“อลงกรณ์”ประกาศขับเคลื่อน”5ยุทธศาสตร์-15นโยบายปฏิรูปภาคเกษตร”สู่เกษตรมูลค่าสูงจับมือสภาอุตสาหกรรมฯ.เดินหน้าโครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศ
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ณ แปลงสับปะรดของ นายสมชาย ทองประเสริฐ ม.10 ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี ในวันนี้โดยมี นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี ผู้อำนวยการสำรักการส่วเสริมแบะพัฒนาการเกษตรที่2 นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรกว่า 200 คน เข้าร่วมงาน
นายอลงกรณ์ กล่าวในระหว่างเปิดงานว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้วางนโยบาย “5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย” ที่มุ่งกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้กับประเทศ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมจึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต , เทคโนโลยีเกษตร 4.0, “3’s” (Safety-Security-Sustainability- เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน) , การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
ภายใต้ 15 นโยบายหลัก เช่นนโยบายการส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืน ระหว่างเกษตรกรกับ ผู้ประกอบการ โดยร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิตมีราคาที่เป็นธรรมสำหรัยเกษตรกร และนโยบายแปลงใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนเดินหน้าเกษตรมูลค่าสูงมุ่งเน้นการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ โดยเน้นย้ำให้เกษตรกร และหน่วยงานราชการให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี ทั้งจากศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) รวมถึงภูมิปัญญาทัอวถิ่นและศาสตร์พระราชามาใช้ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ มุ่งหวังยกระดับรายได้เกษตรกรและสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคง และยั่งยืน อีกทั้งให้หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันดำเนินงานใน 2 โครงการใหญ่ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับขับเคลื่อน คือ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ และโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร
“เรากำลังเร่งขับเคลื่อน5ยุทธศาสตร์15นโยบายปฏิรูปภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงโดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเดินหน้าโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรใน18กลุ่มจังหวัดครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศ”
สำหรับการจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ในวันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ ในพื้นที่ของเกษตรกร ซึ่งการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยี มีเป้าหมายสำคัญ 2 ระดับ คือ (1) การทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ และ (2) การทำให้กลุ่มเป้าหมายนำข้อมูลไปใช้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ที่ได้รับ ทั้งนี้ ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และการแข่งขันในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก
รวมถึงกลไกการค้า ที่มุ่งเน้นคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตั้งแต่การผลิตที่ต้นทาง และการบริโภคปลายทาง พี่น้องเกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีข้อมูล และความรู้ที่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เพื่อพร้อมรับมือ อาทิ การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น การเพาะปลูกตามความเหมาะสมของดินและการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง การเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของตนและการลดการพึ่งพากลไกราคาด้วยการทำไร่นาสวนผสม เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูปผลผลิต การบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นต้น โดยกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ในวันนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของเกษตรกรก่อนเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2565 เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปลูกสับปะรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ สร้างผลตอบแทนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ปลูกสัปปะรดกว่า 67,000ไร่ได้ผลผลิตกว่า130,000ตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสัปปะรดโรงงานป้อนให้กับโรงงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งอยู่ติดกัน
นอกจากนี้จะมีการตั้งศูนย์สัปปะรดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองหลวงสัปปะรดของโลก ในขณะที่กระทรวงเกษครและสหกรณ์โดยกรมวิชาการได้พัฒนาสัปปะรดโรงงาน”พันธ์ุเพชรบุรี2”สำเร็จแล้วเป็นพันธ์ุที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงและเริ่มเผยแพร่หน่อพันธ์ุไปยังเกษตรกรแล้ว
พร้อมกันนี้ที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ.และคณะได้มอบพันธ์ุปลาพันธ์ุพืชและสารชีวภัณฑ์ให้กับเกษตรกรเพชรบุรี และได้เยี่ยมชมนิทรรศการความรู้ต่างๆเช่น การวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จากต้นกล้วยฟางข้าวหญ้าเนเปีย ตลอดจนการให้บริการและความรู้กับเกษตรกรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 5 สถานี คือ สถานีการเพิ่มผลผลิต สถานีการลดต้นทุน สถานีพัฒนาคุณภาพผลผลิต สถานีเพิ่มมูลค่าสร้างทางเลือก และสถานีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมทั้งฟาร์มแพะ-โคต้นแบบและฟาร์มผึ้งซึ่งมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆตลอดจนข้าวเกรียบผำหรือไข่น้ำที่เป็นซูเปอร์ฟู้ดอีกด้วย.