โครงการ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ทำ บีอาร์เอ็น หวั่นไหว ฉวยโอกาสส่งสารถึงชาว”ปาตานี” โจมตีการพัฒนาของ รัฐบาล

โครงการ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ทำ บีอาร์เอ็น หวั่นไหว ฉวยโอกาสส่งสารถึงชาว”ปาตานี” โจมตีการพัฒนาของ รัฐบาล

 


เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2565 กรมประชาสัมพันธ์ ขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น โดยผู้ทำหน้าที่ “โฆษก” บีอาร์เอ็น ได้ทำการ”ปล่อยคลิปเสียงต้อนรับเดือน”รอมฎอน” หรือเดือน”ถือศีลอด” ซึ่งคาดว่าจะเป็นวันที่ 3 เมษายน เป็นต้นไปเป็นเวลา 1 เดือนในเพจเฟสบุ๊สชื่อ”Berita Melayu Patani “ ซึ่งในข้อความนอกจากจะเป็นกล่าวต้อนรับเดือนรอมฎอน ซึ่งในศาสนาอิสลามเชื่อว่าเป็นเดือนแห่งความประเสริฐ เพื่อเป็นการ”สื่อสาร” กับผู้นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว


โฆษก ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน บีอาร์เอ็น จะได้กล่าวถึง เรื่องการ”พูดคุยสันติสุข” ระหว่างตัวแทนของรัฐไทยและตัวแทนของบีอาร์เอ็น ที่ผ่านมาให้ให้ทราบ และต่อจากนั้นคำพูดในคิลปทั้งหมด ได้กล่าวโจมตีการทำหน้าที่ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ดำเนินการแผนยุทธศาสตร์ผ่าน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( ศอ.บต. ) โดยอ้างว่าทั้ง กอ.รมน. และ ศอ.บต. เป็นโครงสร้างทางอำนาจที่ทับซ้อน ที่เอื้อต่อการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยกล่าว่า องค์กรทั้ง 2 แห่ง ทำหน้าที่ เอื้อผลประโยชน์ให้นายทุนต่างชาติ และให้คนในกองทัพแสวงหาผลประโยชน์จาก ทรัพยากรทางพลังงาน เช่น ถ่านหิน ,ไฟฟ้า ,น้ำมัน เป็นต้น

ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า โฆษก บีอาร์เอ็น สื่อถึง โครงการ “เมืองต้นแบบที่ 4 ที่ อ.จะนะ หรือ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ที่จะเป็นการ พัฒนาเศษฐกิจทั้งระบบ มีทั้ง ท่าเรือ ไฟฟ้า และ พลังงาน อื่นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ บีอาร์เอ็น ได้ แถลงการณ์ เพื่อให้ ภาคประชาสังคม และประชาชน ร่วมกัน คัดค้าน โครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในหัวข้อการ”พูดคุยสันติสุข” มีอยู่หัวข้อหนึ่ง ที่ บีอาร์เอ็นต้องการ รับรู้และร่วมกำหนดแผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจของสังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนั้น ในคลิปดังกล่าว โฆษก บีอาร์เอ็น ได้กล่าวโจมตี ว่ารัฐบลาลสยามยังบังคับใช้กฎหมายพิเศษที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษย์ชน เช่น พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก พรบ.ความมั่นคงภายใน และ ขณะนี้รัฐบาลยังได้ออกกฎหมาย จำกัดพื้นที่เคลื่อนไหวของ เอ็นจีโอ ของภาคประชาสังคม ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อเสรีภาพทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน


นักวิชาการ ผู้ที่ไม่ประสงค์จะออกนาม ผู้หนึ่งกล่าวว่า ถ้าติดตาม “บริบท” ของ บีอาร์เอ็นมาโดยตลอด จะพบเห็นว่า บีอาร์เอ็นมีความ หวั่นไหว ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งของ ศอ.บต. และของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นอย่างยิ่ง และ บีอาร์เอ็น ได้ปลุกระดม คนในพื้นที่และให้”ปีกการเมือง” ในพื้นที่ ร่วมมือกับเอ็นจีโอ เพื่อ ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจ ตั้งแต่โครงการ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ของ กฟผ. จนต่อเนื่องมาถึง โครงการเมืองต้นแบบที่ 4 หรือนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ที่ลงทุนโดย กลุ่มทุนของ ที่พีไอ การแสดงความหวั่นไหวของ บีอาร์เอ็น คือหวาดกลัวว่าถ้า มีโครงการพัฒนาเศรษฐกิจใหญ่ๆ เกิดขึ้น จะทำให้ ปัญหาการว่างงาน ความยากจน การตกงาน ของประชาชนจะหมดไป จะทำให้”เงื่อนไข” ที่ บีอาร์เอ็นใช้ในการ ปลุกระดมมวลชน ให้เกลียดชังรัฐ และให้เห็นว่ารัฐ ทอดทิ้งคนในสามจังหวัดหมดไปด้วย บีอาร์เอ็น จึงพยายามสทุกวิถีทาง ที่จะ”เตะสกัด” โครงการใหญ่ๆในการ พัฒนาเศรษฐกิจสังคม ของ รัฐบาล ที่ผ่านทาง ศอ.บต.

และ ทุกวันนี้ บีอาร์เอ็น ถือว่า ศอ.บต. คือ เครื่องมือ ในการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมในพื้นที่ บีอาร์เอ็น จึงถือ ศอ.บต. เป็นศัตรู ที่ต้อง โจมตี และ ทำให้ มวลชน เกลียดชัง
นายสันติภาพ ดวงเอี่ยม ซึ่งเป็นนักธุรกิจ ในพื้นที่ จ.ปัตตานี กล่าวว่า กพต. หรือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องเร่งดำเนินการ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่เป็นโครงการใหญ่อย่าง “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” อย่างรวดเร็วไม่ใช้ไป”ชะลอโครงการ” เพราะเห็นชัดเจนว่า บีอาร์เอ็น หวั่นไหว ต่อการเกิดขึ้นของ “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” น่าเสียดายโอกาสในการดับ”ไฟใต้” ด้วยการ พัฒนา ที่ รัฐบาลมอบให้ ศอ.บต.เป็น นโยบายที่เดินมาถูกทางแล้ว จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่เป็นประธาน กพต. อย่าได้ หวั่นไหว กับการ ออกมาต่อต้านโครงการ “เมืองต้นแบบที่ 4 จะนะ” และให้เร่งดำเนินการอย่ารวดเร็ว เพื่อการแก้ปัญหา”ไฟใต้” ซึ่งเรื่องความไม่สงบในพื้นที่ ต้องแก้ด้วยการ”พัฒนา” และการ”พัฒนา” ที่จะดับ”ไฟใต้” จะสร้างความพ่ายแพ้ให้กับ บีอาร์เอ็น คือ การพัฒนาด้วย โครงสร้างขนาดใหญ่ เท่านั้น เศรษฐกิจ และการลงทุนเล็กๆ เหมือนกับน้ำถึงเล็กๆ ที่ไม่เพียงพอกับการดับไฟกองใหญ่ ที่ต้องใช้น้ำจำนวนมาก จึงจะดับได้

 

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Related posts