จุรินทร์ ถก กรอ.ภาคใต้ ขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจในพื้นที่ ต่อยอด ภาคการเกษตร ตลาดต่างประเทศ ครัวฮาลาล หวังชาวใต้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น
วันที่ 22 เมษายน 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ภาคใต้ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยมีนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รองผวจ.สงขลา รองผวจ.ยะลาปลัดกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าส่วนราชการ และภาคเอกชนเข้าร่วมประชุม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมบุรีศรีภู อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
โดยที่โครงสร้างเศรษฐกิจของภาคใต้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ ปี ๒๕๖๒ มีมูลค่า ๑.๔๗ ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ๒๔๓,๗๘๗ บาทต่อคนต่อปี โดยจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต รองลงมาคือจังหวัดพังงา และจังหวัดชุมพร ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคใต้ยังคงพึ่งพิงภาคเกษตรเป็นหลัก (ร้อยละ ๒๒) รองลงมาเป็นสาขาการท่องเที่ยว (ร้อยละ ๑๖) พาณิชย์
และสาขาการค้า (ร้อยละ๑๑) ตามลำดับ โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลปี ๒๕๖๔ เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากปี ๒๕๖๓ เนื่องจากการฟื้นตัวของ
ภาคการผลิตและส่งออก ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัวส่งผลต่อเนื่องให้การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้น ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัวน้อยลงจากกำลังซื้อที่ลดลง ภาคการท่องเที่ยวยังคงหดตัวใกล้เคียงเดิม เป็นผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-๑๙ ระลอกสาม ที่รุนแรง และยืดเยื้อ โดยมีอัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ๑.๖๙ ปรับสูงขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด
รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยต่อด้วยว่า การประชุมในวันนี้ มีผลสรุปที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.การกระจายผลไม้ภาคใต้และเพิ่มพื้นที่กระจายผลไม้ในสถานีบริการน้ำมัน เพิ่มพื้นที่เฉพาะเพื่อระบายผลไม้ในแต่ละจังหวัด และการเปิดตลาดผลไม้ในต่างประเทศ 2.การส่งเสริมสนับสนุนจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นครัวโลกด้านสินค้าฮาลาล โดยการคัดเลือกสินค้าที่มีความโดดเด่นในเบื้องต้น 20 รายการและจะขยายเป็น 200 รายการในเร็ววัน 3.การส่งเสริมตลาดสมุนไพรไทย ในประเทศที่นิยม คู่ค้า โดยเริ่มแรกคือประเทศภูฏาน 4.แก้ไขปัญหาจากสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยที่เรียกร้องให้ลดต้นทุนการจัดส่งสินค้าออนไลน์
5. จ.กระบี่ ขอจัดกระบี่streetfood อาหาร ศิลปะ กีฬา ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่จังหวัด 6.จ.พังงา ขอให้ช่วยสร้างแบรนด์ของความเป็นพังงา เพื่อการประชาสัมพันธ์
7.ศอ.บต.ได้ดำเนินการกิจกรรมที่สำคัญได้แก่ 1.ให้จชต.เป็นเมืองปศุสัตว์ปี65-69 กองทุนฟื้นฟูและพัฒนา 30,000 ตัว ปน.9,000 ยะลา 6,000 นรา10000 2.เมืองผลไม้ 3.การดำเนินการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ขับเคลื่อนเชื่อมด่านสะเดากับฝั่งมาเลเซีย หาจุดที่ลงเพื่อทำถนนเชื่อมกัน งบ 251 ล.ของบกลางปี65ไปจ่อที่ฝั่งมาเลย์
นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา
////