติ!​ ญี่ปุ่น​ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย​ ปล่อยค่าเยนอ่อน​ ไม่กังวลเงินเฟ้อ​ เพราะเศรษฐกิจ​ยังติดลบ

ศ.สุชาติ!​ ญี่ปุ่น​ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย​ ปล่อยค่าเยนอ่อน​ ไม่กังวลเงินเฟ้อ​ เพราะเศรษฐกิจ​ยังติดลบ


1.ศาสตราจารย์​ ดร.สุชาติ​ ธา​ดา​ธำ​รง​เวช​ อดีตรัฐมนตรี​ว่าการกระทรวงการคลัง​ และอดีตหัวหน้าพรรค​เพื่อ​ไทย​ กล่าวว่า​ ประเทศญี่ปุ่น​ ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย​ ปล่อยค่าเงินเยนลดลงต่อเนื่อง​จนถึง 135 เยนต่อเหรียญ​ฯ​ ต่ำสุดในรอบ​ 24​ ปี และยังไม่กังวลเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.5% และราคาอาหารเพิ่มขึ้น​ 4% เมื่อ​เมษายน​ 2565​ เพราะเศรษฐกิจ​ญี่ปุ่นยังเติบโตติดลบ​ 0.1-0.2%

2.เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นมาก​ในสหรัฐฯ อังกฤษ​ ยุโรปบางประเทศ ที่สูงขึ้นเกือบ​ 9% นั้น​ เพราะเขาทำ​นโยบาย QE คือพิมพ์แบงค์มา​ใช้​ จนมากเกินไป​ จึงทำให้เขาต้องขึ้นดอกเบี้ย​ เพื่อลดความต้องซื้อลง​ (Demand​ ​​side)​ มิฉะนั้น​ เงินเฟ้อในประเทศเขาอาจคุมไม่อยู่​ ทำให้ชีวิตประชาชนแย่ลง​ เพราะข้าวของแพงขึ้น

3.แต่ประเทศที่เงินเฟ้อไม่สูง​ และเศรษฐกิจ​ยังเจริญเติบโตต่ำ​ ไม่จำเป็นต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยตาม

4.กรณี รัฐบาลญี่ปุ่น​ ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อยังต่ำ​ โดยในอดีต​เมื่อเงินเฟ้อต่ำเกินไป​ จนติบลบ​ ได้ทำให้ (ก)​ ประชาชนไม่อยากใช้จ่าย​ เพราะคิดว่าสินค้าจะลดราคาลงต่อเนื่อง​ (ข)​ การลงทุนก็น้อยลง เพราะผลิตขายแล้วไม่มีกำไร​ กำลังซื้อก็น้อย

​5.ดังนั้น​ หากรัฐบาลญี่ปุ่นปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น​ 3-4% (โดยเป้าหมายระยะยาวของแบงค์ชาติ​ญี่ปุ่น คือ​ 2%) จะทำให้​ความต้องการซื้อและต้องการลงทุน (Demand side) เพิ่มขึ้น​ ซึ่งเป็นจะผลดีต่อความเจริญเติบโต​ทางเศรษฐกิจ การลงทุน​ การจ้างงาน​ และรายได้ประชาชน

6.รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปล่อยให้ดอกเบี้ยระยะสั้นของ​ธนาคารกลาง (BOJ) ยังต่ำอยู่​ คือ​ติดลบ​ 0.1 เพื่อเพิ่ม​ (ก) การบริโภค (ข)​การลงทุน​ และยังปล่อยให้ค่าเงินเยนอ่อนลง เพื่อเพิ่ม (ค) รายได้การส่งออกในรูปเงินเยน​ ทั้ง​ 3 ประการ จะทำให้​ผลผลิตและรายได้​ (GDP) สูงขึ้น

7.ดังนั้น​ การที่โลกขึ้นดอกเบี้ย​ จึงไม่จำเป็นที่ประเทศอย่างเราๆ​ ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยตามเสมอไป​ เราต้องเลือกระหว่างการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ​ กับ​การรักษาเสถียรภาพ​ หากระบบเศรษฐกิจ​ยังเจริญเติบโต​ต่ำ​ จ้างงานน้อย​ รายได้ประชาชนต่ำ​ ก็ควรเลือกการสร้างความเจริญเติบโตก่อน​ ให้มีรายได้ทันเงินเฟ้อ​

8.ซึ่งจะดีกว่า​ไปขึ้นดอกเบี้ยเพื่อหวังจะลดเงินเฟ้อ​ แล้วเศรษฐกิจ​ไม่เจริญเติบโต​ รัฐบาลและประชาชน​ มีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น​ และยิ่งเงินเฟ้อมาจากด้านต้นทุนนำเข้าที่สูงขึ้น​ (Imported Cost Push Inflation)​ การขึ้นดอกเบี้ยก็อาจไม่ลดเงินเฟ้อ​ลง แต่จะทำให้เศรษฐกิจ​การจ้างงานลดลง​ แต่ภาระหนี้ประเทศเพิ่มขึ้น​..ดร.สุชาติ​ กล่าว

Related posts