สระแก้ว-หลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้แรงงาน MOU ชาวกัมพูชาเดินทางข้ามชายแดนเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565
*****เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 22 เมษายน 2565 บริษัท เค.พี พันล้านอิมพอร์ดเตอร์ จำกัด โรงแรมทัพทองคำ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยนายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว นายวัลลภ ประวัติวงค์ ปลัดจังหวัดสระแก้ว นายรัตน์นริศ หิรัญธนไชยา รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่หนองไทร นายธีรพงษ์ เกีนรติเลิศธรรม ผู้จัดการบริษัท เค.พี พันล้านอิมพอร์ดเตอร์ จำกัด นายอดุล หาญชิงชัย สาธารณสุขอำเภออรัญประเทศ หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าตรวจสถานที่รับแรงงาน MOUว่ารับแรงงานได้หรือไม่
*****นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า จนถึงปัจจุบัน มีแรงงานMOU ชาวกัมพูชาเดินทางข้ามชายแดนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้วแล้วจำนวน 3,845 คน แยกเป็นชาย 2,131คน และหญิง 1,714 คน โดยแรงงานทั้งหมดได้เข้ารับการกักตัวที่ศูนย์ OQ รับแรงงานMOU ชาวกัมพูชาเข้าทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ด้วยกันจำนวน 7 ศูนย์OQ โดยศูนย์OQ ทั้ง7 ศูนย์ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.วัฒนานคร 2 ศูนย์ฯ และในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ 5 ศูนย์ฯ ซึ่งแรงงานทั้งหมดที่เข้ารับการกักตัวที่ศูนย์ OQฯ ดังกล่าวจะต้องกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และรับการฝึกอบรม วัฒธรรมประเพณีของคนไทยในเบื้องต้น และอบรมข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับอาศัยอยู่ในประเทศ โดยมีระยะเวลากักตัวและอบรมเป็นเวลา 7 วันหลังจากครบกำหนดระยะเวลา 7 วัน แรงงานจะสามารถเดินทางไปทำงานกับบริษัท หรือโรงงานต่างๆที่ทำMOUกันไว้ตามข้อตกลงของรัฐบาลไทยและกัมพูชา กระทรวงแรงงาน kick off นำเข้าแรงงานต่างด้าวตามม.64 ในพื้นที่ 8 จังหวัดติดพรมแดนเริ่มวันแรก กระทรวงแรงงานเปิดให้นำเข้าแรงงานตาม ม.64 ใน 8 จังหวัด ศรีสะเกษ สุรินทร์ สระแก้ว ตราด เชียงราย ตาก กาญจนบุรี และระนอง ทำงานบริเวณชายแดนแบบไป – กลับ และตามฤดูกาล พร้อมแจง 5 ขั้นตอนการเข้ามาทำงานในสถานการณ์โควิด – 19
*****นายรัตน์นริศ หิรัญธนไชยา รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่หนองไทร เปิดเผยว่า รวม 8 จังหวัด เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการลักลอบทำงานอย่างผิดกฎหมาย หลังจากสำรวจความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวของนายจ้าง สถานประกอบการ และพบความต้องการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 32,479 คน จึงมีการเร่งดำเนินการวางแนวทางการนำคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ที่เข้ามาทำงานบริเวณชายแดนตามฤดูกาลในพื้นที่ความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ( มาตรา 64) โดยใช้แนวทางเดียวกับการนำเข้าแรงงานชาวกัมพูชามาทำงานตามฤดูกาลภาคเกษตรในพื้นที่สระแก้ว ที่เปิดนำร่องการนำเข้าฯเป็นจังหวัดแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ซึ่งขณะนี้กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามมาตรา 64 เป็นที่เรียบร้อย ตามที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน
*****นายธีรพงษ์ เกีนรติเลิศธรรม ผู้จัดการบริษัท เค.พี พันล้านอิมพอร์ดเตอร์ จำกัด กล่าวว่า กรมการจัดหางานจัดทำแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาเข้ามาทำงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยมี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. นายจ้างประสานลูกจ้าง เพื่อจัดเรียมเอกสารและนัดหมายวันเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวเตรียมหลักฐาน ได้แก่ หลักฐานการตรวจโควิด – 19 โดยวิธี RT- PCR หรือผลรับรองการตรวจ ATK ไม่เกิน 72 ชม.ก่อนเดินทางเข้ามา เอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด 2. ด่านควบคุมโรคติดต่อฯ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการตรวจโควิด – 19 และเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดำเนินการตรวจโรคตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าว และทำประกันสุขภาพระยะเวลา 3 เดือน และออกใบรับรอง ต.8
3. ด่านตรวจคนเข้าเมืองฯ ดำเนินการตรวจบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ หรือเอกสารอื่นที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และดำเนินการตรวจประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในบัตรผ่านแดน เป็นระยะเวลา 30 วันต่อครั้ง 4. สถานที่กักตัว โดยคนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบแล้วให้เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน และให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 โดยวิธี RT – PCR จำนวน 2 ครั้ง กรณีตรวจพบเชื้อให้เข้ารับการรักษาโดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา 5. การขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยสำนักงานจัดหางานจังหวัดฯ ดำเนินการตรวจสอบเอกสาร ได้แก่ 1.คำขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64 (แบบ บต. 29) 2.สำเนาบัตรผ่านแดนหรือเอกสารซึ่งอธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด และสำเนาหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 3.ใบรับรองแพทย์ (6 โรค) 4.รูปถ่ายขนาด 3 x 4 ซม. จำนวน 3 รูป 5.สัญญาจ้างและหนังสือรับรองการจ้าง 6.เอกสารนายจ้าง 7.หลักฐานการกักตัวครบกำหนดไม่พบเชื้อโดยจัดเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ฉบับละ 100 บาท ค่าใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ 225 บาท และออกใบอนุญาตทำงานแบบ บต.40 ไม่เกิน 3 เดือนดังกล่าว
***ภาพ/วีระยุทธ สารการ /ข่าว ประสาน โพธิ์ทอง /บูรพาทีวีออนไลน์ รายงาน